ผู้ที่ท่องเฟสบุ๊คเป็นชีวิตจิตใจ รวมถึงผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกแต่มีลูกหลานเล่นสื่อสังคมออนไลน์
ชนิดนี้กรุณา เข้ามาอ่านอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากเฟสบุ๊คจะช่วยสร้างความบันเทิง เสริมสร้าง
มิตรภาพ หรืออัพเดตความรู้ให้กับผู้ที่อยู่ในเครือข่ายแล้ว ผลงานวิจัยล่าสุดยังพบว่าช่องทาง
ออนไลน์นี้ยังเป็นอันตรายต่อสมาชิกของเครือ ข่ายโดยเฉพาะสมาชิกวัยเด็ก
องค์กรไม่หวังผลกำไรของสหภาพผู้บริโภคที่มีชื่อว่า Consumer Reports ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการ
ใช้เฟสบุ๊คและเผยเมื่อไม่นานที่ผ่านมาว่า ในปีที่แล้วมีเยาวชนเล่นเฟสบุ๊คประมาณ 20 ล้านคน ซึ่งเป็นเด็กที่
อายุต่ำกว่า 13 ปีถึง 7.5 ล้านคน และมีเด็กถึง 1 ล้านคนในกลุ่มนั้นโดนคุกคามผ่านช่องทางออนไลน์ดังกล่าว
สมาชิกรุ่นเยาว์ของเฟสบุ๊คจำนวนกว่า 5 ล้านคนมีอายุเพียง 10 ปี หรือน้อยกว่า ซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาได้ถูก
ปล่อยให้ท่องในสังคมออนไลน์นี้อย่างอิสระปราศจาก การควบคุมดูแลจากผู้ปกครอง ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อ
ภัยคุกคามหลากหลายประเภทตั้งแต่มัลแวร์ การโดนขโมยหมายเลขประจำตัวประชาชน ไปจนถึงการกลาย
เป็นเหยื่อคุกคามทางเพศ
แม้ว่าการสมัครเป็นสมาชิกของเฟสบุ๊คจะมีเงื่อนไขว่าต้องมีอายุอย่างต่ำ 13 ปี แต่เด็กๆ หลายคนก็ใช้วิธี
หลีกเลี่ยงโดยการโกงอายุตัวเองผ่านการใส่ตัวเลขวันเกิดให้ พวกเขามีอายุมากขึ้นตอนสมัคร ในขณะที่พ่อ
แม่ส่วนใหญ่ของเด็กเหล่านั้นก็ “ดูละเลย” ในสิ่งที่ลูกตนทำ ซึ่งอาจเป็นเพราะบรรดาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย
เห็นว่าเด็กอายุน้อยตัวจ้อยร่อย แบบนี้น่าจะมีความเสี่ยงต่อภัยจากอินเตอร์เนทน้อยกว่าผู้ใหญ่
จริงอยู่ที่เด็กอายุ 10 ปี คงไม่ได้ดาวน์โหลดสื่อโป๊เปลือยต่างๆ จากเว็บไซต์ แต่พวกเขาก็ต้องการการ
ป้องกันจากภัยชนิดอื่นๆ บนโลกไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็นลิ้งก์ที่เชื่อมต่อกับมัลแวร์ หรือจะเป็นการส่งคำเชื้อ
เชิญจากคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งยังไม่ได้นับรวมภัยคุกคามอื่นๆ ที่อาจตามมา
งานวิจัยชิ้นนี้ได้สัมภาษณ์สมาชิกในครอบครัวในสหรัฐอเมริกาจำนวน 2,089 ครอบครัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
โดยพบว่าเมื่อปีที่แล้ว กว่า 5 ล้านครอบครัวได้รับการคุกคามผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค ทั้งการติดไวรัส การขโมย
เลขประจำตัวประชาชน และการระรานแบบอื่นๆ
นอกจากงานวิจัยจากองค์กร Consumer Reports แล้ว ยังมีงานศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนที่ผ่าน
มาได้ชี้ภัยจากการใช้ เฟสบุ๊คเช่นกัน งานศึกษาชิ้นนี้จัดทำโดย Richard Power จากศูนย์วิจัยความมั่นคง
แห่งโลกไซเบอร์ CyLab ของมหาวิทยาลัย Carnegie
Mellon โดยพบว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กชาวมะกันโดนหลอกขโมยหมายเลขประกันสังคมเพื่อนำไปใช้ใน
การ สมัครใบขับขี่และใช้ในการกู้เงินเพื่อซื้อสิ่งของต่างๆ เช่น รถหรือแม้กระทั่งบ้าน เขายังพบด้วยว่าจำนวน
การขโมยหมายเลขบัตรประชาชนในผู้ใช้วัยเด็กมีมากกว่าใน ผู้ใหญ่ถึง 51 เท่า
“ประสบการณ์ที่ได้จากการท่องโลกออนไลน์ได้เปลี่ยนชีวิตของเด็กๆ ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี มันเปิดโอกาส
ให้เด็กได้ค้นหาความเป็นไปของโลก ในทางกลับกัน หากใช้อย่างไม่ระวัง สังคมออนไลน์ก็จะทำให้โลกที่
เด็กกำลังค้นหาผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้นเข้าไป สำรวจชีวิตของเด็กได้เช่นกัน” Richard Power ผู้เชี่ยวชาญ
กล่าวเพิ่มเติม
งานวิจัยดังกล่าวยังพบว่าเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งได้ถูกแมวมองจอมปลอมล่อลวง ผ่านเฟสบุ๊คให้ถ่ายรูปวาบหวิว
ในชุดชั้นในเพื่อแลกกับคำสัญญาว่าเด็กกลุ่ม นั้นจะได้เป็นนางแบบโลดแล่นอยู่บทแคตวอร์ค
เมื่อผลวิจัยเผยภัยร้ายน่าสะพรึงกลัวมากมายขนาดนี้ องค์กร Consumer Reports จึงรีบออกมาเรียกร้อง
ให้เหล่าผู้ปกครองและเฟสบุ๊คช่วยกันยกเลิกบัญชีผู้ใช้ (Account) ของนักท่องเน็ทวัยเยาว์ที่ยังอายุยังไม่
ถึงวัยรุ่น หรือให้เวบไซต์เฟสบุ๊คลบบัญผู้ใช้เหล่านั้นทิ้งไปโดยสร้างข้อความให้คุณพ่อ คุณแม่ของเด็กเลือก
ว่า "รายงานผู้ใช้ที่ยังอายุไม่ถึง" (report an underage child) รวมไปถึงการเสนอที่ให้ผู้ปกครองจับตา
ดูแลความเคลื่อนไหวของคุณลูกๆ อย่างใกล้ชิดโดยการเป็นเพื่อนกับลูกในเฟสบุ๊คหรือจะผ่านเฟสบุ๊คของพี่
น้อง หรือเพื่อนของลูกๆ
นอกจากนี้องค์กรนี้ยังเรียกร้องให้สื่อออนไลน์ชื่อดังให้วางระบบกลั่นกรอง การลงทะเบียนเป็นสมาชิกให้
เข้มงวดมากขึ้นเพื่อลด จำนวนสมาชิกวัยจิ๋วซึ่งมีอายุต่ำกว่าเกณฑ์
อย่างไรก็ตาม Andrew Noyes ผู้แทนจากเฟสบุ๊คได้ส่งข้อความถึงสำนักข่าวต่างประเทศ Agence
France-Presse หรือ AFP ว่า สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเพียงต้องการสนับสนุนการสื่อสารผ่านการใช้
อินเตอร์ เน็ตระหว่างผู้ปกครองกับเด็กๆ
ส่วนเรื่องภัยร้ายแรงที่อาจมากับเฟสบุ๊คนั้น เขาเห็นว่า ในเมื่อผู้ปกครองมักสอนลูกและเตือนลูกเสมอในเรื่อง
การข้ามถนนให้ ปลอดภัย พวกเขาก็ควรสอนเด็กๆ ในเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยด้วย ซึ่งเป็นอีก
หนึ่งบทเรียนที่สำคัญเช่นกัน
Noyes ยังเน้นว่า “การวางระบบการควบคุมอายุของผู้สมัครนั้นเป็นเรื่องยาก และก็ไม่ได้มีเพียงหนทางเดียว
ที่จะรับรองว่าเด็กๆ ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์จะไม่หลีกเลี่ยงหรือโกงอายุของตัวเอง
ที่มา: AFP