ปอมเปอี ..... นครแห่งความตาย

ปอมเปอี มหานครแห่งความตาย(ที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด)

ถ้าหากได้ยินคำว่า ปอมเปอี หลายคนคงนึกถึงภาพซากศพคล้ายมัมมี่ที่ทำด้วยลาวาภูเขาไฟ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือนึกถึงความตายของคนในเมืองนี้ บ้างก็ว่าเป็นการลงโทษจากสวรรค์หรือพระเจ้าตามแต่จะเรียก เพราะความที่คนในเมืองนี้ขาดศีลธรรมโดยสิ้นเชิง จึงคล้ายกับว่าเป็นการล้างเมืองให้สะอาดด้วยการหยิบยื่นความตายให้

วันนี้เราจะมาย้อนรำลึกถึงความจริงว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับเมืองปอมเปอีแห่งนี้



รูปนี้ให้ดูภูเขาไฟวิสุเวียสใกล้ ๆ ออกจะสวยงาม แต่ใจร้ายจัง ฝังมิดทั้งเมืองเลย


ภาพกราฟิกจำลองวาระสุดท้ายของเมือง ในสารคดีของ BBC เรื่อง Pompeii: The Last Day


ผู้เสียชีวิตในปอมเปอี ถูกความร้อนเผาจนร่างกายกลายเป็นโพรง จึงต้องหาโพรง และเทปูนปลาสเตอร์ จะเห็นเป็นร่างผู้เสียชีวิต


ภาพวาดหายนะในปอมเปอีของ Karl Brullov วาดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1830-1833

ปอมเปอี

ชื่อในภาษาต่างๆ
- อังกฤษ Archaeological Areas of Pompeii
- ฝรั่งเศส Zones archéologiques de Pompéi
- อิตาลี Aree archeologiche di Pompei, Ercolano e Torre Annunziata

ข้อมูลทั่วไป
- ที่ตั้ง อิตาลี
- ประเภท มรดกทางวัฒนธรรม
- ปีที่ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2540
- ลิงก์ http://whc.unesco.org/en/list/829

เมือง ปอมเปอี (Pompeii) ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่ยังเป็นเพียงเมืองของชนเผ่าเร่ร่อน จนกระทั่ง 80 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปอมเปอีจึงได้เป็นเมืองของอาณาจักรโรมัน และชาวปอมเปอีจึงได้รับการยอมรับเป็นพลเมืองโรมัน หลังจากนั้นไม่นาน ชาวโรมันที่มั่งคั่งพากันสร้างบ้านพักตากอากาศตามชายฝั่งทะเลของปอมเปอี และบริเวณลาดเขาของภูเขาไฟวิสุเวียส และผู้คนเหล่านี้ได้ลงทุนทำอุตสาหกรรมผลิดสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยขึ้นในเมือง นี้ และไม่นานปอมเปอีก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้าอันมั่งคั่ง เต็มไปด้วยผู้คนที่มีความสามารถสูง

ภายในเมืองมีทั้งสถาปัตยกรรม ต่างๆที่ไม่เหมือนใครอยู่มากมาย แต่ที่เด่นๆก็คือ หลังคาเหนือห้องโถงจะมีช่องโหว่ใหญ่ด้านกว้าง และหลังคาเอียงลาดลงไปทางรูโหว่นั้น เมื่อฝนตก น้ำฝนจะไหลลงไปตามหลังคา ลงไปตามรูโหว่ และไหลลงสู่อ่างกระเบื้องที่อยู่ใต้รูโหว่ และไหลสู่ถังเก็บน้ำ และนอกจากนี้ ยังสะพานส่งน้ำและน้ำพุสาธารณะ ซึ่งน้ำสะอาดมาก แต่ชาวปอมเปอีจะสะดวกสะบายมากต่อเมื่อมีฐานะดี แต่ครอบครัวที่ยากจนลงมาจะต้องเริ่มทำงานหาเลี้ยงตนตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ผู้ที่ร่ำรวยส่วนมากก็เป็นทาสที่เป็นอิสระแล้ว ซึ่งคนรวยประเภทนี้ไม่มีอำนาจทางการเมือง คนที่จะมีอำนาจทางการเมืองได้นั้นจะต้องไม่เคยเป็นทาส

อุตสาหกรรมหลักของเมืองปอมเปอี คือ ผลิตเหล้าองุ่นและผ้าขนสัตว์

หายนะของเมืองปอมเปอี
วัน ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 79 เวลา 13นาฬิกา 30 นาที ภูเขาไฟวิสุเวียสได้ระเบิดขึ้น ฝุ่นควัน หินพัมมิซ และก๊าซพิษจำนวนมากถูกพ่นออกมา กระแสลมในวันนั้นได้พัดพามันไปที่เมืองปอมเปอี และสตาเบีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิสุเวียส แต่เมืองปอมเปอีใกล้กว่า จึงได้รับผลกระทบมากกว่า ในช่วงเวลาไม่กี่นาที ท้องฟ้าเหนือเมืองปอมเปอีก็ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันจากภูเขาไฟจนแสงอาทิตย์ไม่ อาจส่องลอดมาได้ จึงตกอยู่ในความมืดคล้ายยามราตรี หลังจากนั้นไม่นาน หินพัมมิซในฝุ่นควันก็เริ่มจับตัวกันเป็นก้อนใหญ่ที่หนักขึ้น เย็นลง และเริ่มร่วงลงมาสู่เมืองปอมเปอี ชาวเมืองเริ่มวิตก บางคนรีบหนีไป บางคนไปหลบในบ้านหรือในสถานที่ส่วนรวม

ต่อมาไม่นานนัก ชาวปอมเปอีก็เริ่มหายใจไม่ออก เพราะก๊าซพิษที่ภูเขาไฟพ่นออกมาทำให้อากาศไม่สะอาด ผู้ที่พยายามจะหนีส่วนใหญ่ตาย สาเหตุการตายส่วนใหญ่เพราะหินพัมมิซขนาดใหญ่หล่นใส่หัว แล้วก็ล้มลงหมดสติ แล้วก็ขาดอากาศหายใจจนตายในที่สุด ตกเย็นวันเดียวกันนั้นเอง ชาวปอมเปอีที่หลบภัยในบ้านเริ่มตาย เพราะหินพัมมิซทับถมกันหนาจนบ้านถูกฝังและขาดอากาศหายใจจนตาย ต่อมาไม่นาน หลังคาบ้านก็เริ่มถล่ม เพราะรับน้ำหนักหินไม่ไหว ทำให้ผู้คนถูกฝัง

วัน ที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 79 ช่วงเช้า วิสุเวียสระเบิดแรงขึ้น ทำให้ท้องทะเลปั่นป่วนเพราะแรงสั่นสะเทือน คลื่นชายหาดแรงมากจนบ้านพักตากอากาศริมทะเลถูกคลื่นซัดพังไปหลายหลัง ช่วงบ่าย กระแสลมเปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันตก(เยื้องใต้เล็กน้อย) นำพาฝุ่นควันสู่เมืองมิเซนัมและเฮอร์คิวเลเนียม แต่เฮอร์คิวเลเนียมอยู่ใกล้กว่ามาก จึงได้รับหายนะมากกว่า

วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 79 ภูเขาไฟระเบิดเบาลง แต่ก็เกิดฝนตกลงมาบริเวณลาดเขาของภูเขาไฟวิสุเวียส ซึ่งเต็มไปด้วยเถ้าถ่านที่ร้อนจัด

วัน ที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 79 น้ำฝนละลายผสมกับเถ้าถ่านกลายเป็นโคลนเดือดไหลทะลักลงมากลบเมืองเฮอร์คิวเล เนียม ชาวเมืองหลายร้อยคนเสียชีวิต แต่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ได้ล่องรืออพยพออกไปแล้ว ไม่นาน วิสุเวียสก็หยุดอาละวาด

ผู้รอดตายได้กลับไปยังเมืองของตน แล้วได้นำซากอาคารที่โผล่พ้นเถ้าถ่านฝุ่นควันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

นักประวัติศาสตร์ชาวโรมชื่อ แทซิทัส ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้เป็นภาษาละติน

 

 

 

 

อ้างอิงข้อมูล
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิงรูปภาพ
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2. http://cherokee.exteen.com/images/postcards/pompei/Resize%20of%20File1235.jpg

Credit: leeclub.blogpost.com
29 พ.ค. 54 เวลา 23:31 18,065 26 250
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...