ทายสิอะไรเอ๋ย เข้ามาแล้วจะหนาว

สามก้อนเป็นกลมเกลี้ยง

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ผัด ๆ ทอด ๆ หอมอร่อยในพริบตาคู่ครัวรสดี ปริ๊ง!
 
 
หนอนตัวอ่อนแมงจู้จี้ อาหารชั้นเลิศ
 
     หนอนตัวอ่อนแมงจู้จี้หรือบักขี้เบ้าเป็นคำพื้นบ้านของเกษตรกรภาคเหนือที่ใช้ เรียกรังของตัวอ่อนแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดประมาณ ลูกเทนนิส ส่วนตัวเต็มวัยหรือแมลงพ่อแม่เรียกว่า แมงซู่ซ่า หากจับจะส่งเสียงร้องดังซู่ซ่า ๆ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ แมงซู่ซ่าเป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายแมงกุดจี่ของทางภาคอีสาน แต่ตัวโตกว่ามาก ขนาดความยาวตั้งแต่ปากจนถึงก้นประมาณ 4.5เซนติเมตร ความกว้างลำตัวประมาณ 3.5เซนติเมตร หรือบางแห่งเรียกว่าแมงจู้จี้ แมงซู่ซ่ามีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับขี้ควายตั้งแต่เกิดจนตาย  จากการสอบถามเกษตรกรยังไม่ เคยมีใครพบเห็นแมงซู่ซ่าอาศัยอยู่กับขี้วัวเลย ขี้วัวโดยทั่วไปจะเห็นเฉพาะแมงซีหรือทางอีสานเรียกแมงกุดจี่เท่านั้น   และประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ตัวเต็มวัยเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินไปหากองขี้ควายที่ใหม่ ๆ สด ๆ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและวางไข่  โดยแม่พันธุ์จะใช้ปากที่แข็งแรงคล้ายผาลของรถแทรกเตอร์ขุดรูใต้กองขี้ควาย ขนาด ความลึกประมาณ 1ศอก หรือบางหลุมอาจจะลึกกว่านี้โดยก้นหลุมจะทำเป็นโพรงขนาดใหญ่ จากนั้นแม่พันธุ์จะวางไข่บนขี้ควายแล้วกิจกรรมปั้นก้อนขี้ควายที่มีไข่อยู่ ภายในก็เริ่มขึ้น โดยใช้ปากดันถอยหลัง ขาหลังทำหน้าที่ปั้นก้อนขี้ควายให้เป็นก้อนกลมขนาดใหญ่แล้วลำเลียงขนลงไปไว้ ในโพรงก้นหลุมที่ทำไว้ แล้วจะกลับขึ้นมาวางไข่และปั้นก้อนขี้ควาย ขนลงหลุม ทำจนกระทั่งขี้ควายหมดกอง ซึ่งในแต่ละหลุมนั้นมีจำนวนก้อนบ่าขี้เบ้าไม่เท่ากัน บางหลุมมีถึง 15ก้อนและขนาดไม่เท่ากัน หากเป็นก้อนขี้เบ้าจากควายหงาน (พ่อควายตัวโต ๆ ขึ้นเปรียว) ก้อนขี้เบ้าก็จะมีขนาดใหญ่ตาม หลังจากปั้นก้อนขี้ควาย ส่งลงหลุมหมดกองแล้ว แม่พันธุ์จะลงไปขุดเพื่อขยายโพรงให้กว้างโดยลำเลียง  ดินขึ้นมาไว้บนปากรู เกษตรกรที่ไปหาบักขี้เบ้าก็จะอาศัยการสังเกตกองดินที่ถูกขนขึ้นมาโดยเรียก ว่า “ขี้ขวย”เมื่อได้โพรงขนาดใหญ่แล้วแม่พันธุ์ก็จะเริ่มกิจกรรมกลิ้งก้อนขี้ เบ้าในโพรงต่อเพื่อให้ดินมาพอกก้อนขี้เบ้า อีกชั้น ไข่เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนจะอาศัยก้อนขี้ควายกินเป็นอาหารเพื่อเจริญเติบโต ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้ ช่วงนี้ขี้ควายจะถูกตัวอ่อนกินหมดเหลือแต่ก้อนดินที่เป็นเปลือก ในระยะดักแด้จะไม่กินอะไรเลย เกษตรกรรู้ว่าระยะนี้เป็นระยะที่มีคุณค่าทางอาหารที่สุดและไม่มีขี้ควายใน ท้องของดักแด้ เทศกาลหาขี้ขวยของบักขี้เบ้าก็ จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคม หากพ้นระยะนี้ดักแด้ก็จะพัฒนาเป็นตัวแก่และออกจากเบ้าดินในช่วงต้นเดือน มิถุนายน สำหรับดักแด้ส่วนใหญ่นิยมนำมาแกงกับยอดผักหละ (ชะอม) นับว่าเป็นอาหารจานเด็ด จะเห็นได้ว่าตลอดชีวิตของแมงซู่ซ่าจะผูกพันอยู่กับกองขี้ควาย   หากไม่มีขี้ควายเราก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นบักขี้เบ้า  แหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพสูงอีกต่อไป
8 มิ.ย. 54 เวลา 11:48 29,346 74 530
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...