สูขภาพจิตคนทํางาน รุ้ก่อนเรื้อรัง

สุขภาพจิตคนทำงาน รู้ก่อนเรื้อรัง
โรงพยาบาลมนารมย์ (1,610 views) first post: Fri 20 May 2011 last update: Fri 20 May 2011
ปัจจุบันสุขภาพจิต ของคนไทยวัยทำงานมีระดับความเครียดสูงมาก จำเป็นที่ทุกคนควรรู้จักวิธีรับมือกับความเครียด เพราะถ้าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสมแล้ว โอกาสเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้อีกมาก

 

หน้าที่ 1 - สุขภาพจิตคนทำงาน รู้ก่อนเรื้อรัง
 

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างโรงพยาบาลมนารมย์ และวิชาการดอทคอม
http://www.manarom.com/



             ปัจจุบันสุขภาพจิตของคนไทยวัยทำงานมีระดับความเครียดสูงมาก โดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจการแข่งขันที่สูงในเรื่องการทำงาน ทำให้เกิดความกดดันในการดำเนินชีวิตสูงมาก จำเป็นที่ทุกคนควรรู้จักวิธีรับมือกับความเครียด เพราะถ้าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสมแล้ว โอกาสเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้อีกมาก โดยเฉพาะคนทำงาน หากมีความกดดันกับการทำงาน ต้องทำงานแข่งกับเวลา อาจเกิดเครียดได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเองและคนรอบข้างได้

             การดูแลสุขภาพจิตจึงกลายเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่องค์กรต้องมีหลายครั้งกลับถูก มองข้าม นพ. ไกรสิทธิ์ นฤขัติพิชัย กรรมการผู้จัดการและจิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์ เล่าถึงสถานการณ์ว่า ตอนนี้พนักงานในองค์กรมีความเครียดสูง ทำให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพงานและผลประกอบการ เพราะโดยทั่วไปแล้วความเครียดสามารถส่งผลต่อการเจ็บป่วยทางกายได้ทุกระบบ และมีผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพราะจุดอ่อนในร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

             "..พยายามลดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นออกให้เหลือน้อยที่สุด การลดแรงกดดันสามารถทำได้หลายทาง ได้แก่ การปรับลดเป้าหมายความคาดหวังต่างๆ ในชีวิตหรือในงานลง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะการตั้งเป้าหมายสูงเกินไปไม่เหมาะกับ สถานการณ์จะเป็นตัวสร้างแรงกดดันเกินจำเป็น.."

             การรับมือกับความเครียดสามารถทำได้ คือ ข้อแรกพยายามลดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นออก ให้เหลือน้อยที่สุด การลดแรงกดดันสามารถทำได้หลายทาง ได้แก่ การปรับลดเป้าหมาย ความคาดหวังต่างๆ ในชีวิตหรือในงานลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะการตั้งเป้าหมายสูงเกินไปไม่เหมาะกับสถานการณ์ จะเป็นตัวสร้างแรงกดดันเกินจำเป็น

             ข้อต่อมาพยายามเพิ่มความสามารถของตนเองในการรับมือกับแรงกดดัน โดยการจัดการกับความเครียด ไม่ให้สะสมอยู่ในตัวเรา เพราะถ้าความเครียดสะสมมากๆ เมื่อเจอกับความขัดแย้ง โอกาสที่จะถึงจุดเดือดระเบิดอารมณ์ก็เป็นไปได้ง่าย ถ้าจะเปรียบเทียบสุขภาพใจกับสุขภาพกาย ด้านร่างกายเราต้องอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน เพื่อมิให้ความสกปรก เหงื่อไคลสะสมก่อให้เกิดโรคผิวหนังหรือโรคติดเชื้อตามมา ด้านจิตใจก็เช่นกัน ในวันหนึ่งๆ ตั้งแต่ตื่นนอนเช้าจนหัวถึงหมอน เราจะต้องประสบพบกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจ ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมากมาย

             การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียด นอกจากทำโดยการฝึกผ่อนคลายแล้ว ยังมีวิธีอื่นเพิ่มเติมอีก ได้แก่ การ ฝึกทำอะไรให้ช้าลง เพราะปัจจุบันชีิวิตประจำวันของเราเต็มไปด้วยความรีบเร่ง ทำให้เรื่องของสมาธิและสติในชีวิตประจำวันของเราจะน้อยไป คนที่มีสมาธิและสติที่ดีจะมีโอกาสรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ทำให้การควบคุมอารมณ์ทำได้ดีขึ้น ปัญหาในชีวิตที่เกิดจากการขาดสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ก็จะลดน้อยลง การใช้วิธีนับ 1 ถึง 10 หรือการออกจากสถานที่ที่ทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัวก็ยังเป็นวิธีการที่ดี ที่จะช่วยลดโอกาสเกิดการระเบิดอารมณ์ได้

 

 

             อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียดได้ก็คือ การหาความรู้เพิ่มเติมด้านจิตวิทยาและศาสนา เพื่อเพิ่มมุมมองชีวิตมุมมองปัญหาได้กว้างขึ้น  เมื่อชีิวิตจะต้องประสบกับปัญหาก็สามารถมองเห็นทางเลือกสำหรับทางออกได้มาก ขึ้นกว่าเดิม โอกาสจะรู้สึกว่าเกิดทางตัน ท้อแท้หรือโกรธแค้นจะน้อยลง ความสามารถคิดหรือมองโลกแง่บวกและการให้อภัยทำได้ดีมากขึ้น

             แม้การดูแลความเครียดจากการทำงานอาจทำยากในระยะแรก แต่ถ้าลองเริ่มต้นแล้วทำอย่างต่อเนื่องย่อมเป็นเรื่องดีต่อตัวเองและคนรอบข้าง


 

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง
Credit: วิชาการดอดคอม
#คนทํางาน
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
20 พ.ค. 54 เวลา 22:07 4,141 1
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...