เคยกินมันฝรั่งทอด ที่มีหีบห่อเป็นกระบอกกลมทรงสูง มีโลโก้เป็นตาลุงหนวดงาม ภายในมีมันฝรั่งแผ่นเป็นลอนโค้งอยู่ภายใน ต้องยอมรับว่ารสชาตินั้นละเมียดละไม เหลือเกิน อร่อยมากๆ แต่ก็แพงเอาการ แต่ กว่าที่อะไรจะกลายเป็นตำนาน นั้นย่อมมีที่มาที่ไม่ธรรมดา
ก่อน อื่นต้องบอกว่า ตามจริง Pringles นั้นไม่ใช่มันฝรั่ง100% แต่พวกมันมีส่วนผสมเป็นแป้งมันฝรั่งเพียง 42% ที่เหลือเป็นส่วนผสมของแป้งสาลี แป้งข้าวโพค ที่ใช้วิธีการทอดในน้ำมัน ไม่ใช่ใช้วิธีอบตามที่เข้าใจผิดกัน และเพื่อนเคย สังเกตหรือเปล่าว่า มันฝรั่งยี่ห้อนี้ มีแผ่นเป็นลอนโค้ง ลอนโค้งนี้ถูกสร้างมาตาม สูตรทางคณิตศาสตร์ โดยมีลักษณะเป็น โค้งแบบ ไฮเปอร์โบลิก พาราโบลอยด์(hyperbolic paraboloid) แต่เดิมในยุคแรก Pringle ก็เป็นมันฝรั่งสดฝานเป็นแผ่นเหมือนยี่ห้ออื่นทั่วไป แต่มันก็มีการเปลี่ยนแปลงจากความต้องการตอบสนองบางประการ ของ เหล่าลูกค้า เนื่องจากทาง P&G มักถูกลูกค้าร้องเรียนว่า แผ่นมันฝรั่งที่มีกลิ่นหม็นหืน และแผ่นมันฝรั่งที่มักจะแตกหักในถุง ทาง P&G จึงได้มอบหมายงานให้นักเคมีนามว่า Fredric Baur เพื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นในปี 1956 นาย Fredric Baur ได้ทำการออกแบบมันฝรั่งนี้เป็นรูปอานม้าที่มีลอนเป็น พาราโบล่า และบรรจุมันในกระบอกแทน(วิธีนี้ใช้แก้ปัญหา แผ่นมันฝรั่งแตกหัก) Fredric Baur เลือกที่จะใช้การผสมแป้งมันฝรั่งกับแป้งธัญพืชอื่นๆ แทนการใช้มันฝรั่งสดฝาน แต่ เขาไม่สามารถสร้างหัวใจของอาหารได้คือ มันไม่อร่อย เขาจึงถูกไล่ออกในที่สุดในปี 1958 ต่อในมาทาง P&G ได้มอบหมายให้นักวิจัยชุดใหม่ที่นำโดย Alexander Liepa เพื่อสานต่องานของ Fredric Baur และ อเล็กซานเดอร์ ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เขาสามารถทำให้มีรสชาติ อร่อย สำเร็จโดยคงรูปแบบลอนโค้ง และใช้การแป้งมันฝรั่งแทนมันฝรั่งสด
จะเห็นว่าถ้า Pringles ไม่ใส่ใจต่อข้อเรียกร้องของลูกค้า มันก็อาจจะเหมือนมันฝรั่งยี่ห้ออื่นๆทั่วไปที่มีขายอยู่มากมายในท้องตลาด ไม่แปลกนักที่หลักการตลาด ถึงบอกว่า ลูกค้าคือพระเจ้า