ประเพณีฟ้อนผี
User Rating: / 4ประเพณี ฟ้อน "ผีมด ผีเม็ง" ในกระแสสังคมยุคดิจิตอล ยังมีข้อสงสัยไม่รู้จบ ว่ารูปแบบของพิธีกรรมที่ถือปฏิบัติกันในอดีตเป็นเรื่องเหลวไหล มอมเมาในเรื่องผีๆ สางๆ ที่หาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ หรือเป็นแก่นแท้ของประเพณี ซึ่งต้องการอะไรกันแน่และเหตุใดหญิงชราอายุเกือบ 80 ปี ที่จะไปไหนมาไหนต้องให้ลูกหลานประคองไป จึงลุกขึ้นมาฟ้อนได้ตลอดทั้งวันเมื่อผ่านพิธีร่างทรงในประเพณีฟ้อนผีมดผี เม็ง เป็นเรื่องที่ยังหาคำอธิบายได้ลำบาก บ้างก็ว่าเป็นอุปทาน บ้างก็ว่าเป็นอภินิหารของสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ดัง นั้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เข้าสู่ฤดูการฟ้อนเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ ตามความเชื่อของคนไทยภาคเหนือ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ท่ามกลางความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความเชื่อเรื่อง "ผีๆ" แฝงอยู่กับคนพื้นเมืองเพียงบางตระกูลที่ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมา
ที่ หมู่บ้านคนเมือง หมู่ที่ 6 ต.สันทราย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มิใช่หมู่บ้านตามทะเบียนกรมการปกครองแต่เป็นที่อยู่อาศัยและทำกิจกรรมของ กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน 5 ประการ คือผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านคนเมืองต้องพูดคำเมือง แต่งกายพื้นเมือง เรียนรู้ตัวอักษรเมือง กินของกินเมือง และสนุกสนานรื่นเริงแบบคนเมือง จากเดิมที่มีเพียง 9 คน ขณะนี้มีอยู่เกือบ 200 คนแล้ว ที่ร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมอันงดงามของคนเมือง และเป็นที่มาของการฟื้นฟูประเพณีฟ้อนผีมดผีเม็งในการอนุรักษ์เชิงท่องเที่ยว
นาย นพดล ก้อนคำ แกนนำหมู่บ้านคนเมือง กล่าวว่า การฟ้อนเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษในทางภาคเหนือมีมานานมาก ตอนนี้เริ่มเลือนหายไป และมีเรื่องของปาฏิหาริย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อเรียกความสนใจ แต่แก่นแท้ของประเพณีฟ้อนผีมดผีเม็ง จริงๆ นั้น เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ใช่นับถือผีไปเรื่อย แต่เป็นการระลึกถึงบุญคุณที่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่สร้างแผ่นดิน สร้างบ้านเมืองให้ได้อยู่อาศัยจนถึงปัจจุบัน
ส่วน ผีนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงสรณะหนึ่งที่เป็นที่พึ่งทางใจ "ผี" ในความเชื่อของคนเก่าแก่คือ "ฮีตฮอย" ของสังคม ให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั่นเอง
"ระยะ หลังมีเรื่องอภินิหารเข้ามาเกี่ยวข้อง มีการโชว์เอาหอกแทงร่างกายเป็นเรื่องของการแสดงเพื่อให้เกิดความครึกครื้น ส่วนที่ถูกมองว่าระยะหลังมีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะเจ้าภาพจัดงาน แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาทในการเตรียมงาน จัดสถานที่และจัดเลี้ยงผู้มาร่วมงานจำนวนมาก มีการจ้างวงดนตรีมาบรรเลง ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อน การจัดงานแต่ละครั้งชาวบ้านจะนำสิ่งของมา "ฮอม" หรือมาร่วมกันทำบุญเจ้าภาพจึงไม่ต้องจ่ายมาก" นายนพดลกล่าว
จาก การสอบถามผู้ที่ถือปฏิบัติในประเพณีฟ้อนผีมดผีเม็งทางภาคเหนือ ผู้ที่อยู่ในเชื้อสายเดียวกันจะไปร่วมชุมนุมที่บ้านของผู้ที่รับหน้าที่บูชา ผีบรรพบุรุษ เป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่แยกย้ายไปทำงานที่อื่นได้กลับมาพบปะกันปีละครั้ง เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ และเกิดความภูมิใจในชาติพันธุ์วงศ์ตระกูลเดียวกัน
การ ฟ้อนจะฟ้อนในโรงพิธีหรือที่เรียกว่า "ผาม" โดยการจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ประกอบด้วย หัวหมู ไก่ต้มสุกทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม กล้วย อ้อย และมะพร้าว วางบนร้าน ถัดไปมีผ้าโสร่งและเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้ที่จะมาฟ้อน
ร่าง ทรงรายหนึ่งเล่าว่า ความหมายของการฟ้อน "ผีมด" และ "ผีเม็ง" และ "ผีเจ้านาย" นั้นจะต่างกัน ผีมดและผีเม็งเป็นการฟ้อนเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่าประจำตระกูล ส่วนการฟ้อนผีเจ้านายเป็นการฟ้อนเพื่อรำลึกถึงบรรพชน บรรพกษัตริย์ นักรบผู้กล้า และผู้ปกป้องรักษาแผ่นดิน ผีบรรพบุรุษแต่ละตระกูลจะเข้าคนทรงที่เป็นลูกหลานในตระกูลของตน ซึ่งการเข้าทรงของผีมดไม่ยุ่งยาก พออธิษฐานเสร็จผีก็เข้า แต่บางรายทำอย่างไรก็ไม่เข้าก็มี
ส่วนผีเม็งนั้นกว่าจะเข้าได้คนทรง ต้องห้อยโหนผ้าขาวที่ห้อยไว้กลางปะรำ เพื่อให้เกิดอาการมึนงง และเป็นที่น่าสังเกตว่าผีเม็งจะไม่รับของสังเวยทุกอย่างเหมือนผีมด โดยจะเลือกรับเฉพาะอาหารหวานและน้ำมะพร้าวเท่านั้น
การ ถวายอาหารทั้งคาวและหวานจะใช้วิธีแจกดาบให้คนทรงคนละด้าม พร้อมทั้งจุดธูปเทียนไขติดปลายดาบ คนทรงจะรับดาบไปเวียนรอบๆ อาหารทุกๆ จาน เพื่อแสดงว่ารับอาหารเสร็จเรียบร้อย ส่วนการแสดงอภินิหาร แทงหอกดาบเกิดขึ้นมาภายหลัง
ฉะนั้น การมองถึงแก่นแท้ของประเพณีฟ้อนผีมด ผีเม็ง หากมองที่อภินิหารของร่างทรง และการแสดงของร่างทรง บางคนจึงอาจจะมองว่าเป็นประเพณีที่เหลวไหล และมอมเมา เป็นเรื่องที่อยู่เหนือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าหากมองลึกลงไปถึงเจตนาของประเพณีเก่าแก่นั้น แก่นแท้ต้องการสอนให้มนุษย์ภาคภูมิใจและกตัญญูต่อบรรพบุรุษและรู้จักเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเท่านั้น