ความรัก 6 ประเภท

1. ความรักแบบเสน่หา (Eros)

ความรักเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต แม้จะไม่มากพอที่จะทำลายตนเอง หรือรู้สึกถูกใจอีกฝ่ายตั้งแต่แรกเห็น คล้ายรักแรกพบ ความดึงดูดใจซึ่งกันและกัน การแสดงออกมาทั้งคำพูดและการแสดงความใกล้ชิด อยากเจอกันทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ วาดฝันเกี่ยวกับอีกฝ่ายไว้งดงาม และไม่ได้คาดการณ์ถึงอุปสรรคใดๆ

คู่รักประเภทนี้พยายามพัฒนาสัมพันธภาพกับคู่ของตนอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดเผย ซื่อสัตย์ และจริงใจ ใส่ใจคู่รักมากเป็นพิเศษ แต่ไม่แสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของหรือกลัวว่าจะมีคู่แข่ง


2. ความรักแบบไม่ผูกมัด (Ludus)

ความรักเป็นเกมชนิดหนึ่ง เพื่อความบันเทิงของทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงการผูกมัด สามารถผลัดเปลี่ยนคู่ไปได้เรื่อยๆ พยายามที่จะไม่สร้างความผูกพันทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งกับใคร เพื่อรักษาความเป็นอิสระของตน ถึงแม้จะไม่ต้องการทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวด แต่การโกหกและความไม่จริงใจถือว่าเป็นการเล่นตามกติกาที่มี

ความรักแบบนี้จะไม่หึงหวง หรือแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ และอาจเห็นชอบให้คู่ของตนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์ของตน


3. ความรักแบบมิตรภาพ (Storge)

ความรักพัฒนามาจากมิตรภาพ เป็นความรู้สึกรักใคร่อันเนื่องมาจากการคบหากันมาเป็นเวลานาน ไม่ได้มีความ รู้สึกตื่นเต้น เร่าร้อน แต่เน้นการกระทำที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันและมีกิจกรรมร่วมกัน ความรักเป็นสิ่งที่มั่นคง ที่ผนวกเข้าไปกับการดำรงชีวิตตามปกติ


4. ความรักแบบลุ่มหลง (Mania)

ผู้ที่มีความรักแบบนี้จะใฝ่หาความรัก แต่เชื่อว่าความรักเป็นความเจ็บปวด ปรารถนาความใกล้ชิดและต้องการความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ต้องการให้คู่รักของตนแสดงความรักมากกว่าปกติ เมื่อใดที่คู่รักไม่ได้แสดงความใส่ใจ หรือไม่แสดงความรักตามที่ปรารถนา อาจจะทำร้ายตนเอง เพื่อเอาชนะความรัก คู่รักประเภทนี้เชื่อว่า เมื่อปราศจากความรักจากอีกฝ่าย ชีวิตก็ไม่มีคุณค่าอีกต่อไป


5. ความรักแบบมีเหตุผล (Pragma)

เป็นความรักที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง ผู้ที่มีความรักแบบนี้จะแสวงหาคู่ที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด เชื่อว่าความสัมพันธ์จะราบรื่นก็ต่อเมื่อคู่รักสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของกันและกัน ได้แสวงหาคนที่มีลักษณะคล้ายตนหรือต่างจากตน แต่ช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาด การเลือกคู่จะมีลักษณะคล้ายรักเผื่อเลือก ทั้งนี้ก็เพราะคาดหวังสัมพันธภาพที่ยั่งยืน


6. ความรักแบบเสียสละ (Agape)

เป็นความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ต้องการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ มีความห่วงใย และคำนึงถึงความสุขของคู่รักเป็นสำคัญ โดยไม่ใส่ใจกับความต้องการของตนเอง "การให้" เป็นปัจจัยสำคัญของความรักแบบนี้ นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาพบว่า ในชีวิตจริงคู่สมรสจะมีรูปแบบความรักที่คล้ายคลึงกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคู่ที่มีความสัมพันธ์ยาวนานกับคู่ที่เลิกราไป พบว่าประเภทแรกจะมีความรักแบบเสน่หาสูงกว่า และมีความรักแบบไม่ผูกมัดต่ำกว่าประเภทหลัง รูปแบบของความรักอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และลักษณะของบุคคลที่เรามีความสัมพันธ์ด้วย


14 พ.ค. 54 เวลา 02:33 1,210 4 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...