ปัจจุบันอัตราการเพิ่มประชากรทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 130 ล้านคน (เฉลี่ย 4 คนต่อวินาที) นั่นหมายความว่า ความต้องการในการบริโภคก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ทรัพยากรบนโลกก็อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคก็เป็นได้ เทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลผลิตต่างๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และเติบโตรวดเร็วทันต่อความต้องการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งกำลังมองว่า วิธีดังกล่าวก็อาจจะยังไม่ทันต่อความต้องการบริโภคในอนาคต การรีไซเคิลจึงเป็นอีกทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นรายนี้ มุ่งประเด็นไปที่ของเสียที่ร่างกายขับถ่าย (อุนจิ - -") ซึ่งเขาพบว่า มันมีส่วนประกอบของสารอาหารที่สามารถนำมารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาทำเป็นอาหารที่รับประทานได้ : ล่าสุดที่มีวิจัยได้สังเคราะห์"เนื้อเทียม"จากอุนจิ เพื่อนำมาใส่ในแฮมเบอร์เกอร์ และใช้รับประทานได้
Mitsuyuki Ikeda นักวิจัยจากศูนย์ประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมในโอกายามา เขามีความต้องการที่จะช่วยแก้วิกฤติปัญหาการขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ด้วยการีไซนเคิล"อุนจิ" เพื่อเปลี่ยนไปเป็นเบอร์เกอร์ที่รับประทานได้ โดยเนื้อที่ได้จะไม่เหมือนเนื้อจริงๆ แต่เป็นการแยกส่วนประกอบจากของเสีย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน 63% คาร์โบไฮเดรท 3% สารอินทรีย์ประเภทไขมัน และเกลือแร่ 9% ซึ่ง Ikeda เรียกสารตั้งต้นในการรีไซเคิลเป็นอาหารนี้ว่า "sewage mud" (โคลนปฏิกูล) ฟังดูดีกว่าเดิมนิดนึง พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ตอนนี้เขาเก็บ อุนจิ เอ่อ...ไม่ใช่สิต้องเรียกว่า โคลนปฏิกูลของเขาเอาไว้ เผื่อว่า วันหนึ่งมันจะกลายเป็นของขายได้ หากต้นทุนการผลิตเนื้อเทียมจากอุนจิลดลง เอ่อ...คุณผู้อ่านล่ะ คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ถ้าเป็นจริง...คุณจะกล้ารับประทาน หรือไม่?
ข้อมูลจาก: YouTube