จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกของปีนี้จะเกิดขึ้นในช่วงกลางดึกของ วันนี้ (15 มิ.ย.) ถึงเช้ามืดของ
วันที่ 16 มิถุนายน โดยดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืดเวลา 1.22 น. และจะเข้าสู่ช่วงคราสหรือเต็ม
ดวงตั้งแต่เวลา 2.22 - 4.03 น. รวมระยะเวลา 100 นาทีหรือประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งถือว่าไม่
บ่อยนักที่จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนานเกิน 100 นาที
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงที่ดวงจันทร์ถูกเงาของโลกบังเต็มดวง จะสามารถมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงหรือ
น้ำตาล เพราะแสงสีส้มหรือสีแดงจากดวงอาทิตย์ที่มีความยาวคลื่นเดินทางผ่านชั้น บรรยากาศโลก เกิดการ
หักเหแล้วตกกระทบบนดวงจันทร์
ส่วนประเทศไทยสามารถสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้ได้ด้วยตาเปล่า เพียงมองไปทางทิศตะวัน
ตกเฉียงใต้ และเลือกสถานที่ที่ค่อนข้างมืด แต่หากจะใช้กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ จะช่วยให้มอง
เห็นจันทรุปราคาได้ชัดเจนขึ้น
นายภาณุ อุบลน้อย นักวิชาการศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร กล่าวว่า ถ้าเราดูด้วยตา
เปล่าเพียง 1 - 2 นาทีอาจจะไม่เห็นการเคลื่อนที่มากนัก ถ้าเราดูด้วยกล้องจะมองเห็นแนวแสงเขาเงาที่บัง
ชัดเจนยิ่งขึ้น และเห็นสีของมัน รายละเอียดของมัน ดูขนาดคร่าวๆ ว่ามันเป็นความมืดคล้ำแบบไหน
นอกจากนี้ ยังเกิดอีกปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก คือจันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ ในกลุ่มดาวคนแบกงู จะมอง
เห็นได้ในสถานที่ที่ไม่มีแสงรบกวน ในจังหวัดที่อยู่เหนือจังหวัดชุมพรขึ้นไป ซึ่งจันทรุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้น
ใกล้ใจกลางทางช้างเผือก จึงจะมองเห็นได้เฉพาะในเวลาที่ท้องฟ้าเปิด
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้ง คือ หลังจากวันที่ 16 มิถุนายน และวันที่ 10
ธันวาคม แต่ระยะเวลาที่พระจันทร์อยู่ในเงามืดเต็มดวงจะสั้นกว่านี้ โดยวันที่จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง นาน
ที่สุดคือคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 2543 กินเวลานานถึง 1 ชั่วโมง 47 นาที หลังจากปีนี้จะเกิดจันทรุปราคา
เต็มดวงนานเกิน 100 นาทีอีกครั้ง ในวันที่ 28 กรกฎาคม ปี 2561