ประวัติเรือยาว ในการแข่งขันเรือประจำปีของวัดต่าง ๆ นั้นนับว่าเป็นปกติวิสัย แต่วัดใดที่จัดให้มีการแข่งเรือและมีคู่เรือชิงเดิมพันแล้วจะทำให้งานแข่งเรือขงวัดน ั้น ๆ มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีเพราะจะเป็นการดึงดูดผู้ชมเข้าไปชมการแข่งขันกันมาก ฉะนั้น การแข่งขันเรือที่มีการเดิมพันจึงจัดได้ว่าเป็นการแข่งเรือครั้งสำคัญที่จะนำมาเล่าส ู่กันฟังพอสังเขป การแข่งขันเรือชิงเดิมพันในสมัยก่อนมีน้อยมากและเดิมพันก็มีน้อย เช่น เรือไกรทองของวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เคยพายเดิมพันกับเรือเพชรน้ำค้าง จังหวัดสิงห์บุรี เรือธนูทอง พายเดิมพันกับเรือศรีธารา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือประกายเพชร เรือประกายเพชรพายเดิมพันกับเรือผ่องนภา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือเทวีนันทวัน เพชรน้อยและช้างแก้ว แต่การพายในครั้งนั้น ๆ ไม่ค่อยเป็นข่าวโด่งดังอะไรมากนัก เพราะยังขาดการประชาสัมพันธ์งาน การแข่งขันเรือเดิมพันที่แพร่หลายในปัจจุบันเกิดจา กทางวัดราชช้างขวัญซึ่งเป็นวัดหนึ่งในจังหวัดพิจิตรที่กล้าจัดเป็นครั้งสำคัญที่รวบร วมไว้ในประวัติการแข่งเรือและเป็นวัดแรกที่กล้าลงทุนเชิญเรือต่างจังหวัดมาพายเดิมพั นกับเรือดังของจังหวัดพิจิตร นั่นก็คือในปี พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปากทาง ซึ่งเป็นประธานจัดงานแข่งเรือประเพณีของวัดราชช้างขวัญได้เชิญเรือศรีสุริโยทัยจากวั ดจุฬามณี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีผู้ใหญ่ถวิล แสงจักร เป็นผู้จัดการ โดยคิดค่าลากจูงเป็นเงินสด 20,000.- บาท มาพายเดิมพันกับเรือแม่พิกุลทอง จากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณเผอิญ จิตรากร เป็นผู้จัดการเรือ โดยคิดค่าลากจูง 5,000.- บาท พายชิงรางวัลเงินสด 200,000.- บาท (พายเดิมพันข้างละ 100,000.- บาท) และได้เชิญคุณไพฑูรย์ แก้วทอง ในสมัยนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร มาเป็นประธานตัดสินเรือครั้งนี้ ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือแม่พิกุลทองจากจังหวัดพิจิตรเป็นฝ่ายชนะ ในเที่ยวที่ 2 เรือศรีสุริโยทัยเป็นฝ่ายชนะ จึงยกเลิกเดิมพันกันไปหลังจากปี 2522 เป็นต้นมาการพายเรือเดิมพันจึงได้ระบาดแพร่หลายจากวงเงินหมื่นเป็นแสน เป็นล้านและเป็นสิบล้าน ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้.-ในปี พ.ศ.2523 เป็นปีที่มีการแข่งเรือครั้งสำคัญที่สุด จะนับว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ขณะนี้ยังหาเรือคู่ใดลบสถิติเงินเดิมพันไม่ได้ นั่นคือ ทางวัดท่าหลวงได้จัดงานแข่งเรือประจำปีและจัดให้มีเรือคู่พิเศษพายชิงรางวัลเงินสด 3 ล้านบาท ระหว่างเรือศรทอง จากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณประทีป ชัยสุวิรัตน์ เป็นผู้จัดการเรือ พายกับเทวีนันทวัน ซึ่งมีคุณสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ หรือรู้จักกันดีในนามของเสี่ยแหย เป็นผู้จัดการ ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือเทวีนันทวนันชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับเงินรางวัลไป ในเวลา 2 เดือนต่อมาเรือคู่นี้ได้พบกันอีกครั้งหนึ่งที่สนามวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการพบกันครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติการณ์ที่มีการเล่นเดิมพันกันสุงสุด ทางคณะกรรมการได้จัดโต๊ะมุมน้ำเงินรับเก็บเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายใดเงินเดิมพันเข้ามาก็จะประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามนำเงินเข้าไปประกบ สรุปรวมเรือคู่นี้พายกันครั้งนั้นประมาณ 10 ล้านบาท ผลก็ปรากฏว่าเรือศรทองจากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ล้างแค้นได้สำเร็จเอาชนะเรือเทวีนันทวันทั้งสองเที่ยว ซึ่งเป็นปมปริศนาของคนวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2524 ทางวัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดงานแข่งเรือประเพณีขึ้นโดยมีคู่เรือคู่พิเศษชิงรางวัลเงินสด 100,000.- บาท ระหว่างเรือแม่ขวัญมงคลทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กับเรือกิจสังคม จากวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลปรากฏว่าเรือแม่ขวัญมงคลทองชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับรางวัลเงินสด 100,000.- บาทไป และในปีนี้เรือทั้งคู่ได้ไปพายแก้มือกันที่วัดตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชิงรางวัลเงินสดเท่าเดิม ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือกิจสังคมเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือแม่ขวัญมงคลทองเป็นฝ่ายชนะ จึงได้ยกเลิกเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2525 การแข่งขันเรือยาวใหญ่ทรุดลงจึงจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวกางกันบ้างที่วัดราชช้างขว ัญโดยผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ได้เชิญเรือแม่ขันเงินซึ่งช่างทางภาคใต้ขุดไดว้และเป็นเรือวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ควบคุมโดยคุณสมชาย สกุลเกียรติวงศ์ พายเดิมพัน 200,000.- บาท กับเรือดังของพิจิตรคือเรือประกายเพชรจากวัดวังจิก อำเภอโพธฺ์ประทับช้าง ในการแข่งขันครั้งนี้ใคร ๆ ก็เล่นเรือทางภาคเหนือคือเรือประกายเพชร เพราะขณะนั้นกำลังเต็งจ๋าเลยทีเดียวและพอเรือแม่ขันเงินซึ่งเดินทางมาโดยรถยนต์สิบล้ อพอเรือถึงวัดราชช้างขวัญใคร ๆ ก็ว่าเป็นเรือต่อไม่ใช่เรือขุด ความจริงเป็นเรือขุดเช่นกัน แต่คนพิจิตรเสียอย่างใจถึงต่างก็ถือข้างประกายเพชรพอเรือแม่ขันเงินพายโชว์เที่ยวเดี ยวเท่านั้นเองคนหันไปเล่นแม่ขันเงิน ผลปรากฎว่าเรือแม่ขันเงินชนะไปทั้งสองเที่ยวพอขึ้นในปี พ.ศ.2526 การแข่งเรือเดิมพันก็ทรุดหนักลงไป เพราะหาเรือพายกันไม่ได้ต่างก้รู้ฤทธฺ์กันหมดทำให้การแข่งเรือจืดชืดกันไปหลายสนาม เรือบางคู่ตกลงจะพายเดิมพันกับผู้จัดก็ออกประกาศงานอย่างดีแต่พอเวลาแข่งจริงไม่มีเด ิมพันก็เข้าตำราที่ว่า "เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย" เป็นของคู่กัน งานแข่งเรือตามวัดเล็กวัดน้อยก็เลิกจัด เพราะจัดแล้วก็ขาดทุน มีแต่จังหวัดใหญ่ ๆ เช่น พิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อยุธยา สระบุรี ที่ยังจัดกันอยู่และในการจัดก้มีการขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวบ้าง สมเด็จพระบรมราชินีนาถบ้าง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชบ้าง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีบ้างและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภ รณ์วลัยลักษณ์บ้าง บางแห่งก็ขอถ้วยจากนายกรัฐมนตรี บางแห่งก็ขอถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ บางแห่งเป็นถ้วยปลัดกระทรวง บางแห่งเป็นถ้วย ส.ส.หรือถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดก็ทำให้งานแข่งเรือสืบทอดกันมาทุกวันนี้ในปี พ.ศ.2527 ที่วัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้เชิญเรือเทพนรสิงห์ จากจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ เป็นผู้จัดการเรือ มาพายเดิมพันกับเรือไกรทอง ซึ่งมีผู้ใหญ่หิรัญ คัชมาตย์ เป็นผู้จัดการเรือโดยตกลงพายกันสองสนาม สนามแรกพายที่วัดหัวดง เดิมพันกัน 2 ล้านบาท และสนามที่ 2 จะพายกันที่วัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี พายกันอีก 3 ล้านบาท ซึ่งสนามทั้ง 2 สนามก็ได้อย่างมากจากวัดเกาะหงษ์ นั่นก็คือมีการตั้งโต๊ะมุมน้ำเงินขึ้นรับเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ผลการแข่งขันสนามแรกที่วัดหัวดง เรือเจ้าถิ่นคือเรือไกรทองเอาชนะทัง 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาไปพายล้างแค้นที่วัดเสาไห้ปรากฎว่าเรือเจ้าถิ่นคือเรือเทพนรสิงห์เอาชนะ 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไปก็ไม่รู้พายกัน 2 เที่ยวใครโชคดีใครโชคร้ายบางรายโชคดีทั้ง 2 สนาม บางรายโชคร้ายทั้ง 2 สนามก็มีครับในปี พ.ศ.2528 วัดราชช้างขวัญได้จัดการแข่งชันเรือประเพณีขึ้นและได้จัดให้มีคู่เรือเดิมพันกันถึง 3 คู่ คือ.- คู่ที่ 1 ระหว่างเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก พายเดิมพันเงินสด 20,000.- บาท กับเรือแม่ศรีจุฑาธิป จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือมณีสายชล จากจังหวัดพิจิตรชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คุ่ที่ 2 ระหว่างเรือขุนเพ่ง จากวัดยางคอยเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 40,000.- บาท กับเรือจันทวดี จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือจันทวดี จากพิษณุโลกชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คู่ที่ 3 ระหว่างเรือขวัญชาติไทย (เทพนรสิงห์ 88 ในปัจจุบัน) จากวัดราชช้างขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 80,000.- บาท กับเรือพรพระเทพจากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพชนะ แต่เที่ยวที่ 2 เรือขวัญชาติไทยชนะจึงยกเลิกเงินเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2529 การแข่งเรือยาวใหญ่ที่เป็นคู่รักคู่แค้นเห็นจะมีอยู่ 2 คู่ คือ ระหว่างเรือพรพระเทพกับเรือแม่พิกุลทอง ซึ่งคู่นี้พายกัน 3 เที่ยว หลายสนามและแต่ละเที่ยวสร้างความหวาดเสียวให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะแพ้ชนะกันฉิวเฉียด ใครอยู่สายน้ำดีจะชนะทุกเที่ยวไปและอีกคู่หนึ่งคือเรือพรพระเทพกับเรือเทพนรสิงห์ ซึ่งก็พายกันสนุก แต่อย่างไรก็ตามในการแข่งขันเรือประเพณีของวัดท่าหลวงในปีนี้มีคู่เรือที่สนุกที่สุด คือ เรือประกายเพชรซึ่งเคยเป็นแชมป์เรือยาวกลางถึง 3 ปีซ้อน พายกับเรือเพชรชมพูจากวัดบางมูลนาก ราคาต่อรองเที่ยวแรกประกายเพชรเป็นต่อ 8 เอา 1 ผลปรากฏว่าเรือประกายเพชรแพ้ เที่ยวที่สองเรือประกายเพชรเป็นต่อ 3 เอา 2 ก็แพ้อีก ทำให้เซียนกระเป๋าฉีกไปตาม ๆ กัน ต่อมาหลังจากที่แข่งที่จังหวัดพิจิตรแล้ว ทางวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้มีการแข่งขันเรือคู่เดิมพันอีกคู่หนึ่งซึ่งเป็นคู่เรือที่ยังมิได้เคยพายกั นเลยนั่นก็คือเรือเทพนรสิงห์ จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ควบคุมโดยคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ควบคุมโดยคุณแอ๊ด เทวดา ผลปรากฏว่าเรือพรพระเทพชนะทั้งสองเที่ยวรับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2530 ก็มีการจัดการแข่งขันเรือประเพณีและมีการพายเดิมพันเรือคู่พิเศษขึ้นที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ระหว่างเรือรักไทย จากวัดท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือจันทรืเจ้า จากวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือจันทร์เจ้าเอาชนะไป 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป ต่อมาในปีเดียวกันนี้ได้มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกสนามหนึ่งโดยใช้ฝีพายจากภาคใต้ขึ ้นมาพายคือการจัดงานแข่งเรือประเพณีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเรือเทพพิษณุ จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ฝีพายชุดเจ้าแม่ตาปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี พายกับเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยพายเดิมพันกันเป็นเงิน 1 ล้านบาท ก็ปรากฏว่าเรือมณีสายชลชนะไป 2 เที่ยว ได้รับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2531 มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกครั้งหนึ่งคือวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้เรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พายเดิมพัน 400,000.- บาท กับเรือศรสุวรรณ จากวัดสุวรรณราชหงษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในการแข่งขันครั้งนี้ในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือศรสุวรรณเป็นฝ่ายชนะได้ยกเลิกเดิมพันกันไปการแข่งขันเรือครั้ง สำคัญนอกจากจะเป็นการแข่งเรือประเพณีและสอดแทรกคู่เรือเดิมพันเข้าไปเพื่อให้งานครึก ครื้นแล้วก็จะมีการแข่งเรือชิงแชมป์ประเทศไทยที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผ ู้จัดการขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีเรือเข้าแข่งขันน้อย เพราะค่าใช้จ่ายในการแข่งขันสูงมากก็เห็นจะมีการแข่งขันเรือชิงแชมป์ประเทศไทยในปี พ.ศ.2533 ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดขึ้นที่ลำน้ำจักราช อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีเรือเข้าแข่งขัน 50 กว่าลำ นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยจัดมา ผลก็ปรากฏว่าเรือเทพไพฑูรย์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าชิงแชมป์กับเรือเทพนรสิงห์ 88 จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ผลก็คือเรือเทพไพฑูรย์ได้แชมป์ประเทศไทยในปี 2533