ชื่อท้องถิ่น
เห็ดระโงกเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Amanita calyptroderma Ark. et Bal.
วงศ์
AMANITACEAE
ลักษณะเห็ดรา
ดอกเห็ดอ่อนมีเยื่อหุ้มหนา รูปกลมหรือรูป ไข่ ขนาด 3-4×3-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูป ถ้วย หมวกเห็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอมส้มหรือน้ำตาลอมเหลือง เมื่อกางออกจะเป็น รูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมัน และหนืดมือเมื่ออากาศชื้น ขอบเป็นริ้วยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยรวมเห็นชัดเจน ตั้งแต่โผล่ออกจากเยื่อหุ้ม ครีบสีขาวนวล ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาว นวล ยาว 5-10 ซม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม ภายในสีขาวมีรูกลวง แอนนูลัส เป็น แผ่นบางสีขาวห้อยติดอยู่บนก้าน
ฤดูกาลที่พบ
ฤดูฝน
ประโยชน์และโทษ
สามารถรับประทานเป็นอาหารได้
ชื่อท้องถิ่น
เห็ดน้ำหมากขาขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์
ลักษณะเห็ดรา
หมวกมีสีแดงอมชมพุขามีสีขาวเกิดบนพื้นดินป่าผล้ดใบกลางหมวกเป้นแอ่งเล้กเนื้อแน่นกินได้
ฤดูกาลที่พบ
สิงหาคม-กันยายน
ประโยชน์และโทษ
ใช้ทำเป็นอาหาร
ชื่อท้องถิ่น
ติ้วหมาแหงน ติ้วหม่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume
วงศ์
GUTTIFERAE
ลักษณะพืช
ไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร เป็น ใบเดี่ยว รูปรี ออกตรงข้าม ปลายใบแหลมโคนใบลิ่ม ผลออกทุกที่เป็นรูปวงรี กลีบเลี้ยงติดทน
ฤดูกาลออกดอกและผล
สิงหาคมถึงกันยายน
การใช้ประโยชน์
น้ำยางจากเปลือกต้น แก้ส้นเท้าแตก
ชื่อท้องถิ่น
เห็ดมันปู หรือ เห็ดขมิ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์
CANTHARELLACEAE.
ลักษณะเห็ดรา
หมวกเห็ดสีเหลืองอ่อน บานเป็นแฉก ขอบหมวกบาง หยัก เป็นลอน โคนดอกอวบสั้นสีขาว ผิวของดอกเห็ดจะเรียบ การยึดติดของดอกจะมีหยัก ก่อนติดก้าน ลักษณะของครีบคล้ายฟันเลื่อยเล็กๆ การเรียงตัวของครีบสานกัน เป็นตาข่าย ลักษณะของโคนก้านรูปทรงจะเรียบแบน ความกว้างของดอก ประมาณ 1-5 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 4-5 เซนติเมตร
ฤดูกาลที่พบ
ฤดูฝน
ประโยชน์และโทษ
นำมาแกงผัด หรือลวกจิ้มน้ำพริก
ชื่อท้องถิ่น
กลอย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dioscorea hispida Dennst.
วงศ์
DIOSCOREACEAE
ลักษณะพืช
ลำต้นกลมมีหนาม มีหัวใต้ดินส่วนมากกลมบางทีเป็น พู ใบเป็นใบประกอบย่อย 3 ใบ ใบกลาง แผ่นใบรูปรีขอบขนาน กว้าง 5 - 7 ซม. ยาว 10 -12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม อีกสองใบ เป็นใบรูปไข่กว้าง 6-8 ซม. ยาว 11 -15 ซม.
ฤดูกาลออกดอกและผล
การใช้ประโยชน์
หัวสามารถรับประทานได้ โดยต้องแช่ในน้ำทิ้ง ไว้ 2 - 3 วัน ล้างให้สะอาดนำมาปรุงอาหาร หัวตากแห้งปรุงเป็นยาแก้น้ำ เหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ ฝีมะม่วง
ชื่อท้องถิ่น
เห็ดตาโล่ ,ตาโปน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Calostoma sp. Tulostoma
วงศ์
SCLERODERMATACEAE
ลักษณะเห็ดรา
ลักษณะดอกเห็ดเป็นก้อนกลมมีวุ้นล้อมรอบ ดอกอ่อนมี ลักษณะเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3.0-4.0 เซนติเมตร เมื่อผ่าครึ่ง ดอกจะพบว่าลักษณะภายในดอกเห็ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกมี ลักษณะเป็นวุ้นสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองหรือสีขาวอมเหลืองห่อหุ้ม ความหนาของ ชั้นที่ห่อหุ้มหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร ชั้นในมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาวอัด ตัวกันแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนกลมสีขาวซึ่งเป็นสปอร์ที่อัดกันแน่น มี ขนาด 2.5-3.0 เซนติเมตร เมื่อดอกแก่พบว่าดอกเห็ดเจริญมีก้านชูขึ้น หมวก ดอกมีลักษณะคล้ายดอกบัว(ที่อยู่ของ สปอร์) ลักษณะก้านดอกแก่มีลักษณะเป็น ร่องพลูเรียงกันตามยาว มีสีขาวอมน้ำตาลอ่อน ลื่นคล้ายมีเมือกห่อหุ้ม เปราะ หักง่าย ขนาดก้านดอก แก่ กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 4.5-5.0 เซนติเมตร สปอร์ (Basidiospore) สปอร์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวสปอร์ขรุขระมีหนามโดยรอบ ขนาด สปอร์ 9.45-21.6 x 9.45-21.6 ไมโครเมตร สีของสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ไม่มีสี พิมพ์สปอร์มีสีขาวครีม
ฤดูกาลที่พบ
เดือนกันยายน-เดือนตุลาคม/
ประโยชน์และโทษ
ประโยชน์สามารถรับประทานได้
ชื่อท้องถิ่น
ผักชีช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Asparagus racemusus Willd.
วงศ์
ASPARAGACEAE
ลักษณะพืช
สูง1.5-4 เมตรฏเเป็นไม้เถามีหนามแหลมใบเดี่ยวเรียง สลับแผ่นใบเป็นแคบเรียงเส้นคาบยาวกว้าง0.5-1 มม. ยาว 10-36 มม. ดอกเล็กสี ขาวออกเป็นช่อ ผล เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 มม.
ฤดูกาลออกดอกและผล
การใช้ประโยชน์
กินเป็นผัก แก้ไข้ เอารากไปบดเป็นยาลู
กกลอน ยาอายุวัฒนะ แก้โรคมะเร็ง
ชื่อท้องถิ่น
ก้นครก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Polyathia debilis (Pierre) Finet & Gagnep.
วงศ์
ANNONACEAE
ลักษณะพืช
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 40 ซม. ลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบรูปรี กว้าง 3.0-4.0 ซม. ยาว 6.0-8.0 ซม. โคนใบ มน ปลายใบแหลม ผลรูปทรงกระบอก มีขนสีน้ำตาล
ฤดูกาลออกดอกและผล
ออกดอกและผล มิถุนายนถึงกันยายน
การใช้ประโยชน์
รากใช้ฝนดื่มเป็นยาแก้ไข้
ชื่อท้องถิ่น
โด่ไม่รู้ล้ม คิงไฟนกคุ่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Elephantopus scaber L.
วงศ์
COMPOSITAE
ลักษณะพืช
เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นสั้น ใบเดี่ยวมีขน นุ่ม เส้นใบมีลักษณะเป็นตาข่ายร่างแห ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว มีลักษณะใบ เป็นรูปช้อน ขอบใบจักซี่ฟัน กว้าง 6 ซม. ยาว 23 ซม. ลักษณะใบหนาสีเขียว เข้ม ก้านใบใหญ่ กลม สีเขียวอ่อนมีขนอ่อนนุ่ม ลำต้นสีน้ำตาลเข้มสั้น รากมี ลักษณะเป็นรากย่อยออกจากลำต้น
ฤดูกาลออกดอกและผล
การใช้ประโยชน์
ใช้ทั้ง 5 ส่วน เป็นยาบำรุง
ชื่อท้องถิ่น
หัวไข่โอบ หัวไก่โอก ทองพันดุล
ชื่อวิทยาศาสตร์
Decaschistia parviflora Kurz
วงศ์
MALVACEAE
ลักษณะพืช
พืชลัมลุก สูง 1-2 ฟุต มีเหง้าใต้ดิน ใบ เป็นใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4.5 -8 ซม. ปลายใบ แหลม โคนมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ใบมีขนสาก ดอก เดี่ยว บานเต็ม ที่กว้าง 4-6 ซม. กลีบดอกบางสีชมพู กลีบรูปไข่กลับ เบี้ยว กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 3.5-4 ซม.
ฤดูกาลออกดอกและผล
ออกดอกและผล สิงหาคมถึงกันยายน
การใช้ประโยชน์
ใช้เหง้าใต้ดิน (หัว) กินแก้กระหายน้ำ เป็นยาเย็น หรือเคี้ยวหัวสดช่วยแก้กระหายน้ำ
ชื่อท้องถิ่น
เห็ดไค,เห็ดหล่มกระเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์
Russula virescens Fr.
วงศ์
RUSSULACEAE
ลักษณะเห็ดรา
หมวกเห็ดเป็นรูปกลมสีน้ำตาลอมเหลือง สีขาว เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 7-11 ซ.ม. เมื่อดอกบานค่อยๆกลางออกเป็นเว้าตื้น เนื้อหมวกหนา ผิว เป็นเมือกเมือกเปียกน้ำ ขอบเป็นริ้ว คลีบสีขาวนวล ก้านเป็นรูปทรงกระบอก สี ขาวนวล หรือน้ำตาลอ่อน สูงประมาณ 5-10 ซ.ม. ผิวเรียบเนื้อในเห็ดสีขาว บาง ส่วนเป็นโพรงเล็กๆ สปอร์รูปกลม สีขาวขนาด 7-9*8-10 มคม มีการกระจายพันทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นเป็นดอกเดี๋ยว ขึ้นในป่าชุ่มชื้น สามารถกินได้
ฤดูกาลที่พบ
ฤดูฝน,เดือนกันยายน
ประโยชน์และโทษ
ทำอาหาร รับประทานได้
ชื่อท้องถิ่น
เห็ดน้ำหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Russula sp.
วงศ์
RUSSULACEAE
ลักษณะเห็ดรา
หมวกดอก (Cap หรือ Pileus) หมวกดอกมีสีแดงสดหรือสี แดงอมชมพู บริเวณกลางหมวกดอกบุ๋มเว้าลงเล็กน้อย ผิวหมวกดอกแห้ง สาก มือ บางบริเวณมีลักษณะเป็นคลื่นเว้านูนสลับกัน ดอกอ่อนหมวกดอกม้วนงอเกือบ ติดก้าน ดอกแก่หมวกดอกบานแผ่กางออกเป็นทรงร่ม ขอบหมวกดอกเรียบแต่มีลักษณะ หยักเป็นคลื่นและงอลงเล็กน้อย ดอกแก่มากๆ หมวกดอกมีลักษณะงอขึ้นเป็นรูป ทรงกรวย บางดอกขอบหมวกดอกฉีกขาด เนื้อภายในหมวกดอกมีสีขาว นวล นุ่ม มีรอย กัดแทะของสัตว์ ขนาดหมวกดอก กว้าง 5.0-8.0 เซนติเมตร ยาว 5.5- 10.0 เซนติเมตร
ครีบดอก (Gill หรือ Lamella) ครีบดอก มีสีขาวนวลหรือขาวอมครีม เป็นแผ่นหนา ลักษณะเป็นครีบยาวเท่ากันตลอดไม่มี ครีบสั้นสับหว่าง จำนวนครีบประมาณ 8-13 ครีบ ต่อ 1.0 เซนติเมตร
ก้าน ดอก (Stalkหรือ Stipe) ก้านดอกมีสีขาวอมชมพูแดง ผิวก้านดอกเรียบ แห้ง ลักษณะก้านดอกแข็งแต่เปราะ เนื้อภายในก้านดอกมีสีขาวและมีลักษณะเป็น ขุยผงนุ่ม ซึ่งอาจเกิดจากการกัดแทะของสัตว์ ขนาดก้านดอก กว้าง 1.3-2.0 เซนติเมตร ยาว 2.5-5.0 เซนติเมตร ก้านดอกด้านที่ติดกับครีบ มีขนาดกว้างน้อยกว่าบริเวณโคนก้านดอกเล็กน้อย แต่ในบางดอกก้านดอกด้านที่ อยู่ติดกับครีบมีความกว้างมากกว่าบริเวณโคนก้านดอก
สปอร์ (Basidiospore) สปอร์มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวสปอร์ขรุขระมีหนาม โดยรอบหนาม ขนาดสปอร์ 8.1-10.8 x 8.1-10.8 ไมโครเมตร (ดังภาพ ที่ 34.2) สปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ในน้ำกลั่นใสไม่มีสี พิมพ์สปอร์มีสี ขาว
ฤดูกาลที่พบ
เดือนกันยายน-เดือนตุลาคม
ประโยชน์และโทษ
รับประทานได้
ชื่อท้องถิ่น
ติ้วขาว,ติ้วส้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cratoxylum formosum (Jack) Dyer
วงศ์
GUTTIFERAE
ลักษณะพืช
สูงประมาณ 3-8 เมตรลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรง ข้ามปรายใบรูปมนหรือแหลมโคนใบมน ใบ กว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 5-6.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.5 เซนติเมตร
ลักษณะผล เป็นรูปวงรีมีกลีบดอกติดทน ผลออกตามปลายยอด ตามกิ่ง ซอกใบ ผล กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร
ฤดูกาลออกดอกและผล
เดือนธันวาคม
การใช้ประโยชน์
เป็นยาระบาย ใช้ทำอาหาร,ยางใช้ทาส้นเท้าแตก
ชื่อท้องถิ่น
ว่านแมงมุม
ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะพืช
พืชล้มลุก สูงประมาณ 75 ซม.มีลักษณะลำต้นมาหายอด คล้ายกับต้นมะพร้าวที่กำลังแทงยอดออกจากลูกมะพร้าว เป็นพืชใบเดี่ยว คล้าย ต้นกระเจียวแต่ใบจะเขียวเข้มกว่า ใบกว้าง 10 ซม. ยาว 47 ซม. ปลายใบแหลมใบ ด้านบนเรียบ ด้านล่างจะมีก้านใบที่แข็งและเรียงตัวตามความยาวของใบ ประมาณ 7 เส้น ส่วนหัวใต้ดินจะมีหัวค่อนข้างกลมต่อกันเหมือนกับโครงสร้าง อะตอมหรือคล้ายตัวแมงมุมต่อกันรอบโคลนและมีรากรอบหัว
ฤดูกาลออกดอกและผล
การใช้ประโยชน์
หัวหรือเหง้า ฝนกับน้ำมะนาว แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
ชื่อท้องถิ่น
มะกอกเกลื้อน บักเหลี่ยม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Canarium subulatum Guillaumin
วงศ์
BURSERACEAE
ลักษณะพืช
ไม้ต้น สูง 10-25 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นร่องตามยาว และเป็นเกิด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 5-11 ใบ รูป ไข่ กว้าง 3-11 ซม. ยาว 9-18 ซม. ปลายใบแหลม เป็นติ่งแหลม โคนมนหรือ ตัด ดอก เล็ก สีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบ ผล รูปไข่ กว้าง 1.5-2 ซม. สีเขียว อมเหลือง ก้านใบ ยาว 1-2 ซม.
ฤดูกาลออกดอกและผล
ออกดอกเดือนกรกฎาคม ออกผลเดือนกันยายน
การใช้ประโยชน์
ลำต้นทำกระดานปูบ้าน ผลนำไปดองรับประทาน เนื้อเมล็ดกินได้ ยาระบาย
ชื่อท้องถิ่น
ก้นถ้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rhodammia dumetorum (DC.) Merr. & L.M. Perry
วงศ์
MYRTACEAE
ลักษณะพืช
เป็นไม้พุ่ม 1-2 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูป ไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบ 0.5-1 ซ.ม. ใบกว้าง 1-1.5 ซ.ม. ใบ ยาว 2-5 ซ.ม. ผลกลมสีแดง ผลสุกสีดำ ช่อผลออกตามซอกใบ ก้านผล 1 ซ.ม.
ฤดูกาลออกดอกและผล
สิงหาคม-กันยายน
การใช้ประโยชน์
รักษาแผล
ชื่อท้องถิ่น
ผีพวน เครือผีผ่วน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Uvaria pierrei Finet & Gagnep.
วงศ์
ANNONACEAE
ลักษณะพืช
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยวเรียงสลับ ปลายใบเรียว แหลม โคนใบตัด ขอบใบเรียบ กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 8-14.5 ซม. ใบมีขนนุ่มตลอด ใบ ก้านช่อผลยาว 1-2 ซม. ก้านช่อผลย่อย 3-3.3 ซม. ผลรีหรือกลม กว้าง 2-3 ซม . ยาว 3-6 วม. ผลย่อย 4-12 ลูก สีส้มหรือแดงสด
ฤดูกาลออกดอกและผล
กันยายน-พฤศจิกายน
การใช้ประโยชน์
ผล กินได้
ชื่อท้องถิ่น
หญ้าอึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์
LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ลักษณะพืช
ไม้พุ่ม สูง 1-2 ฟุต เป็นใบประกอบ เรียงสลับ รูปวงรี ปลายมน โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ มีขน กว้าง 0.9-1.2 ซม. ยาว 1.9-3.3ซม. ดอกสี ขาวขนาดเล็ก ดอกบานมีสีชมพูอ่อน
ฤดูกาลออกดอกและผล
กันยายน ถึงตุลาคม
การใช้ประโยชน์
เป็นยาสมุนไพรแก้หมาดขาวในผู้หญิง
ชื่อท้องถิ่น
ว่านพญาลิ้นงู
ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์
ลักษณะพืช
เป็นพืชหัว ใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 0.5-1.5 ซม.ยาว35-40 ซม. หัวคล้ายหัวกระเทียม,หอมแดง มีสีขาว
ฤดูกาลออกดอกและผล
การใช้ประโยชน์
บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย โดยนำหัวมาฝนผสมกับน้ำมะนาวหรือเหล้า แล้วทาบริเวรที่ถูกกัด
ชื่อท้องถิ่น
นางแซง โลดทะนง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib