กฏแห่งกรรม

แห่งกรรม

จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
"กฎแห่งกรรม" คือ อะไร ? "กรรม" คือ กฎของเหตุและผล  นั่นคือ
"เหตุ" ที่ได้กระทำนำมาซึ่ง "ผล" ที่ต้องได้รับ
"ผล" ที่ได้รับอยู่ในขณะนี้แสดงถึง "เหตุ" ที่เคยกระทำไว้แต่ก่อน
"อย่าคิดว่าคนอ่อนวัยไร้เวรกรรม
ชาติก่อนทำเกี่ยวกรรมใด ใครรู้หรือ
เราจอมเทพฯ ยิ่งฤทธิ์แรงยากรับมือ
ปราบมารดื้อไม่อาจปราบเจ้าหนี้กรรม"

                            พระโอวาท จอมเทพวินัยธรเทพเจ้ากวนอู

ปัจจุบันเป็นผลของอดีตและเป็นตัวกำหนดอนาคต
ดังคำกล่าวว่า
เมื่อวานเป็น "เหตุ" วันนี้เป็น "ผล"
วันนี้เป็น "เหตุ" พรุ่งนี้เป็น "ผล"

คน ที่ไม่เชื่อ เรื่อง "การกลับชาติมาเกิด" ก็เพราะเขายังไม่เข้าใจเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของมัน คนไม่น้อยเลยที่เชื่อว่าชีวิตของเราเหมือนกับหลอดไฟฟ้า เมื่อตายไปก็ไม่มีอะไรเหลือ หากเราไตร่ตรองพิจารณาให้ดีแล้วจะรู้ว่ หลอดไฟจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเท่านั้น เมื่อหลอดไฟเสื่อมสภาพหมดอายุการใช้งานหลอดนั้นก็เสียไป แต่อะไรจะเกิดขึ้นกับกระแสไฟฟ้ล่ะ? มันจะสูญสิ้นไปด้วยหรือเปล่า? ไม่อย่างแน่นอน !

เรา ทุกคนทราบดีว่า พลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นและทำลายไปได้ เป็นแต่ว่ามันสามารถเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปอีกรูปแบบหนึ่งได้ ยกตัวอย่างเช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานเครื่องจักรกล พลังงานเคมี ฯลฯ นั่นก็คือกระแสไฟฟ้าอาจเปลี่ยนไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่นทำให้เตาไฟฟ้าเกิดความร้อน ทำให้ตู้เย็นเกิดความเย็น ทำให้พัดลมหมุน เป็นต้น

ถ้าจะพูดว่ากรรมและการเวียนวายตายเกิดไม่มี เพราะเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา จึงเป็นการสรุปอย่างคนไม่มีเหตุผล

กระแส ไฟฟ้าซึ่งนัก วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้จากปฏิกิริยาของมัน เป็นพลังงานที่มีอยู่จริงแม้แต่คนตาดีก็ไม่สามารถมองเห็นแสงสว่าง และไม่รู้เลยว่าแสงสว่างเป็นอย่างไร

ไม่ กี่ปีมานี้หลัก ฐานต่างๆ และเอกสารมากมายได้ถูกรวบรวมพิมพ์ออกเผยแพร่เพื่อพิสูจน์ว่า การเกิดใหม่นั้นมีจริง มีผู้คนจำนวนมากที่สามารถจำเรื่องราวในอดีตของชาติได้ เขาสามารถบอกเล่ารายละเอียดถึงสถานที่ ผู้คนในอดีต ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง

มี กรณีหนึ่งของ นาง รูส ซิมมอน (Ruth Simmon) ซึ่งเกิดและอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาแต่เธอจำอดีตชาติได้ว่า เมื่อหลายร้อยปีก่อนเธอคือ นายบิลเดย์ มัมฟี่ร์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี ค.ศ. 1789 เธอสามารถบอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตในสมัยนั้น เมื่อตรวจสอบก็พบว่าเรื่องราวที่เธอเล่าเป้นจริงถูกต้องทุกประการ ทั้งๆ ที่ นางรูส ซิมมอน ไม่เคยเดินทางออกจากสหรัฐอเมริกาเลย

อีก กรณีหนึ่ง สตรีชาวอังกฤษผู้หนึ่งได้จำอดีตของตนเองได้ 2 ชาติ ในชาติแรกเธอจำได้ว่าเธอเกิดเป็นหญิงชาวไอริซ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชื่อกรีนฮอลท์ (Greenhalgh) ในศตวรรษที่ 17 เมื่อตรวจสอบจากประวัติศาสตร์พบว่า หมู่บ้านนั้เคยมีอยู่จริงเมื่อเกือบ 300 ปีก่อน

ใน ชาติที่สอง เธอจำได้ว่าได้เกิดเป็นพยาบาลชาวอังกฤษที่มีหน้าที่คอยดูแลเด็กๆ ในเมืองดาวน์แฮม (Downham) ในปี ค.ศ. 1902 เมื่อสืบค้นจากข้อมูลของทางการซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ที่เมืองดาวน์แฮม ได้พิสูจน์ว่านางพยาบาลที่อ้างถึงมีตัวตนอยู่จริง

"สถานที่เกิดของสรรพสัตว์ หรือ ภูมิวิถีทั้ง 6"
1. เทวภูมิ เป็นที่ซึ่งบรรดาเทพพรหมสถิตอยู่ คนที่กระทำแต่ความดีในขณะมีชีวิตอยู่แต่ไม่รับรู้วิถีธรรมจะเกิดอยู่ในเทวโลกนี้

2. กึ่งเทวภูมิ (อสูร) เป็นที่อยู่ของจิตวิญญาณที่ทำความดีในโลกมนุษย์แต่ไม่สามารถ ขจัดความอิจฉาริษยา ความโลภ ความโกรธ ความอคติคิดร้าย ความเห็นแก่ตัวออกไปจากจิตได้

3. มนุษย์ภูมิ คือ โลกมนุษย์ที่คนเราเกิดมา ไม่ว่าจะเป้นคนร่ำรวย คนยากจน คนดีหรือคนเลว ก็จะมาเกิดอยู่ในแดนมนุษย์นี้ คนที่บำเพ็ญตัวเองในโลกมนุษย์และมีบุญสัมพันธ์ได้พบ "วิถีธรรม" ก็จะสามารถพ้นจากภูมิวิถีทั้ง 6 นี้ เข้าสู่แดนนิพพานได้ ในอีกด้านหนึ่งหากคนทำแต่สิ่งชั่วร้ายก่ออาชญากรรมสร้างความเดือดร้อนเขาก็ จะต้องไปเกิดอยู่ใน 3 ภพภูมิแห่งความทุกข์ยากซึ่งอยู่ต่ำลงไปได้แก่ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และนรกภูมิ

4. เดรัจฉานภูมิ คือสภาพความเป้นอยู่ของสัตว์ประเภทต่างๆ บนโลกนี้ แบ่งลักษณะของการเกิดได้แก่ :
......1. สัตว์ที่เกิดในครรภ์ เช่น ม้า วัว แพะ ฯลฯ
......2. สัตว์ที่เกิดในไข่ เช่น นก งู สัตว์เลื้อยคลาน ฯลฯ
......3. สัตว์ที่เกิดในที่ชื้นแฉะ เช่น สัตว์ทะเล ปลา กุ้ง หอย ฯลฯ
......4. สัตว์ที่เกิดแล้วแปรสภาพ เช่น แมลงต่างๆ แมลงวัน ยุง ผีเสื้อ ฯลฯ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะต้องเปลี่ยนสภาพรูปร่างหลังจากการเกิดครั้งแรก และอยู่ในสภาพที่เปลี่ยนไปจนถึงวาระสุดท้าย

5. เปตรภูมิ เป็นที่อยู่ของจิตวิญญานซึ่งต้องทุกข์ทรมานกับความหิวกระหาย อันเนื่องจากไม่เคยทำบุญกุศล ไม่เคยบริจาคทานใดๆ ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณของพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำ

6. นรกภูมิ เป็นที่ซึ่งดวงวิญญาณของคนที่กระทำผิดศีละรรม สร้างแต่กรรมชั่วขณะ เมื่อยังมีชีวิตต้องไปรับโทษทัณฑ์ อยู่อย่างทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส

ใน ภพภูมิของเทพพรหม ภูมิกึ่งเทวภูมิ (หรือแดนอสูร) และโลกมนุษย์ จะมีความสุขกว่าสัตว์โลก เปรตและในนรก แต่ไม่ว่าจะเกิดอยู่ในภพภูมิไหน ภพภูมิที่เราจะต้องไปเกิดและสภาพของการเกิดขึ้นอยู่กับการกระทำ (กรรม) ในอดีตและปัจจุบันของเรานั้นเอง อายุขัยของแต่ละชีวิตใน 6 ภุมิก็แตกต่างกันไม่มีใครจะอยู่ได้ตลอดไป

ทั้ง 6 ภูมินี้ มีแต่โลกมนุษยืเท่านั้นที่ดีที่สุดเพราะเป็นสถานที่ทุกคนสามารถบำเพ็ญฝึกฝน ตนเอง และมีกายสังขารที่จะสามารถสร้างสมคุณความดีและบุญกุศลได้

การ เวียนว่ายจะไม่ มีวันจบสิ้น ตราบใดที่เรายังมี "ความอยาก" ในทางโลก ตราบนั้น เราก็ยังต้องเกิดอยู่ร่ำไป หกาเราโชคดีมีรากบุญมาพบวิถีธรรม และได้เรียนรู้ "สัจจธรรม" ตั้งใจบำเพ็ญตนเอง ก็จะสามารถพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หมดสิ้นความทุกข์ทั้งปวง ดังเช่นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพรอรหันต์สาวกทั้งหลายได้บำเพ็ญจนสำเร็จ ธรรมบรรลุปณิธานสูงสุดไปก่อนหน้าแล้ว ย่อมเป็นข้อพิสูจน์ที่ดีเลิศแก่พวกเราทุกคน

4. ข้อปฏิบัติที่สำคัญในชีวิตของเรา ที่มีผลต่อกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด 3 ข้อ ได้แก่ :
ก. ไม่ทำความชั่วใดๆ ตั้งใจทำแต่ความดี เมื่อเราได้รู้ถึงผลกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดแล้วเราจะต้องสำรวมระมัด ระวังในการกระทำของเรา คือ ต้องพยายามหลีกเว้นการทำชั่วพยายามทำแต่ความดีเสียตั้งแต่บัดนี้ พึงจดจำไว้เสมอว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" บางเวลาที่เราพลั้งเผลอทำผิด เราก็ควรสำนึกผิดขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วย้อนพิจารณาความผิดที่ได้ กระทำไปแล้ว พิจารณาความผิด ที่ได้กระทำไปแล้ว เพื่อหาหนทางแก้ไขปรับปรุงตัวเองเสียใหม่

กฎ 4 ข้อสำหรับหลีกเลี่ยงความชั่ว
1. ไม่มองสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
2. ไม่ฟังสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
3. ไม่พูดสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
4. ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย

มัน เป็นกฎที่ง่ายๆ แต่ยากที่จะทำได้สำเร็จ เคล็ดลับก็คือ เราจะต้องเชื่อฟังมโนธรรมสำนึกของเรา เพื่อที่จะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ หากเราพยายามฝึกฝนตามกฎ 4 ข้อนี้ กิเลสทั้งหลายก็จะค่อยๆ มลายสิ้นไป จิตใจของเราย่อมมีแต่ความสะอาด สงบ และแจ่มใส

ข. ตั้งใจบำเพ็ญธรรมอย่างจริงจัง สร้างสมความดีเพื่อชดใช้หนี้สิ้นเวรกรรม
ถ้า เราเป็นหนี้ใคร สักคนหนึ่ง เราก็ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินให้ได้มากพอที่จะใช้หนี้ เช่นเดียวกับคนเราแต่คนก็มีหนี้สิ้นเวรกรรมมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป เพราะฉะนั้นทุกคนจำเป็นต้องรู้จักบำเพ็ญธรรมอย่างจริงจัง เพื่อชดใช้หนี้สิ้นบาปเวรที่เคยก่อไว้

ทำไม จึงเป็นเช่น นั้น? ก็เพราะเมื่อเราได้รับการถ่ายทอดวิถีธรรมอันจะนำพาเราให้กลับสู่ "นิพพาน" พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิทั้ง 6 เจ้าหนี้นายเวรที่เราเคยค้างก็จะต้องติดตามทวงหนี้และฉุดดึงเราไว้ไม่ให้ สามารถก้าวสู่ "นิพพาน" ได้ เหมือนกับถ้าเราเป็นหนี้ธนาคารเพียง 1 บาทและตัดสินใจว่าจะเดินทางไปต่างประเทศไม่กลับมาอีกแล้ว แน่นอนธนาคารจะต้องติดตามทวงหนี้ที่เราติดค้างให้ได้

เหตุผล สำคัญประการ หนึ่ง ที่เราสามารถรับการ "ถ่ายทอดวิถีธรรม" ก็เพราะด้วยพระบารมีของพรอรหันต์จี้กงผู้แบกภาระถ่ายทอดวิถีธรรมฉุดช่วยชาว โลก พระอาจารย์ทรงค้ำประกันและยืนยันกับเจ้าหนี้นายเวรของเราว่า หลังจากที่เราได้รับวิถีธรรมแล้วทุกคนจะตั้งใจบำเพ็ญธรรมสร้างบุญกุศลชดใช้ หนี้บาปเวรที่เคยกระทำต่อพวกเขาทั้งหมด ดังนั้เราควรระลึกถึงพระคุณของพระอาจารย์และไม่ทำให้ท่านผิดหวังในตัวเรา

ค. ฝึก "กินเจ" ให้มาก
ผู้ คนทั่วไปมักพูด ว่า "มีใจเมตตาก็พอแล้ว ทำไมต้องกินเจด้วย" แท้จริงแล้ว "การกินเจ" มิใช่แค่การแสดงของจิตที่เปี่ยมเมตตาเท่านั้น แต่เป็เรื่องของผู้ที่รู้แจ้งในกฎแห่งกรรมการเวียนว่ายตายเกิด เป็นเรื่องของสุขภาพร่างกายและการยเตรียมตัวบำเพ็ญตนไปสุ่ความหลุดพ้น

บาปที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตคือ "การฆ่า" และอานิสงส์ที่จะทำให้มนุษย์อายุยืนยาวสุขภาพแข็งแรงก็คือ "การไม่ฆ่าสัตว์"

ไม่ว่ากินเนือ้ หรือ กินเจก็เพื่อเพียงให้อิ่มท้อง

แต่ กินเนื้อร่างกาย สะสมโรคภัยไข้เจ็บ แก่เร็ว อายุสั้น ตายไว การกินเจทำให้ร่างกายสะอาดมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ก่อโรคภัยร้ายแรงให้กับตัวเอง อายุยืนยาว

ถ้าหากเราเข้าใจ "กฎแห่งกรรม" และ "การเวียนว่ายตายเกิด" อย่างลึกซึ้งเราสมควรที่จะหันมา "กินเจ" กันหรือไม่?

สรุป
การ ที่เรามีโอกาส เรียนรู้กฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดให้กระจ่างแจ้ง จะทำให้เรามองเห็นชีวิตได้อย่างลึกซึ้งขึ้น เมื่อเรารู้ว่าการกระทำทุกอย่างของเราจะส่งผลให้เราต่อไปในภายหน้าไม่ช้าก็ เร็วอย่างแน่นอน ความรู้นี้จะให้ความหวัง ความมั่นใจและความหนักแน่นในความเชื่อที่จะทำความดี รู้จักให้อภัยในความผิดของผู้อื่น

หากเราไม่ต้องการตกอยู่ในภพภูมิทั้ง 6 เมื่อได้รับวิถีะรรมแล้วก็ควรบำเพ็ญธรรมอย่างจริงใจเพื่อให้พบกับชีวิตที่ นิรันดรในที่สุด

1. คำนำ
ด้วย พระมหา กรุณาธิคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ ด้วยพระบารมีธรรมของพระบรรพจารย์ด้วยบรามีธรรมของท่านธรรมอธิการ และนักธรรมอาวุโสทุกท่าน ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมบุญสนทนากับท่านทั้งหลาย ในหัวข้อเรื่อง "กฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด"

อะไรคือ "กฏแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด ?"
การที่เรารู้เรื่องกฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด มันสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของเรา?

เรา จะพยายามไขข้อ ข้องใจเล่านี้และหวังอย่างยิ่งว่าเมื่อจบการบรรยายนี้แล้ว จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นในเรื่องของกฎแห่งกรรมและการเวียนว่าย ตายเกิด ก่อนอื่นข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องๆ หนึ่ง

ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสาวัตถีได้ตรัสถามพระสงฆ์พุทธสาวกว่า
"ใน แผ่นดินที่เรา ปกครองอยู่ทำไมราษฎรทั้งหลายจึงแตกต่างกัน? บางคนเกิดมายากจนต้องทุกข์ยากลำบาก ในขณะที่บางคนเกิดมาร่ำรวยมีเกียรติยศชื่อเสียง ทำไมบางคนเกิดมาเป็นคนดีมีศีลธรรมแต่บางคนเป็นอาชญากร ? บางคนยินดีที่ได้เกิดมา แต่บางคนกลับสาปแช่งการเกิดของเขา"

อัน ที่แท้จริงแม้ใน ทุกวันนี้ ถ้าเรามองดูรอบๆ ตัวเราจะเห็นชีวิตที่แตกต่างกันได้อย่างง่าย บางคนเกิดมาในบ้านของมหาเศรษฐีและสนุกเพลิดเพลินกับชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย ในขณะเดียวกันกับที่บางคนตกอยู่ในความยากจนได้รับความลำบากแสนเข็ญ

บางคนเกิดมาสวยงามและมีคนหลงรักมากมาย ในขณะที่บางคนต้องทนอยู่กับหน้าตาขี้เหร่และรูปร่างที่อัปลักษณ์ตั้งแต่เกิด

บางคนเกิดมาร่างกายสมบูรณ์ แต่บางคนอ่อนแอและถูกโรคภัยไข้เจ็บคุกคามเบียดเบียน บ้างก็เกิดมาเป็นคนพิการปัญญาอ่อน

บางคนครอบครัวอยู่อย่างกลมเกลียวมีความสุข แต่บางคนครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกันทุกวัน

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชะตาชีวิตที่แต่ละคนจะต้องได้รับ

พุทธ สาวกผู้รอบรู้ มิได้ตอบพระเจ้ากรุงสาวัตถีในทันที แต่ได้ถามพระองค์ว่า "ข้าแต่มหาบพิตร ทำไมผลไม้ถึงรสชาดที่แตกต่างกันล่ะ บ้างก็หลานบ้างก็เปรี้ยว บางผลสดสวยสมบูรณ์ดี บางผลแคระแกรนและลีบ

พระราชาทรงครุ่นคิดสักครู่แล้วตรัสตอบว่า "อาจเป็นเพราะสภาพและชนิดของเมล็ดพันธุ์ที่แตกต่างกัน"

พระ สงฆ์สาวกจึงพูด ขึ้นว่า "ถูกต้องแล้ว มหาบพิตร" พืชที่ปลูกให้ผลต่างกันก็เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ต่างกัน มนุษย์มีโชคชะตาแตกต่างกันก็เพราะผลกรรมที่ต่างกันนั่นเอง จากคำตอบของพุทธสาวกนี้เป็นคำอธิบายให้พวกเราได้รู้ว่า

คนเราเกิดมาต่างกันและมีวิถีชีวิตที่ต่างกันก็เพราะ
"แต่ละคนต่างมีกรรมเป็นของตนเองโชคชะตา และวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เขาประสอบอยู่ในเวลานี้ก็เป็นผลมาจากการกระทำของเขาเองในอดีต"

2. "กฎแห่งกรรม" คือ อะไร ?
"กรรม" คือ กฎของเหตุและผล นั่นคือ
"เหตุ" ที่ได้กระทำนำมาซึ่ง "ผล" ที่ต้องได้รับ
"ผล" ที่ได้รับอยู่ในขณะนี้แสดงถึง "เหตุ" ที่เคยกระทำไว้แต่ก่อน

มัน เป็นเรื่องที่ ธรรมดามาก เหมือนกับที่ เราเพาะปลูกเมล็ดมะม่วง ต่อมาเราก็ได้รับต้นมะม่วงและเมื่อเราเห็นต้นมะม่วงโตเราก็จะย่อมรู้ได้ว่า มันมาจากเมล็ดมะม่วง เช่นเดียวกัน ถ้าคนเราทำแต่สิ่งที่ดีๆ มาตลอดชีวิต ในชีวิตหน้าเราก็จะพบชีวิตที่สุขสบาย ในทางตรงกันข้ามหากคนที่ทำแต่ความชั่วมาตลอดชีวิตต่อไปในภายหน้าเขาก็ต้อง ประสบแต่ความทุกข์ยากลำบาก ต้องตกไปอยู่ในสภาพที่ไม่พึงปรารถนา

"กรรม" ให้ผลในรูปลักษณ์ต่างๆ และสามารถพบเห็นได้ในทุกๆ คน ดังเช่น
คำ พูดที่ว่า "หว่านพืชเช่นไรได้รับผลเช่นนั้น" หมายความว่า เราปลูกพืชชนิดใด เราปลูกพืชชนิดใด เราก็จะได้รับผลของพืชเช่นนั้น ถ้าเราปลูกแตงโมเราก็ต้องได้ผลเป็นลูกแตงโม ถ้าเราปลูกลิ้นจี่ เราย่อมจะหวังได้เลยว่าต้องได้ผลเป็นลิ้นจี่แน่นอน ถ้าหากมิเป็นเช่นนั้นแล้วชีวิตของชาวสวนคงมีแต่ความยุ่งยากวุ่นวายเพราะจะ หวังอะไรไม่ได้เลยว่า เมล็ดที่ตนปลูกลงไปนั้นจะออกลูกเป็นอะไรกันแน่ !

ในด้านคณิตศาสตร์
คุณครูจะสอนเราว่า 1+1 = 2 ......... 1+1 คือ "เหตุ" และ "ผล" ต้องเป็น 2 แน่นอน

ในด้านฟิสิกซ์
คุณครูก็จะสอนว่า "การกระทำทุกอย่างย่อมต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบ"
เมื่อน้ำมีอุณหภูมิที่ 0 องศาเซลเซียส มันต้องแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง
การลดอุณหภูมิ คือ กระทำเหตุ
น้ำแข็งที่ได้ คือ ผลลัพธ์

ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
คุณ ครูพละจะสอนเรา เสมอว่า "ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง" แต่ถ้าเราสูบบุหรี่จัด ปอดของเราจะถูกทำลาย ถ้าเราดื่มเหล้ามากๆ เป็นประจำจะเป็นโรคตับแข็ง ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือความเป็นเหตุและผลที่ตามมา

ในด้านมนุษย์สัมพันธ์
คน ที่มีแต่ความ หยิ่งยโสจองหองคิดว่าตนจะต้องเป็นฝ่ายถูกเสมอ คนอื่นทำผิดหมด เขาก็จะมีแต่ความสูญเสีย ขาดเพื่อนสนิท ถ้าคนเรารู้จักมีเมตตามีความอ่อนน้อมถ่อมตน ปฏิบัติต่อผู้อื่น ด้วยความจริงใจด้วยความเคารพยกย่องให้เกียรติ เขาก็ย่อมได้รับไมตรีจิตและแวดล้อมไปด้วยผู้คนที่คอยเมตตาให้ความช่วยเหลือ

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นลักษณะของ "กรรม" และ "ผลของกรรม" ในรูปแบบที่ต่างกันไปตามเหตุและปัจจัย

กรรมในแง่มุมต่างๆ
ให้เรามาศึกษา "กรรม" ให้ลึกลงไปอีกใน 2 แง่มุม คือ
1. ระยะเวลาที่กรรมจะปรากฎผล และผลกรรมนั้นจะยาวนานแค่ไหน ?
(กรรมที่เห็นผลทันตาและกรรมที่ส่งผลข้ามภพข้ามชาติ)
"กรรม" ให้ผลในระยะเวลาที่ต่างกันตาม "เหตุ" ตาม "ชนิด" ของมัน เช่นเดียวกับพืชยกตัวอย่าง มะเขือเทศใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็ให้ผล ต้นมะละกอก็จะใช้เวลาไม่กี่เดือนจึงให้ผล แต่ถ้าเป็นต้นทุเรียนต้องใช้เวลาถึง 7 ปีจึงจะให้ผล

ในเรื่องกรรมของเรา บางคนได้รับผลจากการกระทำของตนทันทีในชาตินี้ บางคน อาจได้รับผลกรรมของตนในอนาคตหรือชาติหน้า

กรรม ที่ส่งผลให้เรา ต้องได้รับจะมากน้อยยาวนานหรือระยะสั้นๆ ก็เปรียบได้กับ ถ้าเรามีงานที่ค้างอยู่มากมาย เราก็อาจจะไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันเดียว เราย่อมต้องใช้เวลานานหลายวันกว่าที่จะสะสางให้เสร็จเรียบร้อย

ใน ทำนองเดียวกัน ถ้าในอดีตเราทำควมชั่วที่ร้ายแรงและทำไว้มาก ผลกรรมก็จะปรากฏขึ้นรวดเร็วและต้องชดใช้ไปอีกนาน บางทีอาจต้องชดใช้ไปถึงชาติหน้ากว่าผลกรรมนั้จะหมดสิ้น

ใน การสสร้างความดี และบุญกุศลไว้มากๆ ก็เช่นเดียวกัน เหตุนี้เองที่คนดีมากมายในชาตินี้กลับมีชีวิตที่ทุกข์ยากลำบาก ก็เนื่องมาจากกรรมชั่วในอดีตส่งผลมาให้เขาต้องชดใช้

และ ในหลายกรณีที่คน ชั่วในเวลานี้ มีชีวิตอยู่สุขสบายก็เพราะเขากำลังเสวยผลบุญที่ตัวเขาและบรรพบุรุษได้สะสม ไว้ในอดีต แต่กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้ทุกวันก็จะต้องส่งผลเป็นรายการ ต่อไปแน่นอน

2. กุศลกรรมและอกุศกรรม (หรือกรรมดีกรรชั่ว, กรรมบริสุทธิ์ และกรรมไม่บริสุทธิ์)
"กุศลกรรม" หมายถึง กรรมดีหรือกรรมบริสุทธิ์
"อกุศลกรรม" หมายถึง กรรมชั่วหรือกรรมไม่บริสุทธิ์

ฉะนั้น กรรมดีจะให้ผลที่ดี และกรรมชั่วจะให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี
เหมือนดัง
เมล็ดพันธุ์ที่ดี .............ย่อมให้ผลที่ดี
เมล็ดพันธุ์ที่เลว...........ย่อมให้ผลที่เลว

พระอรหันต์จี้กงได้กล่าวไว้ว่า "คนที่มีโชคดี คือ คนที่ได้สะสมกรรมดีไว้ทุกวัน
ปากพูดแต่คำที่ดีงาม
ตามองแต่สิ่งที่ดีงาม
กายก็กระทำแต่สิ่งที่ดีงามไปด้วย
3 ปีที่สะสมแต่ความดี เบื้องบนก็จะประทานอนาคตที่ดีแก่เขา

หากคนที่สะสมแต่ความชั่ว 3 อย่างไว้ตลอดเวลา
ปากพูดแต่คำที่ไม่ดี
ตามองหาแต่สิ่งที่ไม่ดี
กายก็กระทำชั่วอยู่เสมอๆ
3 ปีต่อมาโชคร้ายทั้งหลายก็จะมาถึงเขา"

เรา สามารถรู้ได้ว่า กรรมใดเป็นกรรมดี กรรมใดเป็นกรรมเลว ก็อาศัย "จิต" ที่มองไม่เห็น คนที่ไม่สามารถแยกแยะระหว่างความถูก-ความผิด ความดี-ความชั่ว ทำทุกอย่างโดยไม่รู้จักแบ่งแยก คือ คนที่ทำตามกิเลสตัณหาความอยากของเขา ไม่ใช่ทำตามจิตที่มีมโนธรรมสำนึก

กรรมชั่ว หรือ อกุศลกรรม จะเกิดกับผู้ที่กระทำทุกอย่างโดยยึดความต้องการของตัวเองเป็นส่วนใหญ่

ทุก วันนี้ที่ทุกคน ทั้งหลายทำทุกอย่างตามที่เขาพอใจอยาก
Credit: ธรรมคือแรงใจดอดคอม
#กฏแห่งกรรม
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
23 พ.ค. 54 เวลา 21:12 3,503 2 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...