Sugihara Chiune วีซ่าช่วย 6000 ชีวิต

เมื่อปี 1963 สมาชิกศาลสูงสุดของอิสราเอลได้เสนอความ คิดในการมอบรางวัลเพื่อสดุดีคุณงาม ความดีของบุคคลซึ่งให้ความช่วยเหลือชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีการตรวจสอบเอกสารและคำให้การของพยานจำนวนมากเพื่อรวบรวมรายชื่อของบุคคล เหล่านี้ซึ่งอยู่ในประเทศต่างๆทั่วทุกมุมโลก รางวัลนี้ถูกให้ชื่อว่า Yad Vashem ตั้งตามชื่อของศูนย์ที่ระลึกโฮโลคอสต์ในกรุงเยรูซาเล็ม และมอบให้กับ Justice of Peoples (หรือภาษาฮีบรู Khasidei Umot HaOlam หมายถึงบุคคลนอกศาสนายิวที่มีจิตใจดีงาม)
ปัจจุบันมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ (รวมทั้งครอบครัว) 20,205 คน และมี ผู้ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลประมาณ 8,000 คน ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ ออสการ์ ชินเดอร์นักธุรกิจใจบุญชาวเยอรมัน ที่ช่วยเหลือชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งสปีลเบิร์กนำมาทำภาพยนตร์นั่นเอง(ถ้ามีโอกาสจะรวบรวมเป็นบทความมาลงให้อ่านกันครับ)
ในจำนวนนี้ ชาวญี่ปุ่นคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าวก็คือ สึกิฮาระ ชิอุเนะ ที่จะพูดถึงในวันนี้ครับ

 

สึ กิฮาระ จิอุเนะ เกิดที่จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1900 เคย มีประสบการณ์ทำงานเป็นนักเจรจาและฑูตในประเทศแมนจูกัว(เดิมชื่อแมนจูเรีย นั่นเองแต่เมื่อญี่ปุ่นยึดแมนจูเรียช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ก็เปลี่ยนชื่อและตั้งเป็นประเทศเป็นแมนจูกัวแทน)และประเทศฟินแลนด์ สามารถพูดได้หลายภาษาตั้งแต่อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย และจีน ในปี 1839 สึกิฮาระและครอบครัวย้ายจากสถานฑูตในฟินแลนด์มาประจำอยู่ที่สถานฑูตญี่ปุ่น ในเมืองเคานัส(Kaunas) ประเทศลิทัวเนีย
ในตอนแรก สึกิฮาระจะไปประจำที่รัสเซีย แต่ถูกทางรัฐบาลรัสเซียปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศ จึงไปประจำที่ลิทัวเนียแทน
ลิทัวเนียเป็นประเทศเล็กๆถูกขนาบข้างด้วยแคว้นปรัสเซียของเยอรมันและรัสเซีย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1940 มี ชาวยิวจำนวนมากหนีข้ามพรมแดนโปแลนด์เข้ามาในประเทศ หากแต่ทุกคนก็รู้ดีว่ากองทัพนาซีคงจะมาถึงลิทัวเนียในเวลาไม่ช้า และทางรอดเพียงทางเดียวก็คือการเดินทางหนีไปยังประเทศอื่นซึ่งต้องอาศัย วีซ่า หากในยามนั้น ลิทัวเนียตกอยู่ใต้อาณัติของรัสเซียซึ่งได้ออกคำสั่งให้ประเทศต่างๆถอนสถาน ฑูตออกไปจากลิทัวเนียทั้งหมด ประกอบกับการออกวีซ่านั้นถูกควบคุมไว้โดยกฏหมายอเมริกา ไม่ว่าประเทศใดยุโรปรวมทั้งรัสเซียต่างก็ปฏิบัติต่อชาวยิวอย่างเย็นชาที เดียว

 

   ภาพชาวยิวที่รอการออกวีซ่าที่สถานทูตญี่ปุ่นในเมืองเคานัส

สถาน ฑูตญี่ปุ่นในยามนั้นได้ทำสัญญาไม่รุกรานกับรัสเซียไว้ จึงสามารถเปิดทำการอยู่ได้จนกว่าจะมีคำสั่งย้ายมาถึง และจากการที่ญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายว่าจะปฏิบัติต่อทุกประเทศโดยเท่าเทียม กันชาวยิวจำนวนมากจึงพากันมาเฝ้ารออยู่หน้าสถานฑูตญี่ปุ่นเพื่อยื่นคำขอให้ ออกวีซ่าทรานซิทสำหรับใช้เดินทางผ่านญี่ปุ่นไปยังประเทศที่สามอีกที
แต่ ในความจริงแล้ว ญี่ปุ่นได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับเยอรมันและอิตาลี การออกวีซ่าให้กับชาวยิวนี้ถูกเกรงว่าจะทำความไม่พอใจให้กับฝ่ายนาซีได้ กระทรวงต่างประเทศจึงตั้งเงื่อนไขในการออกวีซ่าว่าจะออกให้กับบุคคลที่มีราย ได้ประจำในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งชาวยิวที่เป็นผู้อพยพย่อมมีน้อยคนที่จะมีคุณสมบัติในข้อนี้ และนี่ก็เท่ากับเป็นการขังชาวยิวนับแสนคนไว้ในลิทัวเนียนั่นเอง

 

   ภาพ วีซ่าซึ่งสึกิฮาระออกให้สตรีเชื้อสายยิว ชื่อ Susan Bluman

สึกิฮาระลำบากใจต่อสถานการณ์นี้และแสดงความเห็นใจในชาวยิวเป็นอย่างมาก เขารู้ว่าเวลามีไม่มากและได้พยายามร้องเรียนไปยังกระทรวงต่างประเทศให้อนุญาตการ ออกวีซ่าโดยยกเว้นเงื่อนไข หากไม่ว่าจะร้องเรียนโดยตรงต่อผู้มีตำแหน่งสูงของกระทรวงในแง่ศีลธรรมเช่นไร คำตอบที่ส่งกลับมาก็เป็นการปฏิเสธไปทุกครั้ง สึกิฮาระกลัดกลุ้มกับเรื่องนี้และรู้ดีว่าชีวิตคนมากมายขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจของเขา และหลังจากคำตอบปฏิเสธสุดท้ายจากญี่ปุ่นในวันที่ 23 กรกฎาคม สถาณฑูตญี่ปุ่นก็ได้รับคำสั่งจากกองทัพรัสเซียให้โยกย้ายออกไปภายในสิ้น เดือนสิงหาคม

วันที่ 25กรกฎาคม 1940 สึกิฮาระตัดสินใจละเมิดคำสั่งกระทรวง เขาเดินออกไปหน้าสถานฑูตและประกาศว่าจะออกวีซ่าให้กับชาวยิวด้วยตัวเอง ชาวยิวที่มาเฝ้ารอแต่เช้านั้นไม่ว่าใครต่างก็ตกตะลึง หลายคนพากันโผเข้ากอดกันด้วยความยินดี
ภายหลัง โซลี การ์นอลซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิต ได้เขียนไว้ในหนังสือของตนเช่นนี้
พอจะกลับ ท่านฑูตสึกิฮาระเข้ามาจับมือผม แล้วกล่าวขึ้นมาหนึ่งคำ
"บาย คอน ดิออส (จงไปพร้อมกับพระเจ้าของเธอ)"
ตลอด หนึ่งเดือนกว่าก่อนที่สึกิฮาระจะต้องเดินทางไปเบอร์ลิน เขา ภรรยาและเจ้าหน้าที่ในสถานฑูตต่างก็ใช้เวลาทั้งหมดในการออกวีซ่าให้มากที่ สุดเท่าที่จะทำได้ วีซ่าที่มีการบันทึกหมายเลขไว้นั้นมีจำนวน 2,139 ใบก็จริง แต่เพื่อการประหยัดเวลาในการออก มากกว่าครึ่งที่ออกจริงจึงไม่มีบันทึกเหลือไว้ นอกจากนี้วีซ่าหนึ่งใบสามารถใช้ได้ต่อหนึ่งครอบครัว จึงคาดว่าน่าจะมีชาวยิวกว่า 6,000 คนที่ใช้วีซ่าของสึกิฮาระหนีออกจากลิทัวเนียไปได้

 

    ภาพ ชาวยิวที่เดินทางลี้ภัยมาถึงกรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

ระหว่างการออกวีซ่าเหล่านี้ ตราซึ่งใช้ในการแปะลงวีซ่าเกิดหมดลงกลางคัน สึกิอุระจึงใช้กฏพิเศษออกวีซ่าฉุกเฉินแทน
วัน ที่ 28 สิงหาคม หลังจากคำเตือนสามครั้งโดยรัสเซียและโทรเลขด่วนจากญี่ปุ่น สึกิอุระก็จำใจต้องปิดสถานฑูตลงโดยที่ยังมีชาวยิวจำนวนมากเข้าแถวรออยู่ข้าง นอก หากเขาก็ยังออกวีซ่าเองต่อไปกระทั่งในขณะที่รอขึ้นรถไฟไปเบอร์ลินในวันที่ 5 กันยายน กล่าวกันว่าสึกิอุระถึงกับยื่นตัวออกมาจากหน้าต่างรถไฟเพื่อเขียนวีซ่าจน นาทีสุดท้ายที่รถไฟจะออกจากชานชาลา และเมื่อรถไฟเริ่มวิ่ง เขาก็บอกกับชาวยิวในที่นั้นทั้งน้ำตา
"ยกโทษให้ผมด้วย ผมเขียนไม่ได้แล้ว ขอให้พวกคุณทุกคนจงปลอดภัย"
ชาวยิวหลายคนวิ่งตามรถไฟพร้อมกับตะโกน
"สึกิฮาระ เราจะไม่ลืมคุณเลย เราจะไปพบคุณอีกครั้งให้ได้"
ชาว ยิวจำนวนมากได้ใช้วีซ่าของสึกิฮาระขึ้นรถไฟสายทรานไซบีเรียไปยังวลาดิวอสตอคแล้ว ลงเรือไปขึ้นท่าสึรุกะในประเทศญี่ปุ่นเพิ่อไปยังชุมชนชาวยิวและรัสเซียในโกเบ กว่า 1,000 คนในจำนวนนี้เดินทางต่อไปยังอเมริกาและปาเลสไตน์ ที่เหลืออีกจำนวนมากอยู่ในญี่ปุ่นก่อนจะถูกส่งไปเก็ตโต้(Ghetto หมายถึงสถานมี่กักกันอย่างเข้มงวดภายในเมืองซึ่งจะคล้ายกับสลัมดีๆนี่เอง)ของชาวยิวใน เซี่ยงไฮ้และอยู่ที่นั่นจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในปี 1945
เก็ตโต้ในเซี่ยงไฮ้ใช่ว่าจะดีนัก แต่ชาวยิวที่นี่ก็ยังถูกข่มเหงน้อยกว่าที่เอาท์ชวิทช์
ทางด้านลิทัวเนีย สงครามระหว่างเยอรมันรัสเซียได้เปิดฉากขึ้นในปี 1941 กองทัพรัสเซียถูกโจมตีอย่างหนักจนต้องล่าถอยออกจากลิทัวเนียไป และจนกว่าที่รัสเซียจะสามารถยึดลิทัวเนียคืนมาได้ในปี 1944 ก็มีชาวยิวกว่าสองแสนคนที่ตกเป็นเหยื่อนาซี ซึ่งแม้แต่หลังจากที่รัสเซียยึดลิทัวเนียคืนมา ก็ยังมีชาวยิวอีกจำนวนไม่น้อยที่ถูกส่งไปไซบีเรียและเสียชีวิตลงเนื่องจาก ความทุรกันดารของที่นั่น

 

           ภาพ สึกิฮาระและครอบครัว

ฝ่ายสึกิฮาระ หลังจากออกจากลิทัวเนียไปถึงเบอร์ลินแล้ว เขาก็ย้ายไปประจำอยู่ในสถานฑูตญี่ปุ่นตามประเทศต่างๆในยุโรปอีกหลายประเทศ เมื่อสงครามโลกและสงครามแปซิฟิคจบลง เขาและครอบครัวก็ถูกรัสเซียคุมตัวไว้และถูกกักกันอยู่ที่เมืองบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย เป็นเวลา 1 ปี

2 ปีหลังจากจบสงครามในปี 1947 สึกิฮาระและครอบครัวได้กลับมาเหยียบแผ่นดินเกิดในที่สุดเมื่อเดือนเมษายน หลังจากนั้นอีกสามเดือน เขาได้รับคำสั่งปลดจากหน้าที่โดยอ้างว่าไม่มีตำแหน่งว่างสำหรับเขาแล้ว ซึ่งในข้อนี้ กล่าวว่าเป็นเพราะที่เขาละเมิดคำสั่ง ทำการออกวีซ่าให้กับชาวยิวนั่นเอง
* หลังสงคราม มีการส่งเรื่องถามถึงสึกิฮาระมายังกระทรวงต่างประเทศหลายหน ซึ่งต่างก็ได้รับคำตอบว่า"ไม่มีคนชื่อสึกิฮาระอยู่ที่นี่ทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน" ซึ่งข้อนี้เป็นที่ติเตียนในภายหลังจากต่างชาติเป็นอย่างมาก

 

ฤดู ร้อนปี 1968 มีโทรศัพท์จากสถานฑูตอิสราเอลมาเชิญสึกิฮาระขณะเขาเป็นตัวแทนการค้าอยู่ที่ มอสโค เมื่อไปถึง สึกิฮาระก็ได้พบกับชายซึ่งแนะนำตนว่าชื่อนิชลี่ซึ่งทำงานอยู่ในสถานฑูต อิสราเอลนั่นเอง นิชลี่ยื่นกระดาษเก่าโทรมแผ่นหนึ่งให้กับสึกิฮาระแล้วถามเขาว่าจำได้หรือ เปล่า กระดาษดังกล่าวนั้นก็คือวีซ่าที่สึกิฮาระออกให้กับชาวยิวในลิทัวเนียนั่นเอง นับเป็นเวลา 28 ปีทีเดียวกว่าพวกเขาจะได้พบกันอีกครั้งดังที่เคยได้ให้สัญญากันไว้
ปี 1969 สึกิฮาระได้รับรางวัลสดุดีจาก องคมนตรีศาสนาอิสลาม
และ ในวันที่ 18 มกราคม 1985 ก็ได้รับเลือกให้รับรางวัลYad Vashemจากรัฐบาลประเทศอิสราเอล เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน พิธีมอบรางวัลถูกจัดขึ้นที่ประเทศอิสราเอล หากตัวสึกิฮาระเองก็ป่วยจนไม่สามารถเดินทางไปได้ ลูกชายคนที่สี่ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยฮีบรู ประเทศอิสราเอลจึงไปเป็นตัวแทนรับรางวัล
วันที่ 31 กรกฎาคม 1986 สึกิฮาระ ชิอุเนะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ รวมอายุ 86 ปี เขาเคยกล่าวกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสิ่งที่ตนทำไว้ในลิทัวเนียดังนี้
"ผมอาจจะผิดในฐานะนักการฑูต แต่นั่นเป็นสิ่งที่ควรแล้วสำหรับมนุษย์ ผมจะทอดทิ้งพวกเขาเหล่านั้นไปได้อย่างไร"
ตุลาคม 1991 ซาจิโกะผู้เป็นภรรยาได้รับโทรศัพท์เชิญตัวจากกระทรวงต่างประเทศและได้รับคำ ขอขมาอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ซึ่งนั่นก็เป็นเวลา 5 ปีหลังจากการตายของสึกิฮาระเลยทีเดียว

 

ขอขอบพระคุณที่มาของบทความและภาพ
 

http://ohx3.exteen.com/category/ETC/page/3

http://www.chgs.umn.edu/museum/exhibitions/rescuers/diploRescuerRole.html

http://joedresch.wordpress.com/2009/11/18/

http://you-are-here.com/sculpture/sugihara.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Chiune_Sugihara

http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Chiune_Sugihara_monument_in_Vilnius4.JPG

http://isurvived.org/2Postings/2Sugihara-folder/Japan-Sugihara_revisited.html

Credit: http://atcloud.com/stories/97028
20 มิ.ย. 54 เวลา 09:28 3,322 3 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...