เอกภพ หรือ จักรวาล (The Universe) คือ บริเวณกว้างใหญ่ไพศาลที่หาขอบและศูนย์กลางไม่ได้ ถ้าใครคิดจะหาว่าศูนย์กลางหรือขอบจักรวาลอยู่ที่ไหน พึงทราบว่าเขากำลังทำผิดกฏของจักรวาล
พราะกฏจักรวาล...จักวาลจะมีศูนย์กลาง หรือขอบไม่ได้ เพราะจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามตามมามากมายดังนั้น นักจักรวาลวิทยาจึงไม่อยากจะหาว่าขอบจักรวาลอยู่ที่ไหน แต่จะศึกษาถึงพฤติกรรมของจักรวาลมากกว่า
จักวาล ประกอบด้วยกาแลคซีจำนวนมากมายมหาศาล และที่ว่างระหว่างกาแลคซีมีมาก จักรวาลมีอายุระหว่าง 14 ± 3 Aerons หรือ Gigayears (Giga = 109) ค่านี้เป็นค่าคงที่ เรียกว่า "The Hubble constant" ตั้งเป็นเกียรติแก่ Edwin Hubble (1890-1953) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ที่สามารถวัดความยาวของกาแลคซีของเราได้
จักรวาลประกอบด้วยกาแลคซีนับแสนล้านกาแลคซี มากจนนึกไม่ออกบอกไม่ถูกดาวที่มีอยู่มากมายในท้องฟ้า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอกภพหรือจักรวาล โดยดาวต่างๆจะรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า "กาแลคซี" หรือ ดาราจักร โลกเป็นดวงดาวหนึ่งในกาแลคซีของเรา หรือที่เราเรียกว่า กาแลคซีทางช้างเผือก ดาวต่างๆ ที่มองเห็นในท้องฟ้าต่างอยู่ในกาแลคซีของเรา ส่วนกาแลคซีอื่นๆ เราไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เท่าที่การศึกษา เราแบ่งกาแลคซี่โดยอาศัยรูปร่างเป็นเกณฑ์ได้ดังนี้
รูปร่างของกาแลคซี
กาแลคซี (Galaxy) ซึ่งประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต ฝุ่นผงและ แก็สในอวกาศ กาแลคซีเมื่อแบ่งโดยใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์แบ่งออก 4 ประเภท คือ
- กาแลคซีรูปกลมรี (Elipcal Galaxy) มีลักษณะเป็นรูปกลมรี บางครั้งอาจมีรูปร่างกลมมากๆ หรือรีมากๆได้
- กาแลคซีรูปก้นหอย (Spiral Galaxy) มีแขนโค้งเหมือนลายก้นหอยหรือกังหัน เช่น กาแลคซีทางช้างเผือกของเรา
- กาแลคซีรูปก้นหอยคาน (Bared Spiral Galaxy) มีลักษณะคล้ายกับกาแลคซีรูปก้นหอยแต่ตรงกลางมีลักษณะเป็นคาน และมีแขนต่อเนื่องมาจากปลายคานทั้งสอง นี่อาจนึกภาพออกยากหน่อย แต่กำลังเสาะแสวงหาภาพมาให้ดูกัน ถ้าเป็นรูปหอยกาบยังพอว่านะ ^_^
- กาแลคซีไร้รูปร่าง (Irrigular Galaxy) มีรูปร่างไม่แน่นอน ต่างจากกาแลคซีทั้งสามที่กล่าวมาแล้ว
กาแลคซีของเราหรือกาแลคซีทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณหนึ่งแสนล้านดวง ดึงดูดซึ่งกันและกัน ทำให้อยู่ในระบบเดียวกันได้ มีความหนาประมาณ 10,000 ปีแสง และมีเส้นผ่นศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ส่วนดวงอาทิตย์ของเรา อยู่ที่แขนของกาแลคซี ห่างจากใจกลางประมาณ 30,000 ปีแสง บกาแลคซีของเราความยาวส่วนที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 75,000 ปีแสง (7.1 X 1011 km) แต่ค่าที่วัดได้จากเครืองอาจยาวมากกว่านี้ถึง 3 เท่า มีมวล 4 X 1011 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ของเราอยู่ห่างจากศูนย์กลางกาแลคซีประมาณ 26,100 ปีแสง (2.5X1017 km)] ข้อมูลจาก The Guiness book of records 1999
เนบิวลา
( Nebula เป็นคำภาษาลาติน แปลว่า เมฆ ) เป็นกลุ่มแก็สและฝุ่นผงในอวกาศ ที่จับกลุ่มกันค่อนข้างหนาแน่น ในที่ว่างระหว่างดาวฤกษ์ มีทั้งประเภทเรืองแสงและไม่เรืองแสง ประเภทของดาวที่มองเห็นได้ในท้องฟ้า อยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ให้คลิ้กดูที่หัวข้อเนบิวลาโดยเฉพาะ
ดาวฤกษ์
คือ ดาวที่มีแสงสว่างและความร้อนในตัวเอง ส่องแสงกระพริบ เป็นดาวประจำในท้องฟ้าทั่วไป มีขนาดใหญ่ มักมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร มีจำนวนมากมายในท้องฟ้า มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อยู่ไกลจากโลกมาก เมื่อส่องด้วยกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นจุดเล็กๆ คล้ายปลายเข็ม เช่นเดียวกับเมื่อดูด้วยตาเปล่า
ดาวเคราะห์
คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่าง และความร้อนในตัวเอง ส่องแสงนวลนิ่ง เป็นดาวที่เคลื่อนไปในจักรราศี เป็นบริวารของดาวฤกษ์ มีขนาดเล็ก มีจำนวนน้อย อยู่ใกล้โลก วัดระยะทางเป็น km ได้ เมื่อส่องด้วยกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นขนาดใหญ่ขึ้น บางดวงมีลักษณะเป็นเสี้ยวเว้าแหว่งคล้ายดวงจันทร์
ทำไมดาวฤกษ์จึงกระพริบไปมา
เหตุที่เห็นดาวฤกษ์มีการกระพริบแสงตลอดเวลา มีสาเหตุ มาจากบรรยากาศของโลก และลักษณะลำแสงของดวงดาว กล่าวคือ ดาวฤกษ์อยู่ไกลจากโลกมาก แสงจากดาวฤกษ์จึงคล้ายกับเป็นลำแสงเส้นเดียว
เมื่อผ่านมายังบรรยากาศของโลกแสงจะหักเหอย่างไม่คงที่ ทำให้แสงเคลื่อนไหวไปมา จึงทำให้เห็นดาวฤกษ์กระพริบแสง
ส่วนดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกมากกว่า แสงสะท้อนจากดาวเคราะห์จึงไม่เป็นแสงเส้นเดียว แต่เป็นลำแสงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยแสงเดียวมากมาย เมื่อผ่นบรรยากาศของโลกจะหักเหอย่างไม่คงที่ลำแสงเส้นเดียวจะเคลือนไหวไปมาอยู่ในขอบเขตของลำแสงใหญ่ ทำให้ลำแสงจากดาวเคราะห์มีการกระพริบน้อยมาก ถ้าอากาศไม่แปรปรวนจะเป็นจุดสว่างดูเหมือนไม่กระพริบเลย
นอกจากนี้จีกรวาลยังมีอะไรอีกมากมาย ดังจะได้บรรยายต่อไป ตอนนี้ให้หนูแจ๋วออกไปหาข่าวตามกาแลคซีต่างๆอยู่ กลับมาคงมีอะไรเล่าให้ฟัง