วันนี้ (24 พ.ย.) นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยในอดีตที่ผ่านมานายสมัครเป็นผู้สร้างสีสันให้แก่ว งการการเมืองอย่างมาก มาย จนกระทั่งในที่สุดได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่านายสมัครกับสื่อนั้นอยู่กันค นละขั้วมาตลอด แม้ตัวนายสมัครเองจะผ่านการเป็นสื่อมวลชนด้วยการทำหน ังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ มาแล้วก็ตาม แต่ก้ไม่เคยญาติดีกับสื่อ โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ที่เขาเคยเขียนหนังสือ “สันดานนักหนังสือพิมพ์” แต่ต่อมา เพื่อนเลิฟต่างวัยอย่าง “วีระ มุสิกพงศ์” ก็เขียนหนังสือ “สันดานนักการเมือง” เป็นการตอบโต้ แถมลงทุนสร้างภาพยนตร์ชื่อ “ไอ้ซ่าส์ จอมเนรคุณ” มีพระเอกในเรื่องชื่อ “สกัด สุนทรียเวช” ด้วย
.
ปิดฉากชีวิตลงแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีบทบาทสร้างสีสันให้แก่วงการเมืองไทยมาตลอด โดยถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
เช้าวันนี้ (24 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้วที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยมีรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายสมัครเดินทางกลับจากการรักษาที่ต่างปร ะเทศ และพักฟื้นอยู่ที่บ้าน โดยก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมได้เข้าพักรักษาตัวอีกครั้งท ี่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ด้วยโรคมะเร็งตับ กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในที่สุด ซึ่งทางญาติเตรียมแถลงการถึงรายละเอียดอีกครั้ง พร้อมเตรียมเคลื่อนศพบำเพ็ญกุศล ที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และ จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันพรุ่งนี้ (25 พ.ย.)
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรของ เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของมหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอ ยู่หัว และเป็นหลานตาของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
นายสมัครเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้
พ.อ.(พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)
นายสมัคร สุนทรเวช
นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง หัวหน้าพรรคประชากรไทย
นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภาและกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ.2505 สถานะการเงินของภรรยาจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได ้ นายสมัครเลยมิได้ทำงานประจำให้กับหน่วยงานใด และได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ พ.ศ.2516
ประวัติการศึกษา
ก่อนประถมศึกษา : โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
ระดับประถมศึกษา : โรงเรียนเทเวศร์ศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา : โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ระดับอาชีวศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
ระดับอุดมศึกษา : นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติทางการเมือง
นายสมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิ กพรรคประชาธิปัต ย์ เมื่อ พ.ศ.2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพ มหานคร ใน พ.ศ.2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้ งแรก ใน พ.ศ.2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งตลอดเ วลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎร สมัครได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ได้แก่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2518 - 13 มีนาคม พ.ศ.2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ.2519 - 23 กันยายน พ.ศ.2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ.2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ.2520)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ.2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ.2529)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ.2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ.2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ.2535)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ.2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2539)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2540)
นายกรัฐมนตรี (29 มกราคม - 9 กันยายน พ.ศ.2551)
สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้
พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ.2511-2519)
พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ.2514)
พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.2516) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.2516)
พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค.2518)
พ.ศ. 2518 : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย.2519)
พ.ศ. 2519 : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2519 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2519-2520)
พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย.2522)
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ.2523-2526)
พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย.2526)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ.2526-2529)
พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค.2529)
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ.2529-2531)
พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค.2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ.2531-2533)
พ.ศ. 2533 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ.2533-2534)
พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค.2535) (ก.ย.2535)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ.2535-2538)
พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค.2538)
พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย.2539)
พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2543-2547)
พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ.2550 - 30 ก.ย.2551)
พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 ม.ค.2551 - 9 ก.ย.2551)
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ.2543 ด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยผู้ได้คะแนนอันดับ 2 คือ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ไดัรับคะแนนเสียงเพียง 521,184 คะแนน
นายสมัครดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่าง พ.ศ.2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเ พลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน
การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
หลังพ้นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อครบวาระ 4 ปี นายสมัครตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่ารา ชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 แต่เบนเข็มมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2549 ผลการนับคะแนน นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียงเป็นอันดับสองของประเทศ รองจาก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิ ยังไม่ทันได้รับการรับรองตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาจากคณะ กรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเรื่องการไปขึ้นเวทีปราศัยขอ งพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ที่อาจถือได้ว่าเป็นการหาเสียง และขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนที่จะมีการชี้ขาดเรื่องดังกล่าว การเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ.2549 ก็ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสมัคร สุนทรเวช ทำพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก นายสมัคร สุนทรเวช แถลงข่าว ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาลดูเพิ่มที่ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย มกราคม พ.ศ.2551 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้นายสมัครเป็นนายกรัฐมน ตรี โดยมี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรั ฐมนตรี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ นายสมัครยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ แต่ยังถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธ ิปไตยถึงการดำรงตำแหน่ง ของนายสมัคร สุนทรเวช นี้ว่าเป็นนอมินี(ตัวแทน)ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกในข้อหาเซ ็นชื่อยินยอมให้ภรรยา ซื้อที่ดินตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2551 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒ ิสภาส่งความเห็นของ สมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรั ฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182(7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีค นใหม่
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2551 นายสมัครยังได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาช นอย่างไม่เป็นทางการ โดยให้เหตุผลว่าได้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคและรักษาระบอ บประชาธิปไตยอย่างดีที่ สุดแล้ว จึงขอยุติบทบาททางการเมือง ส่วนการดำเนินการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับพรรค
นายสมัครเคยถูกดำเนินคดีเป็นข่าวดัง ประกอบด้วย
คดีหมิ่นประมาท นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2528 นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมานายสมัครซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบา ล เมื่อ พ.ศ.2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้ให้ข่าวในทำนองว่านายดำรงฆ่าตัวตายเพราะความเครีย ด เนื่องจากการยักยอกงบประมาณของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยานายดำรง มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทนายสมัคร สุนทรเวช ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 ว่า “นายสมัครกล่าวข้อความเป็นเท็จและหมิ่นประมาทจร ิง” และได้มีคำสั่งให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช เป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา
กรณีสเตทเมนต์ปลอม เมื่อ พ.ศ.2530 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมใน ครม.คณะที่ 43 และได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบ าล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 44) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2530 นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบนโดยนำสำเนาสเตตเมนต์แสดงการโอนเงิน เข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาและอภิปรายว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท นายจิรายุได้ปฏิเสธและระบุว่าข้อกล่าวหาของนายสมัครเ ป็นเท็จและตนไม่เคยมี บัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา
ต่อมา จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แ ทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่า สเตตเมนต์ที่นายสมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และนายจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับนายสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่อมา นายสมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง
การจัดรายการโทรทัศน์ นายสมัครร่วมจัดรายการสนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯ นายสมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป ก่อนหน้านั้น สมัครได้จัดรายการ “สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน” ร่วมกับนายดุสิต ศิริวรรณ ในเวลา 11.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งนายสมัครได้กล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ “เลือกข้างใช่ไหม” จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่ าย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า พล.อ.เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย และเป็นถึงประธานองคมนตรี ทำให้นายสมัครขอยุติรายการดังกล่าวไปด้วยตนเอง
คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. นายสมัคร และดุสิต ศิริวรรณ ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ “เช้าวันนี้ที่ช่อง 5” ทาง ททบ.5 และ “สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน” ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้ อจัดจ้างของกรุงเทพมหา นครในรายการโทรทัศน์ ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให ้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้นายสมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วห ลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่นายสมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทงๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ขณะนี้คดีกำลังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์
25 กันยายน 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป
กับสื่อมวลชน
สมัคร สุนทรเวช เป็นนักการเมืองที่รู้กันเป็นอย่างดีว่า มีวาจาที่เผ็ดร้อน และมักชอบมีวิวาทะกับสื่อมวลชนเสมอๆ เช่น ให้นักข่าวหุบปาก เป็นต้น ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 สมัครได้มีวิวาทะกับสื่ออีกหลายครั้ง เช่น เมื่อนักข่าวถามถึงปัญหาภายในพรรคของสมัคร นายสมัครตอบว่าเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่สามารถบอกได้ แต่นักข่าวกลับถามซ้ำหลายครั้ง นายสมัครจึงถามย้อนว่า “เมื่อคืนไปเสพเมถุนกับใครมาหรือเปล่า” เพื่อแสดงให้เห็นว่าการถามคำถามเช่นนี้เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัว, กล่าวว่า สื่อดัดจริต รวมทั้งกล่าวว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เฮงซวย
วันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก องค์กรวิชาชีพสื่อได้แถลงผลการศึกษาเรื่อง '(วิ)วาทกรรมสมัครกับสื่อ' สรุปว่าตั้งแต่ช่วงที่เข้ามารับเป็นหัวหน้าพรรคพลังป ระชาชน สมัครใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่ทำให้การสื่อสารสองทางเ ป็นการสื่อสารทางเดียว ใช้ภาษาข่มขู่ รุนแรง ดุเดือด เลี่ยง เบี่ยงเบน บิดเบือน และทำให้หลงประเด็น พูดความจริงบางส่วน หรือพูดเท็จบ่อยๆ ทำให้ความชอบธรรมกลายเป็นความไม่ชอบธรรม ลดทอนน้ำหนักของประเด็นคำถาม สร้างเรื่องใหม่ขึ้นมากลบเกลื่อนประเด็นสำคัญ
ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า สมัคร สุนทรเวช ขาดความเข้าใจเรื่องบทบาท สถานภาพ และหน้าที่ของตนและผู้อื่น เพราะนายสมัครมีกลวิธีสื่อสารแบบที่ไม่เป็นมิตรกับสื ่อ และไม่สร้างเสริมประโยชน์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไ ตย เพราะข้อความที่สื่อได้จากการทำข่าวนั้นไม่สามารถสร้ างผลประโยชน์ได้ ไม่นำไปสู่กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจ สอบรัฐบาลได้ แสดงออกถึงความเพิกเฉย ไม่สนใจ มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย ไม่เคารพศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของสื่อ
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 สมัครได้เคยกล่าวไว้ในรายการ สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนตายเพียงคนเดียว และคนนั้นเป็นญวนอีกด้วย ซึ่งนายสมัครได้ย้ำอีกครั้ง ในการให้สัมภาษณ์กับ แดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และยังกล่าวอีกว่า “ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้องไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน ้ามาถึงป่านนี้หรอก”
บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์ กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของนายสมัครว่า ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับเหตุก ารณ์เท่านั้น เขายังปฏิเสธว่าการสังหารหมู่ไม่ได้เกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งที่มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้เสียชีวิตหล ายคน และสมัครเองก็ทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าให้ต่อต้า นคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งประเด็นนี้ ได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่มีวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 สมัครก็ได้ตอกย้ำสิ่งที่ตนพูดอีกครั้ง ซึ่งเป็นการตอบโต้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และชวน หลีกภัย ฝ่ายค้าน พร้อมกับกล่าวว่า ตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปิดหนังสือพิมพ์หลังเหต ุการณ์นี้ และได้สาบานด้วยว่า ถ้าสิ่งที่ตนพูดไม่เป็นความจริง ขอให้ตนพบกับความวิบัติ ถ้าไม่จริง ขอให้เจริญรุ่งเรือง
อีกทั้งสมัครยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนไม่มีส่ วนเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด ขณะที่สื่อมวลชนรายหนึ่ง ได้โชว์รูปถ่ายที่นายสมัครยืนอยู่ข้างหลังจอมพลประภา ส จารุเสถียรในครั้งนั้นแล้วชี้ให้นายสมัครดู แต่สมัครปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นรูปดังกล่าวมาก่อน
ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 “แม่ลูกจัน” แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันว่าภาพดังกล่าวถ่ายไว้ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ถึง 4 ปี โดยเป็นภาพถ่ายเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ขณะเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์ กลุ่มแบล็กเซปเทมเบอร์ บุกยึดสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ถนนชิดลม และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยโจรปาเลสไตน์ที่ถ ูกจับกุม ภายใน 12 ชั่วโมง ขณะนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี และจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็น รมว.มหาดไทย โดยที่นายสมัคร สุนทรเวช ขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอล ทำหน้าที่ประสานงานในเหตุการณ์ และ “แม่ลูกจัน” เป็นนักข่าวการเมืองที่อยู่ในเหตุการณ์ รูปดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ 2)
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ผลงาน
เขียนบทความ และความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำใน สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ.2500 ถึง 2516
เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ.2517 - พ.ศ.2520)
เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ.2521 จนถึง พ.ศ.2537
ผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป
ผู้ดำเนินรายการ เช้าวันนี้..ที่เมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ผู้ดำเนินรายการ สนทนาประสาสมัคร ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
อาการป่วย
หลัง พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมัครเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ โดยไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อมวลชนมากนัก จนกระทั่ง นายกฤษณะ ไชยรัตน์ พิธีกรโทรทัศน์ เดินทางไปถ่ายทำรายการถึงโรงพยาบาล อาการป่วยของนายสมัครจึงเป็นที่เปิดเผยในวงกว้าง ต่อมานายสมัครจึงเดินทางไปรักษาต่อที่สหรัฐอเมริกา กระทั่งกลับมาเมืองไทยและพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งต่อมาเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในวันนี้