"ผักพ่อค้าตีเมีย"...ผักพื้นบ้าน ชื่อสุดฮา..

" ผักพ่อค้าตีเมีย "

ผักเมืองเหนือ ชื่อสุดฮา 555

พ่อค้าตีเมีย” มีตำนานเล่าขานกันว่า ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าเดินผ่านไปในป่า เห็นยอด "พ่อค้าตีเมีย" จึงนำมาลวกจิ้มน้ำพริกกิน กินแล้วอร่อยมาก จึงแย่งกับเมียตัวเอง สุดท้ายถึงขั้นลงไม้ลงมือทุบตีเมีย ชาวบ้านจึงเรียกว่า "พ่อค้าตีเมีย" พ่อค้าตีเมียมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นได้แก่ ทางภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอนและแพร่ เรียก พ่อค้าตีเมีย  ทางภาคกลางเรียก เฟิร์นแผง กนกนารี หญ้ารังไก่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สิลาจิเนลล่า อาร์เจนที หรือ สิลาจิเนลล่า สปีชี (Selaginella argentea(Wall.ex.Hook. & Grevk) Spriny หรือ Selaginella spp.) จัดอยู่ในวงศ์ สิลาจิเนลล่าซีอี้ (SELAGINELLACEAE)

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพ่อค้าตีเมีย พ่อค้าตีเมีย จัดเป็นไม้กึ่งล้มลุกกึ่งคลุมดินประเภทเฟิร์น มีความสูงประมาณ 30-45 ซม. พบทั่วไปในป่าผลัดใบผสม ป่าเต็งรัง พบได้ทุกภาคของประเทศ ขึ้นบริเวณที่มีความชื้นสูง ต้นน้ำและริมลำธาร เป็นไม้ที่ในช่วงฤดูแล้งต้นจะแห้งเฉา และงอกลำต้นใหม่ในฤดูฝน ในยามที่ต้นยังไม่เจริญเต็มที่ช่วงต้นฤดูฝน ชาวบ้านจะเก็บต้นอ่อนมารับประทานเป็นผัก มีลำต้นเป็นเหง้าไหลทอดไปกับพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดตั้งขึ้น และมักแตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ แผ่กระจายในระนาบเดียว ใบ เป็นใบประกอบสีเขียว รูปทรงยาวและหนา ดูสวยงามคล้ายกับใบเฟิร์นเขากวางแต่จะมีใบประกอบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ใบมีความยาวราว 30-40 ซม. ใบคลี่แผ่ออกเป็นแผ่นกว้าง มีใบอ่อนม้วนและงอ ออกเป็นเกลียววนรอบลำต้น ก้านใบมีขน หลังใบมีสปอร์อยู่หลังขนาดเล็กและเบามาก มี 2 ชนิดอยู่รวมกันในซอกใบ ซึ่งสปอร์ 2 ชนิดนี้ จัดเรียง 4 แถว ติดอยู่ที่แกนของใบ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ ขยายพันธุ์โดยการแยกต้นอ่อน จึงนิยมใช้ต้นอ่อนที่เจริญออกมาจากต้นแม่ เช่นเดียวกับผักกูด ส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมเก็บจากแหล่งธรรมชาติ

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วน ที่กินได้ของผักพ่อค้าตีเมียคือ บริเวณยอดอ่อนที่อยู่ในระยะม้วนงอ พบมากในต้นฤดูฝน นำมาแกงกับปลา หรือใช้เป็นผักรวมสำหรับแกงแค ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้ความหวานและกรุบแปลกไปอีกแบบ ปัจจุบันผักพื้นบ้านหากินยากขึ้นทุกวัน เพราะพื้นที่ป่าถูกทำลายและอีกอย่างความรู้เรื่องผักพื้นบ้านก็ยิ่งลดน้อยลง ไป คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักหน้าตาของผักทำให้ผักพื้นบ้านถูกหลงลืมไป ต้นอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผัก ต้นอ่อนจะออกในช่วงฤดูฝน ราวเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
มีเรื่องเล่าจากผักพื้นบ้านสนุกๆ ถึงที่มาที่ไปของผักชนิดหนึ่งใน "แกงแค" ซึ่งเป็นอาหารของชาวเหนือ โดยนำยอดอ่อนมาใส่ในแกงแค หรือแกงอ่อมก็นิยมใส่ผักชนิดนี้ลงไป ซึ่งคุณสมบัติของผัก "พ่อค้าตีเมีย" แปลกกว่าผักอื่นคือ แม้จะนำไปใส่ในแกงยังมีรสกรอบอร่อย จนเป็นเรื่องเล่าต่อมาว่า พ่อค้าไม่รู้จักคุณสมบัติเฉพาะตัวของผักชนิดนี้ จึงทุบตีเมียตัวเองหาว่า ทำกับข้าวกับปลาไม่เป็น เพียงแค่ต้มแกงผักยังทำได้ไม่นุ่ม ผักชนิดนี้จึงได้ชื่อใหม่ว่า "พ่อค้าตีเมีย"

คุณสมบัติของพ่อค้าตีเมียอีกประเภทหนึ่งคือ สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อย่างสบาย เพราะมีใบสวยงามมาก

ประโยชน์ในการเป็นพืชสมุนไพร
จากรายงาน ผลการวิจัยพบว่า พ่อค้าตีเมียจัดเป็นผักพื้นบ้านประเภทหนึ่งซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีสรรพคุณในการลด หรือยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็งได้ดี








ส่วนอันนี้...ผักลืมผัว (น่าเอาไปแกงรวมหม้อเดียวกัน เนอะ ว่ามั้ย 5555 )



       ขอบคุณข้อมูลจากhttp://natres.psu.ac.th/

18 พ.ค. 54 เวลา 17:54 14,709 7 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...