สังคมออฟไลน์ คุณค่าแห่งความพอดี ในวิถีไทย

“สังคมออฟไลน์” คุณค่าแห่งความพอดี ในวิถีไทย
สื่อชุมชน(วารสาร ปตท.) (8,893 views) first post: Fri 13 May 2011 last update: Fri 13 May 2011
ยุคที่หลายคนผูกติด ชีวิตไว้กับเครื่องมือสื่อสารที่เรียกกันว่า สังคม ออนไลน์ บนอินเตอร์เน็ต ขณะที่โลกแห่งความจริงรอบๆ ตัวเรากลับเลือนหายไปในห้วงเวลาเดียวกัน

 

หน้าที่ 1 - “สังคม ออฟไลน์” คุณค่าแห่งความพอดี ในวิถีไทย
 

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างวารสาร สื่อชุมชน และวิชาการดอทคอม
www.pttplc.com 


           เมื่อ ช่วงเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะได้ผ่านหูผ่านตากับภาพยนตร์โฆษณาของค่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่ง ทางโทรทัศน์ ซึ่งภาพและเนื้อหาได้สะท้อนถึงไลฟ์สไตล์หรือวิถีชีวิตของพวกเราในยุคนี้ ยุคที่หลายคนผูกติดชีวิตไว้กับเครื่องมือสื่อสารที่เรียกกันว่า “สมาร์ทโฟน” หรือโทรศัพท์มือถือที่ถูกพัฒนาให้มีระบบการทำงานและมีสีสันของลูกเล่นต่างๆ ที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ทั้งเป็นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพ เล่นเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง และอีกสารพัดซึ่งเป็นช่องทางที่พาเราเข้าไปสู่ “สังคม ออนไลน์” บนอินเตอร์เน็ต ได้ราวกับโลกส่วนตัวใบใหญ่ที่ไร้ขีดจำกัด ขณะที่โลกแห่งความจริงรอบๆ ตัวเรากลับเลือนหายไปในห้วงเวลาเดียวกัน พูดให้ชัดขึ้นก็คือ บรรดาเยาวชนและวัยรุ่นทั้งหลาย รวมถึงหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่ทุกวันนี้มักจะเข้าไปเล่นแช็ตพูดคุยกับเพื่อน เล่นเกม หรือเช็คข้อมูลหรือติดต่อธุรกิจวันละหลายชั่วโมง หรือแทบจะทันทีที่มีเวลาว่าง

 

 

           ที่พูดถึงภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ เพราะถือเป็น “Viral Ad” แห่งปี 2553 หรือโฆษณาที่ฮือฮาและบอกกันปากต่อมากที่สุด พร้อมส่งกระจายต่อๆ กันไปในเครือข่ายสังคม ออนไลน์ อย่างรวดเร็วมาก ทั้งทางบีบี เฟชบุ๊ค และทวิตเตอร์ ยูทูบ ต่อเนื่องไปถึงเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต จนกลายเป็นคลิปโฆษณาที่มีผู้ชมทั่วโลกกว่า 160 ประเทศ ถูกแปลต่อๆ ไปในหลายภาษา และมีผู้เข้าชมกันมากกว่า 1 ล้านครั้งเพียงสัปดาห์เศษ คือก่อนที่ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้จะออกอากาศจริงช่วงกลางเดือนตุลาคมด้วยซ้ำ

           ความสำเร็จแบบถล่มทลายเกินคาดหมายของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ มีหัวใจสำคัญแห่งความสำเร็จ นอกเหนือจากพลังและอิทธิพลของกระแสสื่อ “สังคม ออนไลน์” นั่นคือการกระทบใจสังคมไทยอย่างตรงประเด็นที่สุด โดยเฉพาะ “ความไม่พอดี” ในการใช้เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยี ซึ่งทุกวันนี้เราคงยอมรับกันว่าภาพในโฆษณาชุดนี้เกิดขึ้นจริงรอบๆ ตัวเรา คือความจริงที่น่าเศร้า เพราะยิ่งเราใช้เทคโนโลยีสื่อสารกันมากขึ้น แต่เหมือนเราและคนรอบตัวจะยิ่งอยู่ห่างไกลกันออกไปทุกที โดยเมื่อไม่นานมานี้มีผลสำรวจ พบว่ากลุ่มคนอายุ 18-24 ปีใช้เวลากับสมาร์ทโฟนมากที่สุด ส่วนใหญ่จะอยู่ติดมือตลอด และจะใช้ทันทีเมื่อมีเวลาว่าง แต่ที่น่ากังวลใจคือ เด็กนักเรียนประถมฯ สมัยนี้ก็ใช้บีบีกันแล้ว เพราะถ้าไม่มีจะรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกและดูด้อยกว่าคนอื่น ขณะเดียวกับที่เด็กๆ หรือเยาวชนวัยรุ่นส่วนใหญ่ก็ผูกติดชีวิตอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์สนุกสนาน กับกลุ่มเพื่อนๆ มากมายในโลกเสมือนจริงแต่กลับไม่ค่อยได้พูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่อบอุ่น กับพ่อแม่ที่อยู่ด้วยกันทุกวัน และที่อันตรายที่สุดก็คือการใช้ “สังคม ออนไลน์” ในทางที่ผิด ซึ่งพระมหาวุฒิชัย หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้เคยให้ข้อคิดไว้ว่า “เทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษผู้ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงด้วยภูมิปัญญาชั้น ต่ำ จะนำมาซึ่งปัญหาต่อตนเองและผู้อื่น”

 

 

           อีกไม่กี่วันข้างหน้าก็ใกล้จะถึงปีใหม่แล้ว ถ้าเราลองหันมาปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ให้ดีขึ้น พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ในโลกแห่งความจริงใบนี้อย่างมีสีสันมากขึ้น ใส่ใจต่อสิ่งมีชีวิตรอบข้างอย่างพอดีและมีความสุข ร่วมหยิบยื่นและมอบโอกาสที่ดีๆ ให้กับผู้อื่นรอบตัวเรา ก็น่าจะเป็นอีกจุดเริ่มต้นที่ดีและมีความหมายสำหรับปีใหม่นี้ และนั่นคือคุณค่าที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ใน “สังคม ออฟไลน์” อย่างที่คนไทยเราเคยดำรงอยู่กันมาช้านานอย่างมีความสุข ยิ้มแย้มพูดคุยด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อกันทักทายไถ่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและ กัน อาจมีของขวัญของฝากเล็กๆน้อยๆ มอบเป็นสินน้ำใจให้แก่กันตามโอกาสอันควร ถือเป็นการสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ดี ซึ่งความปรารถนาดีนี้ยังสามารถเผื่อแผ่ไปยังบุคคลต่างๆ รอบข้างได้อย่างไม่จำกัด ทั้งในหมู่ญาติพี่น้อง คุณครูของลูกๆ รปภ. ประจำหมู่บ้าน ตำรวจจราจรแถวที่ทำงานและแม้กระทั่งเพื่อนบ้านของเราเอง

           เชื่อ เถอะว่า “สังคม ออฟไลน์” คือโลกแห่งความจริงหลากสีสันหลายด้าน หลายแง่มุม ที่รอให้เราเข้าไปสัมผัส เรียนรู้ และอยู่อย่างเอื้ออาทรต่อกัน อยู่อย่างพอดีและมีสติ เป็นชีวิตที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม เพราะในที่สุดแล้วคงไม่มีใครอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายในโลกใบนี้โดยไม่มี สังคมได้ ที่สำคัญ “สังคม ออฟไลน์” จะปิดเครือข่ายลงก็ต่อเมื่อเราเป็นฝ่ายเลือกที่จะปิดสวิทช์แล้วเดินจากไปเอง



 

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง
Credit: วิชาการดอดคอม
#สังคมออฟไลน์
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
17 พ.ค. 54 เวลา 06:27 1,370 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...