นักเล่านิทานบันลือโลก

นักเล่านิทานบันลือโลก

คมชัดลึก

ร่าง ที่แข็งทื่อไร้ชีวิตของหนูน้อยผู้ขายไม้ขีดไฟ เจ้าหญิงเงือกน้อยที่ผิดหวังในรักจนกลายเป็นฟองอากาศ ลูกเป็ดขี้เหร่ที่โดนเยาะเย้ยรังแก ...เหล่านี้คือความโศกเศร้ารันทดอันเป็นอมตะจากปลายปากกาของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน  (Hans Christian Anderson ) นักเล่านิทานคนดังชาวเดนมาร์ก ที่ส่วนหนึ่งหยิบยกมาจากชีวิตของเขาเอง

ใน สมัยที่เมืองอูเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางสังคม ผู้คนในเมืองพรั่งพร้อมไปด้วยราชวงศ์ ขุนนางต่างยศ ตลอดจนข้าราชการทหาร ทว่าประชากรกว่าครึ่งเป็นคนยากจน และได้รับการตราหน้าว่าเป็นวรรณะของคนชั้นต่ำ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน นักเล่านิทานอมตะก็รวมอยู่ในนั้นด้วย แอนเดอร์สัน เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2348 ในย่านสลัมของเมืองอูเดนส์ บิดาเป็นช่างปะรองเท้า ส่วนมารดาเป็นหญิงกรรมกร

 

เนื่อง จากแอนเดอร์สันเป็นลูกเพียงคนเดียว พ่อแม่จึงดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการอ่านหนังสือของนักเขียนชาวเดนมาร์กและชาวต่างประเทศให้ลูกฟังเสมอ ทั้งยังช่วยลูกสร้างโรงละครหุ่น ทว่าต่อมาไม่นาน พ่อของเขาถึงแก่กรรม แม่จึงต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกต่อไปโดยลำพัง เธอรับจ้างซักผ้าและตรากตรำทำงานหนักจนสุขภาพเสื่อมโทรมลง จนต้องหันหน้าไปพึ่งเหล้า และกลายเป็นคนขี้เมาไปในที่สุด แต่แอนเดอร์สันรักและเทิดทูนแม่มาก เมื่อตนเองกลายเป็นคนมีชื่อเสียงแล้ว ก็พยายามแก้ข้อติฉินนินทาที่เกี่ยวกับมารดาตนเองโดยการเขียนแฝงไว้ในเรื่อง และนิทานต่างๆ เช่น เรื่อง "ความรักของแม่" (The Story of a Mother) และยังเล่าเรื่องความยากจนในวัยเด็กของแม่ไว้ในเรื่อง "หนูน้อยขายไม้ขีดไฟ" (The Little Matchseller)

 

หลัง จากบิดาถึงแก่กรรม เขาถูกปล่อยปละละเลยให้เลี้ยงดูตัวเอง ไม่มีเด็กคนใดยอมคลุกคลีตีโมงกับเด็กยากจนเช่นเขา แอนเดอร์สันจึงหันเข้าหาการเล่นละครหุ่น อ่านนิยายเพียงลำพัง พออายุได้ 14 ปี หนุ่มน้อยก็เดินทางออกจากเมืองอูเดนส์ บ้านเกิดเมืองนอนไปเสาะแสวงหาความรุ่งโรจน์ทางการละคร ณ กรุงโคเปนเฮเกน เขาได้พยายามที่จะเป็นศิลปินแห่งโลกละคร แต่หลังจากที่ได้พยายามอยู่ถึง 3 ปี เขาจึงตระหนักว่าตนเองไม่มีทักษะทางนี้เลย ผู้อำนวยการโรงละคร โจนัส คอลลิน จึงส่งให้เขาได้เข้าไปเล่าเรียนขั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ด้วยวรรณะต่ำต้อยและจินตนาการลึกล้ำยากจะเข้าถึง แอนเดอร์สันได้ถูกดูแคลนจากเด็กร่วมโรงเรียน แม้กระทั่งครูใหญ่เขาจึงหาทางออกโดยการหนีโรงเรียนไปเยี่ยมนักกวีที่เมือง ซือรึ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากโรงเรียนเท่าใดนัก ทำให้ซึมซับงานนิพนธ์มาจากกวีเอกผู้นั้นโดยไม่รู้ตัว

 

แอ นเดอร์สันถูกห้ามไม่ให้เขียนและพิมพ์เรื่องของเขาในระหว่างที่ยังเรียนอยู่ ในโรงเรียน แต่ด้วยแรงหนุนของเพื่อนกวีอาวุโสผู้นั้น กลอนเรื่อง "หนูน้อยคอยวันตาย" จึงได้ออกมาสู่สายตาประชาชน ในปี 2370 ก่อนจะมีผลงานเรื่อง "การท่องเที่ยวด้วยเท้าเปล่า" ในปี 2371 และ 2372 คืองานนิพนธ์ชิ้นแรกที่พิมพ์ออกมาหลังจากที่สำเร็จการศึกษาแล้ว

ครั้ง ที่ยังอยู่ในวัยรุ่น แอนเดอร์สันพบความรัก กับ เฮนเรียตต์ วูล์ฟ ลูกผู้ดีมีเงิน หากไม่อาจแต่งงานกันได้เพราะความเหลื่อมล้ำทางสังคม จดหมายรักของคนทั้งคู่ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์มาจนบัดนี้ ความรักอีกครั้งของเขาเกิดขึ้นระหว่างฤดูร้อนปี 2373 กับ รีบอร์ค โฟคท์ แต่ก็ไม่สมหวังเช่นเดียวกัน ความสะเทือนใจในความรักที่ไม่สมหวังครั้งนี้ เป็นเหตุให้เขาประพันธ์โคลงซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง "ความเพ้อฝันและภาพวาด"

 

เพื่อ ที่จะให้ลืมความขมขื่นจากความรัก เขาตัดสินใจออกเดินทางท่องเที่ยวไปในต่างประเทศ ระหกระเหินไปทั่วยุโรป กรุงโรม ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งนวนิยายเรื่อง "กวีกลอนสด" (The Improvistatore) ที่ได้รับเผยแพร่เมื่อปี 2378 และได้ถูกแปลออกมาเป็นภาษาเยอรมัน นำชื่อเสียงของแอนเดอร์สันเผยแพร่ออกไปทั่วโลก

ระหว่างนั้น เขาเริ่มเขียนนิทานชุดแรกควบคู่กันไปด้วย ระหว่างปี 2378-2385 "นิทานสำหรับเด็ก" ก็ถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นตอนสั้นๆ หกตอนด้วยกัน มีนิทานที่คนทั้งโลกชอบพอรวมอยู่ด้วยหลายเรื่อง แอนเดอร์สันจึงได้ลงมือเขียนนิทานเด็กอย่างจริงจังตามคำแนะนำของเพื่อน

 

ช่วงเวลาเดียวกันนั้น แอนเดอร์สันก็พบรักอีกครั้ง กับ เจนนี ลินด์ เป็นนักร้องเสียงดี ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ "ไนติงเกลแห่งสวีเดน" (Swedish Nightingale) หากเป็นได้เพียงความรักข้างเดียว จนแอนเดอร์สันนำความสะเทือนใจกลั่นกรองออกมาเป็นนิทานหลายเรื่องเช่น นกไนติงเกล, คนเลี้ยงหมู เป็นต้น

นัก เขียนหนุ่มช้ำรักยังคงเขียนนิทานขึ้นอีกหลายต่อหลายเรื่อง ภายใต้ชื่อเรื่องว่า "นิทานชุดใหม่" ในปี 2386 และปี 2391 ไม่มีการใช้คำว่า "นิทานสำหรับเด็ก" อีกต่อไป เพราะนิทานของเขาอ่านได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และยังถูกแปลออกมาเป็นภาษาเยอรมัน และภาษาอื่นๆ ทันทีที่เขาเขียนเสร็จ แอนเดอร์สันยังได้เขียนอัตชีวประวัติลงในส่วนหนึ่งของหนังสือรวมผลงานของเขา ในวันเกิดครบรอบ 50 ปี โดยให้ชื่อว่า "นิทานชีวิตของข้าพเจ้า" (Fairy Tales oF My Life)

 

จุดเด่นของแอนเดอร์สัน คือไม่ได้เป็นแค่นักวรรณกรรมผู้ชาญฉลาดอย่างเดียว แต่เขายังมีพรสวรรค์ในงานศิลปะต่างๆ อีกหลายด้าน พร้อมกันนั้น แอนเดอร์สันยังผูกมิตรกับคนทั่วหัวระแหง แม้แต่พระญาติพระวงศ์ของกษัตริย์เดนมาร์ก พระเจ้าเฟอร์เดอริคที่ 7 ได้ทรงขอร้องให้แอนเดอร์สันไปเข้าเฝ้าในพระราชวังบ่อยๆ เพื่ออ่านนิทานเรื่องล่าสุดถวาย นอกจากนั้น เขายังได้รับพระราชทานตำแหน่งขุนนางหลายตำแหน่ง และเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายประเภทด้วย


บั้น ปลายชีวิต แอนเดอร์สันอาศัยอยู่ในห้องชุดสามห้องในย่านนือเฮาว์ใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน ใกล้โรงละครหลวงที่เขารัก ฤดูใบไม้ผลิแห่งปี 2415 เขาป่วยเป็นโรคมะเร็งในตับและถึงแก่อนิจกรรมในปี 2418 ระหว่างที่ป่วยหนักอยู่นั้น เขาได้พยายามสร้างงานวรรณกรรมขึ้นอีก 2-3 เรื่อง

 

ศพ ของแอนเดอร์สันถูกนำไปฝังไว้ในโบสถ์โคเปนเฮเกน มีการประกอบพิธีศพอย่างสมเกียรติของกวีผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการระลึกถึงเจ้าของแห่งวรรณกรรมอมตะ "พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์แอนเดอร์สัน" จึงได้ถูกสร้างขึ้นที่บ้านหลังเล็กๆ ที่เขาเคยอยู่ในเมืองอูเดนส์ และได้ขยายพื้นที่ในเวลาต่อมา

ผู้คนจากทุกมุมโลกพากันหลั่งไหลไปเยี่ยมเยียนพิพิธภัณฑ์เจ้าของตำนานอมตะอย่างไม่ขาดสาย

 

 

 

คิดทุกคำที่พูด แต่อย่าพูดทุกคำที่คิด

Credit: artsmen.com
#นักเล่านิทาน
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
25 พ.ค. 54 เวลา 22:20 2,412 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...