ในประเทศอินเดีย ยังมีหลายหมู่บ้านที่การศึกษาเข้าไม่ถึง แต่ที่หมู่บ้านยากจนแห่งหนึ่งชื่อ
Chamanpura ในรัฐ Bihar ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะขัดสน แต่นั่นไม่ได้หมาย
ความว่าการศึกษาจะไกลเกินเอื้อม
Santosh Kumar เป็นคนพื้นเพจากหมู่บ้านนี้ ทุกวันนี้ในวัย 34 ปี เขาเป็นวิศวกรรายได้ดีคนหนึ่งที่
อยากนำพาความเจริญมาสู่เด็กๆ ในหมู่บ้าน เขาตอบแทนบ้านเกิดโดยการสอนวิชาเลขให้กับ
เด็กๆ 20 คน ผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Skype สัปดาห์ละครั้ง จากที่บ้านของตัวเองในแถบ
ชานเมืองหลวงนิว เดลี ซึ่งอยู่ห่างจาก Chamanpura ประมาณ 970 กิโลเมตร
การให้บริการฟรีอินเตอร์เน็ททำให้นักเรียนทั้งชั้นสามารถเรียนผ่าน เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ ที่
คุณครูสอนให้รู้จักตัวเลขและคอนเซ็ปต์ "อนันต์" (infinity) ในเชิงคณิตศาสตร์ ผ่านเรื่องราว
สนุกๆ ของนักบวชจอมตะกละและชายบ้านนอกจอมเจ้าเล่ห์
Kumar เล่าว่าการที่จะนำพาการศึกษาไปสู่หมู่บ้านต่างๆ ถือเป็นงานที่ยากลำบาก พูดไปก็นึกถึง
ตัวเองสมัยวัยรุ่นที่ต้องขี่จักรยานไปแปดไมล์เพื่อจะไปเรียน ที่วิทยาลัยในเมืองใกล้ๆ จนท้ายที่สุด
ได้เข้าเรียนที่สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ Indian Institute of Technology (IIT) สำเร็จ
เขาบอกว่าญาติของเขา Chandrakant Singh ซึ่งเป็นวิศวกรเงินเดือนสูงเหมือนกัน ได้ตัดสินใจตั้ง
โรงเรียนสอนเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี ระหว่างทางที่ได้กลับไปเยี่ยมบ้านครั้งหนึ่ง
Singh บอกว่าในเวลานั้นเขาต้องการนำการศึกษาระดับเวิลด์คลาสไปสู่เด็กๆ ในท้องถิ่นที่เขาคิดว่า
ทุรกันดารที่สุดในโลก ในวัยเด็กเขาจำได้ว่าเขาต้องอ่านหนังสือเรียนตอนกลางคืนใต้แสงไฟจาก
ตะเกียง น้ำมันก๊าด
ถึงแม้ปัจจุบันหมู่บ้าน Chamanpura จะไม่มีระบบไฟฟ้า หรือถึงแม้ว่าครูที่มีประสบการณ์จะไม่
ยอมไปสอนที่นั่น Singh ใช้วิธีติดต่อขอรับบริจาคจากเพื่อนๆ เพื่อก่อตั้งโรงเรียนประจำขึ้น
(Chaitanya Gurukul boarding school)
เขาติดตั้งเครื่องปั่นไฟสอง เครื่องและจัดแจงฝึกครูท้องถิ่น 16 คน ก่อนที่จะมีไอเดียบรรเจิดนำ
เอา Skype มาใช้สื่อสารกับนักเรียนโดยมีครูมืออาชีพจากทั่วอินเดียมาช่วยสอน
Singh บอกว่าเนื่องจากครูที่ดีที่สุดในโลกไม่อยากเดินทางไปยัง Chamanpura เขาเลยคิดว่าการ
ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอาจทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
โรงเรียนกินนอนแห่งนี้เปิดเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว รับนักเรียนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่ง 50 คนใน
จำนวนนั้นไม่ต้องจ่ายค่าอะไรเลย ส่วนนักเรียนที่เหลือจ่ายค่าเล่าเรียนเพียงเฉพาะเท่าที่พ่อแม่
สามารถจ่ายได้
บทเรียนที่ใช้ Sykpe เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนมีขึ้นตอนเย็นหลังจากชั้นเรียนในปกติแต่ละ
วันและช่วงเวลาเสาร์อาทิตย์
Kumar ลงแรงทำในส่วนนี้เองตั้งแต่แรก และยืนกรานแน่วแน่ว่าเขาสามารถช่วยให้เด็กๆ เข้าใจ
มากขึ้นในสิ่งที่เรียนไปแล้วในชั้นเรียน เขาบอกว่าก่อนหน้านี้นักเรียนบางคนก็สงสัย อยากรู้ ว่า
คอมพิวเตอร์คืออะไร บางคนถึงกับกลัวหรือประหม่ากับเทคโนโลยี Kumar จึงต้องใช้เวลาสักพัก
ขจัดความกลัวให้เด็กๆ เพื่อให้พวกเขาเคยชินกับคอมพิวเตอร์ ที่บางคนก็ไม่เคยเห็นมาก่อน
Kumar เล่าต่อว่าตอนนี้คอมพิวเตอร์เป็นเหมือนโทรทัศน์ที่เด็กๆ ชอบดู ถึงแม้ว่าไฟจะดับหรือเกิด
ปัญหาทางเทคนิคบ่อยๆ ก็ไม่มีใครลดละกับอุปสรรคที่ว่า และ Kumar ก็หวังว่าบรรดาลูกศิษย์คง
จะเรียนรู้อะไรได้บ้างไม่มากก็น้อย
ถึงแม้จะมีทั้งพวกที่ตั้งใจฟังครู และพวกที่ชอบคุยในห้อง โดยเฉพาะเด็กแถวหลัง แต่ที่น่า
ประทับใจคือพวกเขาจะหยุดคุยทันทีเมื่อถึงเวลาช่วงคำถาม เด็กแต่ละคนตั้งใจและตอบคำถาม
ได้อย่างถูกต้อง
นักเรียนคนหนึ่งวัย 11 ขวบให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ผ่านทาง Skype ว่าการเรียนการสอน
ผ่านทางนี้ทำให้เขาจำได้ดีขึ้นในสิ่งที่เรียนไปแล้วและ เป็นวิธีที่ดีกว่าการอ่านหนังสือเรียนเพียง
อย่างเดียว เพื่อนนักเรียนอีกคนวัย 12 ที่นั่งอยู่ข้างหลังก็พยักหน้าเห็นด้วย และบอกว่าชอบบท
เรียนที่คุณครูสอน แถมโตมายังอยากเป็นวิศวกรเหมือนคุณครูอีกด้วย
น่าดีใจที่พวกเขาเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการศึกษา
ที่มา: AFP
แปลและเรียบเรียง: ทิพากร ศุภลักษณ์