ยุคสมัย ลีวายส์
1870 - 1879 ผืนผ้าเดนิมถูกเปลี่ยนตั้งแต่ ค.ศ.1860 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เริ่มใช้คำว่า XX เมื่อปี ค.ศ.1870 หมายถึงเป็นผ้าเฮฟวี่เดนิม ที่มีคุณภาพดี โดยมีน้ำหนักเป็นพิเศษ ลีวาย สเตราสส์ และ จาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส ร่วมกันจดทะเบียนหมุดโลหะ คอปเปอร์ ริเว็ตเต็ด เมื่อ ค.ศ.1873 ต่อมาได้ทำการผลิตเดนิม ยีนส์ กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม XX เกิดขึ้นมามีรูปแบบ 3 กระเป๋า จะสังเกตได้ ที่ด้านหลังมีกระเป๋าหลังด้านขวากระเป๋าเดียว รุ่นแรกๆ นี้จะเรียกว่ากางเกงโอเวอร์ออลล์ส
1880 - 1889 ได้ใช้ป้ายหนังแท้ มาทำป้ายหลังในปี ค.ศ.1886 ในยุคสมัยนี้ยังคงเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ดับเบิ้ลเอ็กซ์
1890 - 1899 ใช้คำว่า 501 คือเลขส่งมอบผืนผ้าจากโรงงานอะมอสเคียง แมนูแฟคเตอริ่ง คัมปานี ส่งยังลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เมื่อปี ค.ศ.1890 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ไฟว์ โอ วัน ดับเบิ้ลเอ็กซ์ เย็บกระเป๋าใบที่ 4 คือกระเป๋าวอช พ๊อคเกต ในปี ค.ศ.1890
1900 - 1909 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เย็บกระเป๋าหลัง เมื่อปี ค.ศ.1902 ทำให้เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์สที่มีกระเป๋าครบ 5 กระเป๋า เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ที่สมบูรณ์แบบ ผลิตรุ่น 502 มีผลิตรุ่น 201 หรือกางเกงรุ่นนัมเบอร์ 2 ผลิตของเด็กชาย เป็นรุ่น 503 ก่อนแตกหน่อออกไปอีกเป็น 503 A, และ 503 B ซึ่งเป็นของเด็กโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น รุ่น 503 ผลิตยาวถึงยุค1960s จะเป็นรุ่น 503 Z
1910 - 1919 กางเกงโอเวอร์ออลล์สเดนิม 501 XX ยังมีการผลิตรุ่น 502 รุ่น 201 ผลิตรุ่น 503 และรุ่น 333 NO.3
1920 - 1929 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ได้เย็บหูกางเกงในยุคนี้ และได้ผลิตรุ่น 201 ไปอย่างต่อเนื่องจนถึงยุค 1940
1930 - 1939 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX สมบูรณ์แบบ มีหูสำหรับร้อยสายเข็มขัด มีซินช์แบ็ค เบลท์ ไว้ปรับให้กระชับในกรณีไม่ใช้สายเข็มขัด ในยุคนี้เป็นยุคที่ยกเลิกหมุดโลหะซ้าย-ขวาของกระเป๋าหลังด้านใน เปลี่ยนเป็นเย็บกระเป๋าหลังครอบคลุมไว้และเย็บแท็กกิ้งทับอีกชั้นหนึ่ง หมุดโลหะเรียกว่าคอนซีลเล็ด คอปเปอร์ ริเว็ตส์ นอกจากนี้ มีการใช้ป้ายเรดแท็บ และได้จดทะเบียนป้ายไว้เเล้ว จากนั้นได้ผลิตกางเกงผู้หญิง เลดี้ ลีวายส์ เวสเทิร์น โอเวอร์ออลล์ส โดยใช้ผ้าซานฟอไรเซ็ด เป็น 701 ของผู้หญิงจะมีทั้งเสื้อเบลาซส์ สำหรับใส่ไปท่องเที่ยวในยุคดู๊ดแรนช์ (Dude Ranch) และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องไปถึงยุค 1950s และ 1960s มีเป็นรุ่น Lot 401 Lady Levi?s ได้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิง มีขนาดเอวตั้งแต่ 25 นิ้ว ถึง 33 นิ้ว และผลิตกางเกงผู้หญิงตามแบบฉบับสำหรับใส่ขี่ม้า เป็นรุ่น R 528 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม ฟร้อนเทียร์ส Ladie?s Sanforized Denim Frontiers (ตัว R หมายถึง Riding) กับผลิตเสื้อผู้หญิง เพื่อสวมเข้าชุดกัน รุ่น RJ 92 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม แจ๊คเกต (Ladie?s Sanforized Jacket)
1940 - 1949 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX มีรุ่นผลิตอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1942 จนถึง ค.ศ.1944 ทางลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส ที่เขาผลิตว่าเป็นรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 บางที่อาจจะใช้คำว่า World War 2 เป็นรุ่น 501 XX, S 501 XX
1950 - 1959 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ถือได้ว่าเป็นที่สุดยอดอีกครั้งหนึ่งของลีวายส์ เพราะผ่านการผลิตมาแต่ละยุคสมัยจนลงตัว และในยุคนี้เป็นยุคที่รุ่งโรจน์ของอเมริกา ภายหลังมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาราฮอลลีวู้ด นักร้องร็อกแอนด์โรล ใครๆ ที่เป็นคนสำคัญในวงสังคมอเมริกัน และของโลกต่างหันมาสนใจในผืนผ้าเดนิม มีการเปลี่ยนแปลงป้ายหลัง จากป้ายหนังแท้ มาเป็นป้ายกระดาษปะเก็น ประเดิมรุ่นที่คำว่า Every Garment Guaranteed Lot 501 XX
1960 - 1969 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. ได้ผลิตกางเกงเดนิม 501 อยู่ระหว่างคาบเกี่ยวจะเปลี่ยนไปเป็นกางเกงยีนส์ 501 โดยมีการแสดงเกรดของผ้า โดยใช้ตัวอักษร A, S, F อยู่บนตัวเลขหมายรหัส 501 ของป้ายหลังที่เป็นกระดาษปะเก็น ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เคยเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX และได้เปลี่ยนจากคำว่าเดนิม มาเป็นคำว่ายีนส์ (Jeans) ในยุคนี้ และมีการผลิตยีนส์ ลีวายส์สีขาวขึ้นมา มีการผลิตรุ่น 505 โดยเป็นรุ่นที่ใช้ซิปแทนกระดุม ยุคนี้ได้ผลิตผ้า Shrunk to Fit มาทำเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 0115 ผืนผ้านี้จะไม่มีการหดตัว
1970 - 1979 กางเกงยีนส์ 501 XX เปลี่ยนป้ายเรดแท็บ จากที่เคยมีตัวอีใหญ่ (E) มาเป็นตัวอีเล็ก (e) 501รุ่นจากนี้ไปจึงติดป้ายเรดแท็บที่มีคำว่า Levi?s ให้สังเกต ตัวอี นี่เริ่มเป็นจุด ข้อแบ่งแยกป้าย เมื่อคนที่หากางเกงยีนส์ลีวายส์ที่เป็นรุ่นที่แตกต่างกันระหว่างบิ๊กอี และไม่ใช่ จึงทำให้กางเกงที่มีป้ายบิ๊กอีมีราคา
1980 - 1989 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้กลายมาเป็นรุ่น 501 0000 เลขหมาย 0000 เป็นรหัสแทน XX และได้กลับมาเป็น 501 xx พิมพ์ตัวดำ ตัวเอ็กซ์ 2 ตัว จะเล็กเกือบครึ่งของตัวเลข แล้วก็ได้กลายมาเป็น 501 ตัวใหญ่พิมพ์ สีแดง
1990 - 1999 กางเกงยีนส์ 501 XX ยังมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และในยุคนี้ได้ออกลีวายส์ วินเทจ คล็อทธิ่ง ดังได้เขียนบอกกล่าวมาข้างต้น
2000 - 2009 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้ผลิตไปตามความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ทั่วโลก ในปี ค.ศ.2000 นิตยสารไทม์ ได้เขียนถึงกางเกงยีนส์ 501 Jeans ลงบทความที่มีชื่อว่า ?The Clothing Piece of The 20 th Century? เครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ในยุคนี้ได้ผลิตกางเกงลีวายส์ Engineered Jeans ผลิตขึ้นมาเพื่อคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ร่วมยุคปี 2000 มาถึง ลีวายส์ เอนจิเนียเร็ด เพื่อการสวมใส่สำหรับทุกกิจกรรมที่คุณสนใจ ต่อมาได้มีการผลิตกางเกงยีนส์รุ่นล่าสุด Levi? sจ Type 1TM Jeans มาเขย่าตลาดแฟชั่นอย่างต่อเนื่อง สินค้าในยุคครบรอบ 150 ปี คอลเลคชั่นใหม่ 501 Celebration Jeans คือ Levi?s Nevada Jeans, Levi?s Red Tab Jeans, Levi?s Engineered Jeans และ Levi?s Vintage Clothing
Original for 150 years ล่วงเข้าสู่ปี ค.ศ.2003 ความสำคัญของ Brand ลีวายส์เปี่ยมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยีนส์โลก คือเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบการก่อตั้งบริษัท ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. 150 ปี และครบรอบ 130 ปี ที่ลีวาย สเตราสส์ และจาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส ร่วมกันรังสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์เดนิมยีนส์ขึ้นมาเป็นมรดกของโลก กิจกรรรมสำหรับโอกาสสำคัญเช่นนี้ ได้รับการดูแลการจัดงานจากบริษัทตัวแทนของลีวายอย่างเป็นทางการทั่วโลก ในประเทศไทยบริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด ได้จัดงานขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 27 กันยายน ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยภายในงานนอกจากจะมีดารานักแสดงที่เป็นผู้ชื่นชอบหลงใหล Brand ลีวายส์มาร่วมงานแล้ว ยังมีนิทรรศการ Story ต่างๆ ของ Brand ลีวายส์อยู่ด้วย สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งที่นำเสนอในงานนี้คือ มีการค้นพบกางเกงยีนส์ลีวายส์ตัวหนึ่งที่เหมืองในเนวาดา หลังจากตรวจสอบ ลินน์ ดาวนี่ย์ นักประวัติศาสตร์ยีนส์ลีวายส์ แห่งบริษัทลีวาย ได้รับการยืนยันว่า นี่แหละคือกางเกงยีนส์เก่าแก่ที่สุดในโลก ผลิตตัดเย็บในปี 1890 บริษัทจึงเปิดให้มีการประมูล พิพิธภัณฑ์ลีวายส์ได้ประมูลมันกลับมาสู่บ้านเกิด ด้วยราคากว่า 4 หมื่น 6 พันกว่าเหรียญ หรือประมาณ 1.8 ล้านบาท สิ่งที่ได้มานั้นแทบไม่น่าเชื่อว่ากางเกงยีนส์ลีวายส์ที่ผลิตจากผ้าฝ้ายนั้นมันสามารถมีอายุคงทนอยู่ได้เกินกว่า 100 ปี นี่คือข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่ลีวายส์ภาคภูมิใจนักหนา ว่าเขาคือ "ยีนส์ที่ทนทานทรหดที่สุดในโลก"
ตัวนี้คือยีนที่แพงที่สุดในโลกครับ มูลค่า $125,000 ราวๆก่อนปี 1879
bu_levisxx0047df.jpg (64.28 KB, 580x387 - ดู 12789 ครั้ง.)
bu_levisxx0044df.jpg (43.09 KB, 580x387 - ดู 13023 ครั้ง.)