สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หลังจาก นายฮอร์ นัมฮง รอง นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศกัมพูชากลับถึงสนามบินกรุงพนมเปญ ได้ให้สัมภาษณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายไทยจะชนะใน
การต่อสู้คดีที่ศาลโลก โดยนายฮอร์ นัมฮง ย้ำว่า แม้ศาลโลกจะยกคำร้องในครั้งนี้กัมพูชาไม่ได้เสียหายอะไร
เพราะศาลโลกเคยตัดสินคดีเมื่อปี 2505 ยกพื้นที่เขาพระวิหารให้เป็นของกัมพูชาแล้วตามหลักฐานแผนที่
อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่กัมพูชาใช้ชี้แจง
ขณะที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงท่าทีของกัมพูชาที่ยอมรับว่าอาจแพ้คดีขึ้น ทะเบียนปราสาทพระวิหารว่า คง
ต้องรอการวินิจฉัยของศาลโลกก่อน แต่ไทยยังคงยืนยันจุดยืนในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกใน
ปี 2505 ที่ไม่ได้มีกองกำลังของไทยเข้าไปในตัวปราสาทพระวิหาร และได้วางรั้วลวดหนามไว้อย่างชัดเจน
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กล่าวว่าทางการไทยได้สรุปข้อมูลทั้งหมดทีนำไปชี้แจงต่อศาล
โลกส่งให้สถานทูต ไทยประจำประเทศต่าง ๆ ที่ติดตามเรื่องนี้นำไปชี้แจงต่อประเทศต่าง ๆ โดยมั่นใจว่า
คำพิพากษาเมื่อปี 2505 วินิจฉัยเฉพาะอธิปไตยเหนือตัวปราสาท ไม่ได้พูดถึงสถานะทางการหมายเรื่องเขต
แดน ตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่ทางการกัมพูชาอ้างถึง จึงอยู่นอกเหนืออำนาจศาลโลก และเป็นเรื่องที่
ทั้ง 2 ประเทศต้องเจรจากันเองในกรอบบันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา หรือ เอ็มโอยู ปี 2543
ก่อนหน้านี้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า เมื่อศาลมีคำตัดสินแล้วหาก
ไทยไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง เรื่องทั้งหมดจะไม่กลับไปที่ศาลโลกเพราะศาลไม่มีอำนาจบังคับ ส่วนการบังคับให้
เป็นอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดประชาคม
โลก ซึ่งในหลักการไทยต้องรับผลบังคับในฐานะของสมาชิกของสหประชาชาติ และ ถ้าหากไม่ทำตามต้อง
ไปชี้แจงกับยูเอ็นเอสซี
ทั้งนี้ขั้นตอนการพิจารณาขณะนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องจัดทำเอกสารข้อมูล เหตุการณ์ปะทะกันบริเวณชายแดน
ส่งให้ศาลโลกภายใน 7 มิ.ย. ซึ่งศาลก็จะมอบคำชี้แจงของแต่ละประเทศให้อีกฝั่งเพื่อทำข้อมูลแย้งและส่ง
คืน ในวันที่ 14 มิ.ย.จากนั้น 3 สัปดาห์ก็จะมีคำตัดสินว่า จะรับหรือไม่รับการขอให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว