พายุฤดูร้อน (Thunderstorms)

         พายุฟ้าคะนองที่ เกิดขึ้นในฤดูร้อน หรือ เรียกว่า พายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน หรือ ใน

ช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่างๆ เริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวง

อาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทําให้อากาศร้อนอบอ้าว และชื้นในภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนบนของภาคกลาง อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่

พัดเข้าสู่ประเทศไทย เป็นลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้า

มีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนคราวใด จะทําให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทําให้การ

หมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรง และ

รวดเร็ว มีฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และ ฟ้าผ่า รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ มักจะมีลมกระโชกแรง

และฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้ เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น

มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง

          โดยทั่วไป พายุฤดูร้อนนี้มักเกิดขึ้นในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากการแผ่ลิ่มของ

ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนลงมาบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น ในขณะที่

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนและชื้น มีการยกตัวของมวลอากาศอยู่บ้างแล้ว แต่เมื่อมีอากาศเย็น

จากบริเวณความกดอากาศสูง ซึ่งมีลักษณะจมตัวลงและมีอุณหภูมิต่ำกว่า ทําให้มวลอากาศร้อนยกตัวขึ้น

อย่างรวดเร็ว และเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่ก่อตัวขึ้นก็จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิ

ยอดเมฆต่ำกว่า -60 ถึง 80 องศาเซลเซียส จึงทําให้เกิดลูกเห็บตกได้


สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดพายุฤดูร้อน

1.   ในขณะปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง หากอยู่ใกล้อาคาร หรือ บ้านเรือนที่แข็งแรง และปลอดภัยจากน้ำท่วม  

       ควรอยู่แต่ภายในอาคาร จนกว่าพายุฝนฟ้าคะนองจะยุติลง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก

2.   การอยู่ในรถยนต์ จะเป็นวิธีการที่ปลอดภัยวิธีหนึ่ง แต่ควรจอดรถให้อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่น้ำอาจท่วม

3.   อยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นน้ำ ขึ้นจากเรือ ออกห่างจากชายหาด เมื่อปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง เพื่อหลีก  

      เลี่ยงอันตรายจากน้ำท่วม และฟ้าผ่า

4.   ในกรณีที่อยู่ในป่า ในทุ่งราบ หรือในที่โล่ง ควรคุกเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า แต?ไม่ควรนอนราบกับพื้น

      เนื่องจากพื้นเปียกเป็นสื่อไฟฟ้า และไม่ควรอยู่ในที่ต่ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ ไม่ควรอยู่ในที่ 

      โดด    เดี่ยวหรืออยู่สูงกว่าสภาพสิ่งแวดล้อม

5.   ออกให้ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ ท่อน้ำ แนวรั้วบ้าน รถแทรกเตอร์

       จักรยานยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ทําสวนทุกชนิด รางรถไฟ ต้นไม้สูง ต้นไม้โดดเดี่ยวในที่แจ้ง

6.   ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ฯลฯ และควรงดใช้โทรศัพท์ชั่วคราว นอกจากกรณีฉุกเฉิน

7.   ไม่ควรใส่เครื่องประดับโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ฯลฯ ในที่แจ้ง หรือ ถือวัตถุโลหะ เช่น ร่ม ฯลฯ

     ในขณะปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง นอกจากนี้ ควรดูแลสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง และปลอดภัย

      อยู่เสมอ โดยเฉพาะสิ่งของที่อาจจะหักโค่นได้ เช่น หลังคาบ้าน ต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า เป็น



 

 

 

 

ที่มา www.thaisnews.com


Credit: http://guru.sanook.com
17 พ.ค. 54 เวลา 15:13 5,505 2 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...