เตือนภัย!!! ธนบัตรปลอมรุ่นใหม่ "แบงค์ปลอมที่ทำมาจากแบงค์จริง"

มันมาอีกแล้ว หลังจากหายไปได้พักใหญ่
แน่นอนว่ากลับมาใหม่ครั้งนี้อัพเกรดขึ้นกว่าเดิม ชนิดดูผิวเผินนี่ยังไงก็ของจริงเลยทีเดียว
จะเนียนแค่ไหนเราลองมาดูกัน

เอ่อ...ถ้าไม่เขียนแบงค์ปลอมนี่ดูยังไงก็จริง ขนาดแถบฟอยล์ยังใช่เลย พลิกๆสีรุ้ง มีครุฑ  ]
 
แถมลองจับดูก็เป็นเนื้อธนบัตรแบบของจริง(ไม่ใช่เนื้อกระดาษทั่วไปแบบของปลอมกากๆ)
คราวนี้มาส่องไฟแบล็คไลท์เปรียบเทียบกับของจริงกัน ถ้าของปลอมปกติจะเรืองแสง

[เฮ้ย!! เหมือนเด๊ะๆอ่ะ แถมมีพรายน้ำเหมือนกันด้วย  !!]

แต่ถึงจะเนียนของปลอมก็คือของปลอม ยังไงก็ยังมีจุดสังเกตอยู่
ใช้ความช่างสังเกตกันนิด

ข้อสังเกตของแบงค์ปลอมรุ่นนี้ :-

 

 

:: รอยต่อ ::
มันคือรอยต่อของกระดาษ 4 ท่อน(บางรุ่น 3 ท่อน) โอ้ แม่เจ้า!!
อันนี้เนียนจริงอะไรจริง ถ้าไม่ยกส่องไฟแทบไม่สังเกตเลย
แถมกาวที่ใช้ต่อก็เป็นกาวชนิดพิเศษคุณภาพดี(ยังจะชม) ลูบแล้วไม่รู้สึกสะดุดเลยด้วยซ้ำ

:: สีของตัวเลข 1,000  ::
อันนี้ยังใช้วิธีดูแบงค์ 1,000 ปลอมได้ดีไม่ว่าจะรุ่นไหน (ถ้าปลอมแบงค์อื่นซวยไป -_-)
แบงค์ 1,000 จะเปลี่ยนสีเวลาเปลียนมุม ถ้ามองตรงๆจะเป็นสีทองแดง พลิกแล้วเป็นสีเขียว

อันนี้ของจริง

อันนี้ปลอม สีจะไม่เปลี่ยน

:: ลายน้ำ ::

ดูเผินๆแล้วพระพักตร์ก็ชัดเจน ลายดอกไม้ก็โปร่งใสตามแบบฉบับของแบงค์จริงชัดๆ
แต่มีใครเคยสังเกตพระพักตร์ กับลายน้ำรูปดอกไม้ที่แบงค์กันมั่งไหม?
ถ้ายังนึกไม่ออก นี่คือตัวอย่างลายน้ำของแต่ละแบงค์แต่ละราคา

 
คุ้นๆกันรึยัง?

...
..
.

ใช่แล้ว! (ถ้าไม่คุ้นก็เออออหน่อย เฉลยแล้วค่อยกลับขึ้นไปดู ฮา)

มันคือลายน้ำของแบงค์ 20 !!

นี่เป็นสาเหตุหลักเลยว่าทำไมแบงค์ปลอมอันนี้มันถึงเหมือนแบงค์จริงมากๆ
เนื้อกระดาษก็เป็นเนื้อธนบัตร ส่องแล้วมีพรายน้ำ

เพราะมันคือ"แบงค์ปลอมที่ทำมาจากแบงค์จริง"

เป็นการตัดต่อกันระหว่างแบงค์ 1,000 จริงๆ กับ แบงค์ 20 ที่ถูกฟอกและพิมพ์ใหม่ให้เป็นแบงค์ 1,000
ใบนี้มีส่วนที่เป็นแบงค์ 1,000 จริงๆ คือแถบฟอยล์สีรุ้งเท่านั้น นอกนั้น 20
(ถ้าไม่ทันสังเกตลองย้อนกลับไปดูรูปแรก หมายเลขแบงค์ยังเป็นเลขเดียวกันเลย
จริงๆ 2 ใบนี้ได้มาจากต่างที่นะ แต่สงสัยจะมาจากแหล่งเดียวกัน)

แทบจะยอมมันเลย ความพยายามและความสามารถคุณสูงมากกกกกกก
มากจนเอาไปทำอย่างอื่นที่มันสร้างสรรค์กว่านี้จะไม่ดีกว่าเหรอ(วะ) !?!

แถม : อันนี้ด้านหลังไม่ค่อยเนียน สังเกตง่ายนิดนึง (ความเนียนขึ้นอยู่กับฝีมือคนทำแต่ละใบ)
แถบสีเงินก็ใช้ปากกาสีเงินเขียนเอาหน้าด้านๆแบบนี้ล่ะ

ps. จริงๆแบงค์ 20 กลายสภาพมาเป็นแบงค์ได้ทุกราคานะ แต่พอดีไม่มีตัวอย่าง
 
*EDIT*

Q : แบงค์ปลอมที่ตัดต่อมาจากแบงค์จริง เท่ากับว่ามันต้องเสียแบงค์พันจริงๆ1 ใบ แบงค์ยี่สิบ 3 ใบทีื่ต้องลงทุนฟอกสี รวมแล้ว 1060 บาท เพื่อแบงค์ 1ใบ มูลค่า 1000 บาท  ตกลงมันลำบากปลอมเพื่ออะไร?
 
A : จริงๆแล้วแบงค์ 1,000 ไม่เสียค่ะ ถ้าไม่ไปตัดต่อให้ปวดหัวกันอีก(คราวนี้ด้านขวาจะจริง ด้านแถบฟอยล์จะปลอม แต่ปลอมแถบฟอยล์ยังทำให้เนียนกันไม่ได้ เห็นก็รู้แล้วว่าปลอม) แบงค์ขาด/ชำรุดสามารถนำไปแลกได้ ในกรณีที่ขาด 3/5 ส่วนแลกได้เต็มราคาด้วย พูดง่ายๆ ถ้าฉีกแค่แถบฟอยด์ออกมาปลอมแบบนี้ แบงค์ส่วนที่เหลือแลกที่ธนาคารได้เต็มราคา (ถ้าเหลือแค่ครึ่งท่อนก็แลกได้ครึ่งราคา)
เครดิต www.postjung โดย บาส

 

#bank
moonajaa
Make-up Artist
20 พ.ค. 54 เวลา 15:21 9,510 4 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...