ทะเลแห้ง ไม่เหลือ ผลิตเกลือ...ขายกิน

ทะเลอารัล (aral sea ) ที่ตั้งอยู่ชายแดนระหว่างคาซักสถาน ( Kazakhstan) และอุซเบกิสถาน (Uzbekistan, )แห้ง เคยมีคนตั้งกระทู้มาบ้างแล้ว ผมเลยขอนำเสนออีกแง่มุมหนึ่ง นั่นคือ การผลิตเกลือจาก (อดีต)ทะเลสาบอารัล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือ ที่สำคัญของ ประเทศคาซัคสถาน (Kazakhstan)

 

ทะเลอารัล อันเหือดแห้ง ที่ตั้งอยู่ ระหว่างชายแดน คาซักสถาน และ อุซเบกิสถาน ในอดีต คือทะลแบบปิด (ทะเลที่ถูกกักอยู่ในพื้นทวีป) ที่เคยใหญ่ที่สุดในโลก เป็นอันดับ 4 ของโลกมีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร

 

แต่ปัจจุบันทะเลอารัล เหือดแห้งลงไปเรื่อยๆอันเป็นผลมาจากน้ำมือของมนุษย์ ที่ทำการผันน้ำไปเพื่อการเกษตรกรรม(โครงการชลประทานในสมัยของอดีตผู้นำคนดังของสหภาพโซเวียต สตาลิน)ด้วยนโยบายที่ผิดพลาดของสหภาพโซเวียตเดิมสมัยนั้น ที่ต้องการจะผลิต ฝ้าย ข้าว ข้าวสาลี และแตงเมรอล จึงทำการผันน้ำจากแม่น้ำอามุ ดาเรีย( Amu Darya) และแม่น้ำเซียร์ ดาเรีย(Syr Darya):ที่ไหลจากทะเลอารัล ไปเพื่อการเกษตรกรรม ตั้งแต่ปี 1960 ทำให้ทะเลอารัลลดขนาดลงเรื่อยๆ
ทำให้ค่าความเค็มในน้ำเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าจากเดิม ทำให้พืชพรรณ และสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดสูญสิ้น หมู่บ้านชาวประมงโยกย้ายออกไปหมด บริเวณทะเลสาบเดิมเกือบทั้งหมด  แห้งขอด กลายเป็นสุสานเรือ ที่ทิ้งไว้เกยตื้น

 

ซากเรือ ที่เหลือติดดิน พื้นที่ อดีตทะเลสาบอารัล ที่เคยเป็นทะเลสาบภายในทวีป ใหญ่อันดั บ 4 ของโลก

 

อันนี้คงเป็นซากเหล็กจากเรือ หรือถังแก้สในเรือขนาดใหญ่ ที่ถูกทิ้งไว้เป็นซาก ในพื้นที่อดีตทะเลสาบอารัล

 

ในยุคสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต  คาซักสถาน ผลิตเกลือจากเขตเกลืออารัล ถึง 600.000 ตันต่อปี ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปบริโภคในอีก 15 สาธารณรัฐเก่าของสหภาพโซเวียต
วันนี้(อดีต)ทะเลสาบอารัล ที่เหลือแต่ชื่อ บางส่วนของพื้นที่กลายเป็นภูเขาเกลือขนาดย่อม
มีการผลิตเกลือเป็นล่ำเป็นสัน เป็นแหล่งเกลือที่สำคัญ อันดับต้นๆของโลกๆ

แต่ปัจจุบันการผลิตลดลงเหลือ 250.000ตัน และหมุนเวียนจำหน่ายเฉพาะตลาดภายในประเทศอย่างเดียว เนื่องจากผลิตมานาน จำนวนเกลือที่เหลือ สะสมอยู่ ก็น้อยลง จำเป็นต้องลดปริมาณการผลิต
(ภูเขาเกลือขนาดย่อมๆกองสูงถึง 25เมตร )

 

เกลือจำนวนมหาศาล ต้องใช้รถแทรกเตอร์ ที่เรียกว่า  bulldozer   ดันมากองๆรวมกัน ไว้ ก่อนส่งต่อไปโรงงาน.

 

ปริมาณเกลือสำรองที่เหลืออยู่ในแอ่งเกลืออารัล ตอนใต้ มีปริมาณ 11ล้านตัน ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ไปได้อีก 40-50 ปี และหลังจากนั้นแอ่งเกลือของทะเลสาบอารัลในคาซักสถาน ต้องหยุดผลิต ใช้เวลาพักหรือฟื้นฟูตัวเอง 35-45 ปี

 

เกลือจะเกิดขึ้น หลังจากการระเหยหายไป ของน้ำทะเล เกลือในแอ่งอารัล  เป็นเกลือมีความเข้มข้นสูง

 

 

ชั้นของเกลือใน(อดีต)ทะเลอารัล จะมีความหนาประมาณ  1.5  เมตร   และจะมีการขุดขึ้นมา ทุกๆ 2 ปี  ช่วงเวลาในการขุดเกลือ : จาก พฤษภาคม – พฤศจิกายน

 

ในระยะเวลา 6 เดือนรองเท้ายาง ที่คนงานผลิตเกลือคนนี้ ใส่อยู่  จะต้องเปลี่ยน เพราะจะโดนกรดเกลือ กัดสึกกร่อน   ที่แอ่งผลิตเกลืออารัลนี้ มีคนงาน ทำงานอยู่ ราว  100 คน จากนั้น ก็จะขนส่งใส่รถเคลื่อนย้ายเกลือดิบ ไปยังโรงงานเกลือ อารัลตุซ( Araltuz plant.) ที่อยุ่ไม่ไกล แต่ถ้ารวมคนงานทั้งหมดทั้งที่แหล่งขุดเกลือ ที่โรงานทุกแผนกแล้ว จะมีพนักงานทั้งหมดราว 700 คน

 

รูปจำลอง ของการสกัดเกลือขึ้นมา จากแอ่งเกลือ ด้วยมือในอดีต   ซึ่งต้องรอให้น้ำแห้ง เป็นเวลานับชั่วโมง

 

โกดังโรงงานที่เก็บเกลือ อยู่ห่างแหล่งผลิตออกไป ราว 10 ก.ม   ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีประชากรราว 6.000 คน  คนทั้งหมดที่นี่ แย่งและแข่งขันกัน เพื่อเข้าทำงานในโรงงานเกลือ ที่มีค่าจ้างเฉลี่ย ต่อเดือนอยุ่ระหว่าง 30000-35000 tenge (ประมาณ $ 205-235)

รางของรถราง ที่จะขนเกลือ ไปยังโรงงาน

 

เมื่อได้เกลือดิบ จำนวนปริมาณที่ต้องการแล้ว ก็จะขนส่งโดยรถรางที่เรียกว่า คอนโดล่า คาร์ (gondola cars) ไปยังโรงเก็บเกลือของโรงงาน

 

รถคอนโดล่า คาร์ (gondola cars) คือ รถไฟ หรือรถราง ประเภทที่ใช้ลำเลียงวัตถุ แล้วด้านบนเปิดโล่งไม่มีหลังคา

 

จริงๆแล้วรถราง gondola ประเภทเปิดโล่งไม่มีหลังคา ตามประวัติเป็นชื่อที่ลอกเลียนมาจากเรือคอนโดล่า(gondola) ที่มีชือเสียงของเมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี วึ่งเป็นเรือท้องเเบนเปิดโล่งไม่มีหลังคา

 

นอกเรื่องไปนิด ต่อครับ..
..เกลือที่ตกตะกอนเเข็งติดอยู่ที่รถรางคอนโดล่า เเสดงให้เห็นว่าผ่านการขนเกลือมาเป็นเวลานาน

 

สภาพภายนอกทั่วไปของโรงงาน เกลืออารัลตุซ( Araltuz plant.ที่ขนเกลือมาจาก แอ่งอารัล  ประเทศคาซัคสถาน

 

เป็นรางที่วาง มาจากเเหล่งผลิตเกลืออารัล เพื่อใช้ขนส่งเกลือดิบมายังโรงงาน ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน

 

เมื่อมาถึงโรงงานก็จะนำเกลือดิบ เข้าเครื่องจักร บดและป่น รวมทั้งตกแต่งเกลือให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ

 

วิธีการป่นหรือบดเกลือ( Grinding)

 

ขั้นตอนต่อมา เป็นขั้นตอนหลักการตกแต่งเกลือ ให้ดูดีน่าทานขึ้น

 

ในขั้นตอนนี้ จะมีการทำให้เกลือ จากทะเลสาบ กลายเป็น สารละลายอิ่มตัว(saturated salt solution) ใน อุณหภูมิขณะนั้น  เกลือจะไม่ละลายต่อไปได้อีก

 

จากนั้น ก็ส่งต่อมายังลิฟท์ เพื่อ แยกน้ำ ออกจากเกลือ

 

 

หลังจากตกแต่งเกลือให้ดูดีขึ้นแล้ว.กระบวนการลำดับ  ต่อไปก็.นำเกลือไปเข้าห้องอบ (drying room,) ให้แห้ง โดยการใช้อากาศร้อน

 

การอบเกลือให้แห้งที่นี่ ใช้อุณหภูมิประมาณ 100-140 องศาเซลเซียส.

 

ต่อไปนำเกลือไปเข้ากระบวนการ iodization เพื่อให้เกลือขาวบริสุทธิ์  ซึ่งเมื่อก่อนที่ผ่านมายังไม่มีเทคโนโลยี่ หรือเครื่องมือพิเศษ ในการแยกเกลือ   เกลือจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และไอโอดีนแต่ไม่ได้เกลือขาว  ขั้นตอนนี้เกลือจะเป็นสีขาว  (ถ้าเคยสังเกต เหมือนเกลือเมืองไทย เมื่อก่อนเกลือจะออกสีเทาๆปะปน)

 

ซึ่งทุกๆสองชั่วโมง ในห้องปฏิบัติการ จะตรวจสอบเกลือ และ ส่วนประกอบของแร่ธาตุ และเปอร์เซ็นต์ของไอโอดีน

 

เกลือสำเร็จรูป จะถูกใส่ลงในถุงโปลิโพรพิลีน(polypropylene)  ขนาดบรรจุน้ำหนัก  10, 30 และ 50 กก.

 

ขั้นตอนสุดท้ายคือ..การบรรจุภัณฑ์ แพ็คถุง เสร็จเรียบร้อย เป็นเกลือสำเร็จรูป

 

ทุกวันๆจะมีรถขนเกลือ 4-5คัน ออกจากโรงงานเกลืออารัลตุซ(Araltuz plant)เพื่อนำไปจำหน่าย ทั่วประเทศ คาซัคสถาน

 

เกลือที่วางเรียงรายอยู่ในโกดังสินค้า (warehouse) ของโรงงานเกลือ อารัลทุซ ซึ่งจะเก็บเกลือได้ 750 ตัน

 

หลายปีก่อน บางคนจากทางตอนใต้ ของคาซัคสถาน พยายามที่จะปลอมผลิตภัณฑ์เกลือของ โรงงานเกลืออรัลตุซ Araltuz   โดยการการสร้างบรรจุภัณฑ์ลักษณะเดียวกัน แต่ใช้เกลือดิบไม่ได้ผ่าน ขบวนการฟอกให้เกลือขาว  , ทำเป็นสินค้าปลอม แต่สังเกตแยกแยะของปลอมเหล่านั้นได้ จากเครื่องหมายของโรงงาน และวันที่ผลิต

Credit: http://atcloud.com/stories/97137
18 มิ.ย. 54 เวลา 09:57 6,105 5 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...