10 อันดับ ศิลปะการต่อสู้ ที่ร้ายกาจที่สุดในเอเชีย

อันดับที่10. เคนโด้

เคน โด้ (ญี่ปุ่น: 剣道) เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศญี่ปุ่น เคนโด้ มีความหมายว่า"วิถีแห่งดาบ" มีพื้นฐานมาจากการใช้ดาบของพวกซามูไรในสมัยก่อน สืบทอดมากันประมาณ พ.ศ. 1332 เป็นวิชาที่ใช้ดาบไม้ไผ่ ในการฝึก ด้วยกระบวนท่าการต่อสู้ที่รวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด ต่อเนื่อง จึงเป็นที่นิยมไปกว่า เกือบ 30 ประเทศทั่วโลก



อันดับที่ 9. ปันจักสีลัต

ปัน จักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสาย มาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤต

 
   



อันดับที่ 8. มวยจีน(ไทเก๊ก, วูซู, กังฟู))

วู ซู มาจากภาษาจีนกลางว่า "อู่ซู่" หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของ "กังฟู" คือ วิชาว่าด้วยการใช้เทคนิค ในการเข้าปะทะต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกระบวนยุทธ และชั้นเชิงต่อสู้เป็หลักในการฝึก ทั้ง มีหลักศิลปะกายบริหารที่สืบทอดกันมา โดยมุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอก อันเป็นจุดเด่นของ วิทยาการวูซู



อันดับที่ 7. ยูยิตสู

ยู ยิสสู ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า ศิลปะแห่งความอ่อน เป็นชื่อเรียกของศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น โดยบางครั้งอาจจะถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น ยาวารา (yawara) , ไทจุสสุ (taijutsu) ประวัติที่มาของยูยิสสูนั้นไม่ชัดแจ้ง โดยมากกล่าวกันว่าถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงยุคของสงครามสมัย ระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 16 เนื่อง จากเป็นยุคสมัยสงครามทำให้เกิดวิชาใหม่ ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ในอดีตประเทศญี่ปุ่นมีสำนักยูยิสสูอยู่หลายร้อยสำนัก โดยแต่ละสำนักมีแนวทางในการฝึกของตัวเอง โดยมากจะรับอิทธิพลมาจากศิลปะการต่อสู้โบราญของซามูไรที่เรียกกันว่า ไทจุสสุ ซึ่งหมายถึงศิลปะการใช้ร่างกาย โดยยูยิสสูนั้นเป็นชื่อเรียกกลางที่ใช้เรียก ศิลปะการต่อสู้มือเปล่าอีกชนิดหนึ่งนั่นเอง



อันดับที่ 6. คาราเต้

คาราเต้ เป็นศิลปะป้องกันตัวที่พัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้ของชาวญี่ปุ่นใน หมู่เกาะริวกัว และจากทักษะการต่อสู้แบบจีน หรือมวยได้คาราเต้เป็นวิถีเเห่งการดึงพลังจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมารวมให้เป็นหนึ่งในการต่อสู้โจมตี เช่น หมัดเข่า ศอก โดยใช้มือ เปล่า ปราศจากอาวุธ แต่เป็นการใช้เทคนิคในการสร้างพลังมือเปล่าแทนอาวุธและโล่ห์ การฝึกหัดคาราเต้บางสำนักอาจมีท่าพื้นฐาน ท่าต่อสู้ หรือท่ารำเเตกต่างกันไป เช่น การหน่วงเหนี่ยว การปล้ำ การผลัก การจับยึด



อันดับที่ 5. เทควันโด

แต่ เดิมสมาคมเทควันโดแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ดำเนินการสนับสนุนให้เทควันโด แพร่หลายไปทั่วโลก มีการจัดตั้งสมาคมเทควันโดขึ้นในประเทศต่างๆ มีการพัฒนารูปแบบการฝึกออกไปมากมายทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนกระทั่ง * พ.ศ. 2515 ก่อตั้งสหพันธ์เทควันโด ( The World Taekwondo Federation : WTF) ที่ทำการใหญ่อยู่ที่สำนักคุกคิวอน กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประธานสหพันธ์คนแรก คือ ดร. ยุน ยอง คิม * พ.ศ. 2516 การแข่งขันกีฬาเทควันโดโลกครั้งแรก และจัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี พ.ศ. 2529 บรรจุกีฬาเทควันโดในเอเชี่ยนเกมส์ * พ.ศ. 2531 บรรจุกีฬาเทควันโดในกีฬาโอลิมปิก พ.ศ. 2510 เปิดสอนเทควันโดในประเทศไทยที่วายเอ็มซีเอ ราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพฯ ในฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกาที่ตาคลี นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานีและสัต**บ * พ.ศ. 2516 เปิดสอนเทควันโดที่ราชกรีฑาสโมสร พ.ศ. 2519 เปิดสำนักขึ้นที่โรงเรียนศิลปป้องกันตัวอาภัสสา ถนนเพลินจิต * พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมศิลปป้องกันตัวเทควันโด ณ โรงเรียนอาภัสสา โดยมีนายสรยุทธ ปัทมินทร์วิโรจน์ เป็นนายกสมาคมฯคนแรก ต่อมาสมาคมฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย



อันดับที่ 4. ยูโด (Judo)

ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัวเป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัด แปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็น การบริหารร่างกาย เพื่อให้ เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการ ทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้



อันดับที่ 3. คูราช (Kurash)

คู ราช (Kurash) เป็น กีฬาพื้นบ้านของอุซเบกิสถาน ที่ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการเล่นให้เป็นแบบสากลหลักการพื้นฐานของกีฬาชนิด นี้มีลักษณะผสมผสานระหว่างมวยปล้ำกับยูโด โดยแบ่งผู้แข่งขันเป็น 2 ฝ่าย สู้กันบนเวทีสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 15 x 15 เมตร คู่ต่อสู้จะต้องทุ่มอีกฝ่ายหนึ่งให้ล้มลงกับพื้นให้ได้ภายในเวลา 4 นาที สำหรับผู้ชาย และ 3 นาทีสำหรับผู้หญิง การให้คะแนน แบ่งเป็น * คาลาล ทุ่มคู่ต่อสู้ลงให้หลังแนบพื้นโดยสมบูรณ์ ผู้ที่ทำได้จะชนะทันที * ยอนบอส ทุ่มแล้วสีข้างหรือด้านข้างลำตัวของคู่ต่อสู้แนบพื้นอย่างสมบูรณ์ จะได้ 1 คะแนน หากทำคะแนนแบบยอยบอสได้ 2 ครั้งจะเท่ากับ 1 คาลาล ถือว่าชนะทันที * ชาล่า ทุ่มแล้วทำให้ก้นหรือหลังหรือท้องหรือสีข้างกระทบพื้นแต่ไม่สมบูรณ์ คะแนนแบบชาล่าไม่ทำให้การแข่งขันยุติ แต่จะใช้ตัดสินเมื่อหมดเวลา



อันดับที่ 2. มวยเตะ KICK BOXING

คิก บ๊อกซิ่งเป็นกีฬาที่ใช้ศิลปะการป้องกันตัวแบบการชกมวยทั่วไปแต่สามารถ ใช้เท้าเตะได้ด้วย คิกบ๊อกซิ่งเป็นกีฬามวยที่ใช้อวัยวะได้ทุส่วน โดยนักกีฬาเน้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันอวัยวะและใส่อุปกรณ์นั้นเวลาแข่งขัน เช่น นักกีฬาชายใส่กางเกงนักมวย ไม่ใส่เสื้อแต่มีอุปกรณ์ป้องกัน ที่แก พันมือ นวมชกมวย เครื่องสวมศีรษะ เป็นต้นมักมีการสับสนระหว่าคิกบ๊อกซิ่งและมวยไทยกีฬาทั้งสองเป็นการชกมวย เช่นกัน เเต่มีความแตกต่างที่มวยไทยสามารถเตะใต้เข็มขัดได้ สามารถใช้ศอกและเข่าในการเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ แต่คิกบ๊อกซิ่ง ไม่สามารถใช้ได้



อันดับที่ 1. มวยไทย

มวย ไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและ การต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลบรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่ง สอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและ ป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการ ฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจน ทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิด ประโยชน์มากที่ สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะ บาง ส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนาง ฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้


 


 
Credit: SweetMomo
28 พ.ค. 54 เวลา 17:33 13,420 3 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...