เล่าขานตํานาน เมืองลี้ ตามรอยพระเกจิชื่อดังที่ลําพูน

เล่าขานตำนาน"เมืองลี้" ตามรอยพระเกจิชื่อดังที่ลำพูน
กลับไปหน้าแรก

พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ชเวดากองเมืองไทย        "กันว่าได้สร้างบ้านแป๋งเมืองแต๊ๆ ได้หลีกลี้หนีภัยแต๊ๆ ขอเทพารักษ์ได้โปรดนำช้างไปสู่ ณ ที่ที่จะสร้างบ้านแป๋งเมืองด้วยเถิด" นี่คือคำอธิฐานของพระนางจามรี ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อร่างสร้างเมืองลี้ ซึ่งในปัจจุบันคือ อำเภอลี้ ในจังหวัดลำพูน
       
       "ลี้" เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเก่าแก่ หากจะเล่าถึงตำนานเมืองลี้ก็ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยก่อนปี พ.ศ. 1800 คนไทยที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้าถูกศัตรูรุกราน จึงได้พากันอพยพหนีภัยศึกมาจากทางแคว้นหลวงพระบางลงมาสู่แคว้นลานนา โดยมี "พระนางจามรี"(อย่าเข้าใจสับสนกับพระนางจามเทวี) ซึ่งเป็นราชธิดาของเจ้าเมืองหลวงพระบางเป็นหัวหน้า และท้าวพวงมหาด ผู้สนิทใกล้ชิดเป็นผู้นำทาง
       
       พญาช้างทรงได้พาพระนางจามรีและไพร่พลผู้ อพยพเดินทางร่อนเร่ผ่านเทือกเขาลำน้ำมากมายด้วยความยากลำบาก ในขณะที่เดินทางหาชัยภูมิในการสร้างบ้านตั้งเมืองนั้น ท้าวพวงมหาดได้ถูกอสรพิษกัดถึงแก่ความตาย เมื่อขาดผู้นำทางพระนางจามรีจึงได้ทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพาอารักษ์ ขอให้ช่ว ยนำช้างทรงไปสู่สถานที่ที่สมควรแก่การสร้างบ้านแปงเมืองด้วยกัน 3 ครั้ง

วัดพระธาตุดวงเดียว        จนในที่สุดพญาช้างทรงก็ได้พาพระนางจามรี และไพร่พลมา ณ ที่ลำน้ำมาบรรจบกัน 3 สาย และนำเดินไปอีกระยะหนึ่งขึ้นไปบนเนินสูงซึ่งมีหินสีขาวคล้ายไข่นกยูงอยู่บน จอมปลวกให ญ่ แล้วพญาช้างก็ได้หยุดเดินพร้อมร้องเสียงดังกึกก้อง เดินรอบปริมณฑลในลักษณะทักษิณาวรรต 3 รอบ หมอบลงและชูงวงขึ้นคล้ายประนมไหว้ ใช้งาทั้งคู่ปักลงดิน จากนั้นพญาช้างทรงก็ได้หมอบลงสิ้นใจตาย
       
       เมื่อ พระนางจามรีเห็นดังนั้น ก็ได้พิจารณาบริเวณสถานที่เห็นว่าเป็นพื้นที่สูง มีลำน้ำไหลผ่าน มีแนวป่ากว้างใหญ่ เหมาะสมจะตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง ณ ที่แห่งนี้ เมื่อสร้างเมืองแล้วก็ได้ชื่อเมืองว่า "เมืองลี้" หรือ "เมืองลิ" คือการตั้งชื่อเมืองตามเหตุและลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่หลบลี้หนีภัยมานั้นเอ ง
       
       เมืองลี้เจริญรุ่งเรืองตลอดมาจวบจนทางกร ุงสุโขทัยได้ยกทัพมาตี โดยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินไปยังกรุงสุโขทัย เมืองลี้จึงกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมามีผู้คนอพยพมาจากเมืองเชียงใหม่ ลำพูน เถิน และตาก เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยจนถึงกลางสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองลำพูนหรือนครหริภุญไชยได้แต่งตั้งเจ้าเมืองมาปกครองและตั้งเป็น เมืองลี้ขึ้ นอีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2454 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น อำเภอเมืองลี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2460 จึงยกฐานะเป็น อำเภอลี้จนถึงปัจจุบัน และนอกจากนี้เมืองลี้ยังเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนาอีกด้วย

พระประธานภายในอุโบสถวัดพระธาตุห้าดวง        นอกจากลี้เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็น มายาวนานแล้ว ยังเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนาอีกด้วย โดยจากตำนานเมืองลี้แสดงให้เห็นว่าเมืองลี้นับถือพุทธศาสนามาตั้งแต่แรกตั้ง เมือง
       
       สำหรับสถานที่แรกที่ "ตะลอนเที่ยว" จะไปจึงต้องเป็นที่ "วัดพระธาตุดวงเดียว" และ "วัดพระธาตุห้าดวง" ซึ่ง ก็มาจากตำนานหลังจากที่พญาช้างทรงนำพระนางจามรีและไพร่พลมาถึงจุดที่ตั้ง เมือง และในยามค่ำคืนนั้นได้มีลูกแก้วออกมาจากจอมปลวกใหญ่ไปมาถึง 5 ครั้ง ส่องแสงสว่างทั่วบริเวณ
       
       พระนางจามรีจึงเอานิมิตรหมายอันดีนี้สร้ างเมืองที่จุดแรกพบ และสร้างวัดนอกเขตเมืองตรงที่ลูกแก้วปรากฏ และเรียกว่า "วัดพระธาตุดวงเดียว" และสถานที่ติดกันว่า "วัดพระธาตุห้าดวง" โดยภายใน "วัดพระธาตุดวงเดียว" ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ บ้านสันดอยเวียง ต.ลี้ ตัวองค์เจดีย์พระธาตุดวงเดียวมีลักษณะทรงเหลี่ยมย่อมุมสูงเพรียวชะลูดถึง 30 ม. โดยสร้างครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ภายในระเบียงคต ใกล้ๆกันมีอนุสาวรีย์พญาช้างมงคลซึ่งก็คือพญาช้างทรงของพระนางจามรี

พิพิธภัณฑ์เครื่องอัฐบริขารของครูบาศรีวิชัยภายในวัดบ้านปาง        ส่วนที่ "วัดพระธาตุห้าดวง" นั้นก็มีอีกหลายตำนาน ตำนานหนึ่งเล่าเกี่ยวโยงไปถึงสมัยพุทธกาลว่า พระพุทธองค์มาประทานพระเมโทธาตุ (น้ำไคลมือ) แก่พวกลัวะ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงสู่พื้นดิน ต่อมาในสมัยที่พระนางจามรีมาตั้งบ้านเมืองก็ได้ทรงเห็นกองดินทั้ง 5 กอง พอทราบความจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้
       
       ส่วน อีกตำนานเล่าว่า พระนางจามรีได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่ง หลังจากที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในพุทธศตวรรรษที่ 21 ท้าววงศ์ฟั่นได้มาบุรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ ในปีพ.ศ.2431 ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้มาบูรณะซ่อมแซมพระธาตุเจดีย์องค์นี้ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งก่อเจดีย์ขนาดเล็กไว้ที่มุมทั้งสี่ของเจดีย์ ต่อมาครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้อุปถัมภ์วัดพร้อมบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อ สร้างถาวรวัต ถุเพิ่มเติม

ปราสาทห้ายอดที่เคยบรรจุโลงศพและโกศบรรจุอัฐิครูบาศรีวิชัย        รู้เรื่องราวและชมความสวยงามของวัดในตำน านเมืองลี้กันแล้ว "ตะลอนเที่ยว" ขอพาไปชมวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของเมืองลี้ และถือเป็นวัดบ้านเกิด จำพรรษา และมรณะภาพของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาด้วย วัดนี้คือ "วัดบ้านปาง" ตั้งอยู่ที่ ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จากประวัติเล่าไว้ว่า ครูบาศรีวิชัยได้นำพระเณรและชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดขึ้นใน พ.ศ.2444
       
       ในบริเวณวัดยังมีโบราณสถานอันเก่าแก่เมื ่อครั้งสมัยที่ครูบาศรีวิชัยยังมีชีวิตอยู่ก็คือพระวิหารหลวง สร้างขึ้นตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมล้านนามีลักษณะอ่อนช้อยสวยงาม และยังมีปราสาทหินอ่อนซึ่งสร้างขึ้นตรงสถานที่ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ

พระวิหารพระเมืองแก้วที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม        ใกล้ๆ กันยังมีพิพิธภัณฑ์เครื่องอัฐบริขารของครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน ชั้นบนมีรูปปั้นเหมือนจริงของครูบาศรีวิชัยทำจากขี้ผึ้งทั้งองค์ในลักษณะท่า นั่ง นอกจากนั้นยังมีภาพเก่าของครูบาศรีวิชัยเมื่อครั้งที่ท่านจาริกไปในสถานที่ ต่าง ๆ และยังมีปราสาทห้ายอดที่เคยบรรจุโลงศพและโกศบรรจุอัฐิของท่านนำมาจัดแสดงให้ ได้ชมได้ เคารพสักการะกันอีกด้วย
       
       ส่วนที่ชั้นล่างของ อาคาร จัดแสดงเครื่องใช้ถ้วยชามและของใช้สมัยเก่าที่หาดูหาชมได้ยาก อาทิ รถยนต์คันแรกที่ท่านเคยนั่งขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ รถสามล้อถีบของหลวงอนุสารสุนทรที่ใช้ใส่อาหารเพื่อถวายครูบาศรีวิชัยเมื่อ ครั้งที่ท่ านจำพรรษาอยู่ที่วัดพระสิงห์ เตียงนอนของครูบาศรีวิชัย และเสลี่ยงหามพาหนะสำหรับเดินทางจาริกไปในวัดต่าง ๆ ทั่วภาคเหนือ

พระสรีระทิพย์ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาในโลงแก้ว        ซึ่ง นอกจากครูบาศรีวิชัยแล้ว ดินแดนนี้ยังมีพระอาจารย์ชื่อดังได้แก่ ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2489 ท่านเป็นผู้บูรณะและพัฒนา "วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม" ซึ่งแต่เดิมเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนทำให้ผู้คนทั่วทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้สักการะ
       
       โดย วัดพระพุทธบาทห้วยต้มนี้ ตั้งอยู่ในบ้านห้วยต้มซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ หรือชนเผ่ากระเหรี่ยง ที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานเมื่อปี พ.ศ.2514 ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้ทำการบูรณะวัดเรื่อยมาพร้อมกับแรงศรัทธาของ ชาวกะเหรี่ยง สำหรับบริเวณทางเข้าวัดมีอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาตั้งอยู่ หากเดินทางเข้ามาในวัดจะพบพระวิหารพระเมืองแก้วที่สวยงาม ภายในมีพระสรีระทิพย์ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาในโลงแก้วตั้งอยู่ให้ประชาชน ได้เคารพสั กการะ

พระบรมธาตุเจดีย์รายล้อมด้วยเจดีย์เล็ก 17องค์ ภายในบรรจุพระเครื่อง 84,000 องค์        นอก จากนี้ยังมีมณฑปพระพุทธบาท ซึ่งตามประวัติเล่าว่า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้ โดยได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนก้อนหิน ใกล้ๆกันยังมีหอเก็บพระไตรปิฏก พระบรมธาตุเจดีย์สีทอง รายล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กอีก 17องค์ ภายในบรรจุพระเครื่อง 84,000 องค์เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกด้วย

รูปหล่อครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาที่พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย        ใกล้กับวัดพระพุทธบาทห้วยต้มห่างไปประมา ณ 600 ม. เป็นที่ตั้งของ "พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย" หรือ "เจดีย์ชเวดากองเมืองไทย" โดยก่อนที่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาจะเริ่มสร้างพระมหาเจดีย์ ท่านได้พบมูลโคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงมาใช้ชาติเป็น โคพระโพธิ สัตว์ และมูลโคนี้ก็ได้กลายสภาพเป็นพระบรมธาตุ จึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ธาตุครอบทับสถานที่แห่งนี้ไว้
       
       โดย ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2548 ซึ่งพุทธเจดีย์พระเจ้า5พระองค์นี้ ถือเป็นสิ่งสักการะแทนองค์พระศาสดาทั้งห้าของภัทรกัปแห่งแรก ที่สร้างด้วยศิลาแรงทั้งองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นศิลปะล้านนา

พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยมีพระเจดีย์เล็กรายล้อม 48 องค์        โดยกำหนดให้มีพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่เป็นอ งค์ประธานอยู่ตรงกลาง สูงจากพื้นถึงบัวยอดฉัตร 71 เมตร เป็นพระเจดีย์ประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะเมีย และมีพระเจดีย์องค์เล็กอยู่เป็นบริวารล้อมรอบรวม 48 องค์ ตามแบบพระสถูปเจดีย์ศิลปะลังกา โดยแบ่งพระเจดีย์องค์เล็ก 10 องค์แรกเป็นเจดีย์ประจำปีเกิด 10 ปีนักษัตร พระเจดีย์องค์เล็ก 28 องค์ หมายถึงพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ล่วงมาแล้ว และพระเจดีย์องค์เล็กที่เหลือ 10 องค์ หมายถึงพระพุทธเจ้า 10 องค์ ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต
       
       ใครที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปสักการะเจดีย์ ชเวดากองที่พม่า ก็มาที่พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ชเวดากองเมืองไทยกันได้รับรองว่าสวยงามไม่แพ้กันเลยทีเดียว
       
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
       อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวใน "โครงการเที่ยวทั่วไทยสุขใจเสริมมงคล" ของททท. ที่มี อ.คฑา ชินบัญชร เป็นพรีเซนเตอร์โครงการ ซึ่งผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานเชียงใหม่(รับผิดชอบพื้นที่ เชียงใหม่,ลำพูน,ลำปาง) โทร. 0-5324-8604, 0-5324-8607, 0-5330- 2500
Credit: ขนหัวลุกดอดคอม
#ตํานาน
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
9 มิ.ย. 54 เวลา 06:17 5,612 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...