ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์(Surrealism)


                       

ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism)


ความเจริญด้านความคิด ทางลักธิของศิลปะมีส่วนให้อิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ มนุษย์ และศิลปศึกษา เป็นอันมาก ดังเช่นลักธิเซอร์เรียลลิสม์ ของกลุ่มศิลปินสมัยใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง

ปัจจุบัน คำว่า เซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) มี อโพสิแนร์ กรี และนักวิจารณ์มีชื่อชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1917 ครั้งแรกมีความมุ่งหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ตอนหลังความหมายเพี้ยนไปเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขบวนการจิตไร้สำนึก ที่เป็นไปอย่างเสรีโดยอัตโนมัติ กลายเป็นชื่อประขดสังคมไป ลักธิเซอร์เรียลลิสม์ เจริญงอกงามจากลักธิ ดาดา (Da Daism) ซึ่งเกิดขึ้นในสวิส เครชริด และแผ่ขยายไปเยอรมัน ฝรั่งเศส และอเมริกา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ระเบิดขึ้น ศิลปินกลุ่มหนึ่งผู้ซึ่งไม่พอใจในการสงคราม ที่มีแต่การทำลายล้างผลาญกัน จึงรวมพลังกันประท้วงโดยสร้างศิลปะแบบ ดาดา ขึ้น เพื่อต่อต้านการสงคราม ต่อต้านการทำลาย และกฎเกณฑ์ความงามอันหลอกลวง โดยใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง หรือ เกลือจิ้มเกลือ คือว่าแทนที่จะแสดงออกทางศิลปะให้เห็นงามกลับแสดงให้เห็นสิ่งที่น่าเกลียด ตลก หยาบโลน ทั้งนี้เพื่อเตือนให้มนุษย์ด้วยกันรู้สึกสำนึกในผลร้ายของสงครามนั้น

ศิลปินกลุ่มนี้กล่าวว่า ความรู้สึกของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าท่านรู้สึกอย่างไร จงแสดงออกทันที อย่าสกัดกั้นเอาไว้ เพราะมันจะฝังอยู่ใต้จิตสำนึก และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเอง จากคำกล่าวของลักธินี้ ทำให้ทราบว่าลักธินี้เกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นระยะพอดีกับที่นายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอย์ (1856-1934) ประกาศทฤษฎีด้านจิตวิทยาอยู่ในยุโรปพอดี นับว่า ซิกมันด์ ฟรอย์ มีส่วนช่วยให้ลักธิเซอร์เรียลลิสม์ มีอิทธิพลต่อวงการมาก


ลักธิเซอร์เรียลลิสม์ มีลักษณะในการแสดงออกทางศิลปะสองด้าน คือ

ก. ด้านเรื่องราว
1. เป็นเรื่องราวในอดีตมีความหมายต่อศิลปิน เช่น ความผิดหวัง ความรัก ความหยิ่งผยอง ความกลัว
2. เป็นเรี่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น การแนะนำสั่งสอนในทางลบ คล้ายกับกลุ่มดาดา

ข. ด้านรูปทรงและวิธีการ
1. ศิลปินแสดงออกด้วยสีที่มีความเข้มปานกลาง ให้ความรู้สึกนุ่มนวลบนผิวหน้า ด้วยการเกลี่ยให้กลมกลืน
2. ศิลปินแสดงออกด้วยวัสดุอื่น ปนกับวัสดุที่ศิลปินผู้นั้นถนัด เช่น ทรายปนกับสีน้ำมัน กระดาษสีปนกับสีน้ำมัน
3. ศิลปินพยายามจะซ่อมสิ่งที่ต้องการแสดงออกด้วยเทคนิคของการเขียน เช่น เขียนวัตถุบนกระจกใส หรือเขียนความชัดเจนของสิ่งของคลุมเรื่องที่ต้องการแสดง
4. ศิลปินพยายามสร้างสรรค์ แสง เงา และสีขึ้นเอง


ศิลปินในกลุ่มคือ
- ซันวาดอ ดาลี (Salvador Dali)เขียนภาพประท้วงของสังคม ชื่อ Premonition of Civil war แสดงบรรยากาศของความหวาดกลัวด้วยรูปน่าเกลียด น่ากลัว อีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียง คือ ภาพนาฬิกาเหลว
- มาร์ค ชากัลป์ (Mare Chagall)
- เชอร์ริโก (Giogio de Chirico)
- พอล ดวี (Paul Klee)
- มาเซล คูชามพ์ (Mareel Duchamp)


..........ศิลปะแนวเซอเรียลิสม์ มีความหมายว่า เหนือความจริง เพราะศิลปะแนวนี้ถ่ายทอดเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความฝันออกมา ว่ากันว่า ความฝันนั้นเป็นสิ่งที่จริงแท้เสียยิ่งกว่าความจริง เป็นสุดยอดของความเป็นจริง เซอเรียลิสม์ได้วิวัฒนาการมาจากพวกดาดาอิสม์ในเรื่องราวของการมองความจริงอันพิสดาร ศิลปินมองเห็นว่าโลกความเป็นจริงที่เห็นอยู่เป็นภาพมายาทั้งหมด (แต่กลับเห็นความฝันเป็นเรื่องจริง ออกจะสับสนอย่างไรไม่รู้) นี่เป็นการเคลื่อนไหวของศิลปะแบบหนึ่ง ที่มีความคิดพ้องตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก ซึ่งเราฝังความอยากอันมิได้ขัดเกลาเอาไว้ จนเกิดทำให้รู้สึกว่าความป่าเถื่อนยังมิได้หายไปจากมนุษย์ หากแต่หลบอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

งานเซอเรียลิสม์มีความสำคัญอยู่ที่ การแสดงออกของจิตใต้สำนึกอย่างอิสระ- ปราศจากการควบคุมของเหตุผล มีความฝันและอารมณ์ จินตนาการ ค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางกามวิสัย หลักการของเซอเรียลิสม์คือ จินตนาการเป็นส่วนสำคัญของการแสดงออก จินตนาการคือจิตไร้สำนึก และจิตไร้สำนึกเป็นภาวะของความฝัน ที่มีขบวนการต่อเนื่องกันซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะได้ สิ่งที่เราเห็นจากโลกภายนอกขณะตื่น เป็นเพียงปรากฎการทางการแทรกแซงความงามของพวกเขาคือความมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์เพียงอย่างเดียวที่สามารถสร้างศิลปะให้สมบูรณ์ได้ และยังให้ความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความหมายต่อความรู้สึกของมนุษย์



                        
                         

เครดิต http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=panorama&jnId=173688



Max Ernst. The Elephant Celebes, 1921



André Masson. Automatic Drawing. 1924. Ink on paper, 23.5 x 20.6 cm. Museum of Modern Art, New York.



Salvador Dalí. The Persistence of Memory. 1931.



Max Ernst, L'Ange du Foyeur ou le Triomphe du Surréalisme. 1937. Oil on canvas, 114 x 146 cm. Private collection.



Max Ernst



Yves Tanguy Indefinite Divisibility 1942



Young Virgin Auto-Sodomized by the Horns of Her Own Chastity
Salvador Dalí, 1954 Oil on canvas 40.5 × 30.5 cm, 15.95 × 12 in
The Playboy Mansion, Los Angeles, California



On Dream Caused by the Flight of a Bee around a Pomegranate a Second Before Awakening (1944) Dalí said, "the noise of the bee here causes the sting of the dart that will wake Gala"



Crucifixion (Corpus Hypercubus) (1954)



The Disintegration of the Persistence of Memory (1954) was Dalí's way of ushering in the new science of physics above psychology



Soft Construction with Boiled Beans (Premonition of Civil War) (1936)



The Madonna of Port Lligat Salvador Dalí, 1949 Oil on canvas
48.9 × 37.5 cm, 19¼ × 14.76 in Marquette University, Milwaukee, Wisconsin

Credit: http://atcloud.com/stories/96274
31 พ.ค. 54 เวลา 11:30 67,648 5 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...