10 ดีไซน์เกษตรกรรมแนวตั้ง ความหวังใหม่ของคนเมือง

 

10 ดีไซน์เกษตรกรรมแนวตั้ง ความหวังใหม่ของคนเมือง

มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ร้อยละ 80 ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในตัวเมือง จำนวน

ผู้คนที่เพิ่มขึ้น และการสูญเสียพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองที่เคยมีอยู่อย่างเล็กน้อยนั้น ทำให้หลาย ๆ

ประเทศเริ่มมองหาการทำเกษตรกรรมในเมืองเพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชาชน แต่สภาพ

แวดล้อมในเมืองนั้นไม่ได้มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้นหนทางที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็คือการ

สร้างมันขึ้นมา เกษตรกรรมแนวตั้งจึงกลายมาเป็นทางออกที่เหมาะสมซึ่งนอกจากจะทำให้ทิวทัศน์

ในเมืองดูดีมีชีวิตชีวามากขึ้นแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่นให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย

ตึกกระบองเพชร


ลองจินตนาการดูสิว่าจะดีแค่ไหนหากคุณอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์หรือคอนโดแต่ยังสามารถมีสวน

ผักเขียวขจีอยู่บนระเบียงอันกว้างขวาง ด้วยการออกแบบชั้นของตึกที่ลดหลั่นสลับกันไปมานี้

ทำให้ผู้พักอาศัยมีพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งเป็นของตัวเอง ลบภาพลักษณ์เก่า ๆ เรื่องพื้นที่อันจำกัด

และการห่างไกลจากธรรมชาติ เพราะตึกดีไซน์กระบองเพชรนี้จะช่วยให้เรามีโอกาสเฝ้ามองการ

เจริญเติบโตของพืชอาหารที่บ้านของเราเอง

ตึกแมลงปอ

Brillian Belgian ออกแบบตึกสีเขียวนี้โดยได้แนวคิดมาจากปีกของแมลงปอ เสมือนประหนึ่งว่า

เจ้าแมลงปอปีกเขียวนี้โบยบินจากท้องฟ้าลงมาสู่ รูสเวลท์ ไอส์แลนด์ นิวยอร์ก เพื่อช่วยแก้ปัญหา

ช่องว่างด้านระยะทางระหว่างอาหารและผู้บริโภค โดยตึกแมลงปอนี้มี 132 ชั้น ซึ่งประกอบไปด้วย

พื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ได้แก่ แปลงผัก สวนผลไม้ ฟาร์มปศุสัตว์ ฟาร์มโคนม และไร่ธัญพืช

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับห้องวิจัย สำนักงาน หรือแม้กระทั่งที่พักอาศัยอีกด้วย

ฟาร์มพีระมิด

หลังจากเกิดการเคลื่อนไหวเรื่องการสนับสนุนให้ทานอาหารในท้องถิ่น และเมื่อผู้บริโภคหันมาให้

ความสำคัญกับอาหารที่สดใหม่และอาหารออร์แกนิกมากขึ้น ทำให้สถาปนิกต่าง ๆ ทุ่มเทกับการ

ออกแบบอาคารเกษตรกรรมแนวตั้งในเมืองอย่างจริงจัง รวมถึงฟาร์มพีระมิดที่ออกแบบโดย

Dickson Despommier และ Eric Ellison นี้ก็สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจาก

ภายในพีระมิดนั้นมีการทำการเกษตรแบบครบวงจร อีกทั้งยังผลิตพลังงานภายในสำหรับใช้กับ

เครื่องจักรต่าง ๆ ด้วย

โดมกระจก แพลนตากอน

ภายในศตวรรษนี้ประชากรโลกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมือง และพื้นที่ทางการเกษตรที่เคยมีอยู่ก็

จะค่อย ๆ ลดน้อยลงไป แพลนตากอน(Plantagon) จึงเป็นอีกหนึ่งงานออกแบบของสถาปนิกที่

สร้างขึ้นมารับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยแพลนตากอนนี้อยู่ภายในตึกกระจกทรงกลม ซึ่ง

ประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมบนเกลียวขนาดใหญ่ ออกแบบโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างสวีเดน

และสหรัฐอเมริกา

Harvest ตึกแห่งการเก็บเกี่ยว

ผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัลจากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ชิ้นนี้ ใช้ชื่อว่า "Harvest"

โดยตั้งใจสื่อให้เห็นอย่างตรงไปตรงมาว่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นจะเป็นแหล่งเจริญเติบโตของผัก ผล

ไม้ สมุนไพร ปลา ไก่ไข่ หรือแม้กระทั่งแกะ และแพะที่สามารถให้ผลิตภัณฑ์จากนมได้ โดย

ภายในอาคารจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานใต้พิภพ และพลังงานลม นอกจากนั้นยังมี

ซุปเปอร์มาร์เก็ตสำหรับจำหน่ายสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม

รวมถึงพื้นที่อยู่อาศัยอีกด้วย

สะพานลอนดอนโฉมใหม่

เชื่อหรือไม่ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการแปลงโฉมสะพานลอนดอน(London Bridge)ในอนาคตนั้นที่จริง

แล้วได้แรงบันดาลใจมาจากอดีต เนื่องจากในอดีตสะพานแห่งนี้เป็นที่พบปะค้าขายระหว่างพ่อค้า

และประชาชน ปัจจุบันเป็นแหล่งของนักแสดงเปิดหมวก และมักสร้างความสับสนให้แก่นักท่อง

เที่ยวที่กำลังมองหาสะพานทาวเวอร์ บริดจ์(Tower Bridge) แต่เมื่อสถาบันสถาปนิกของ

อังกฤษ(the Royal Institute for British Architects) ต้องการเห็นว่าสถาปนิกต่าง ๆ สามารถใส่

จินตนาการอะไรลงไปในสะพานลอนดอนได้บ้าง จึงได้ผลงานชนะเลิศออกมาเป็นฟาร์มออร์แก

นิกแนวตั้งขนาดใหญ่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีกังหันลม และเป็นศูนย์กลางการค้าของตลาดสด

นอกจากนั้นด้วยทำเลที่ติดกับท่าเรือยังส่งผลให้สามารถดำเนินการค้าทางน้ำได้อีกด้วย

ฟาร์มแนวตั้งในดูไบ

ประเทศดูไบขึ้นชื่อในเรื่องการสร้างอาคารที่ประณีตสวยงาม รวมถึงแนวคิดอาคารสีเขียวแห่งนี้ที่

แต่ละชั้นมีลักษณะกลมแบน ดูทันสมัย โดยพืชที่ปลูกจะได้รับความชื้นผ่านน้ำทะเลที่ถูกส่งผ่าน

ขึ้นไปตามแกนตรงกลาง

ฟาร์มลอยตัว โดย Work AC

ฟาร์มแนวตั้งชิ้นนี้เกิดจากการประกวดดีไซน์บนถนน Canal Street ของ New York Magazine

โดยบริษัท Work AC ได้ออกแบบให้แตกต่างกับฟาร์มแนวตั้งทั่ว ๆ ไป เนื่องจากไม่มีส่วนหนึ่ง

ส่วนใดยึดติดกับตัวอาคาร ตัวโครงสร้างตั้งได้โดยอิสระ มีเพียงเสาค้ำยันไว้เท่านั้น พื้นที่ด้านล่าง

สุดภายใต้ฟาร์มต่าง ๆ นั้น ได้รับการจัดสรรให้เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรที่ปลูกอยู่ด้านบน

นั่นเอง

ตึกหุ่นยนต์

แนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงส่งผลให้หลาย ๆ โครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการต้องหยุด

ชะงักลง เนื่องจากไม่มีเงินมากพอที่จะทำต่อให้เสร็จ มีอยู่ไม่น้อยที่เพิ่งมีเพียงโครงร่างของตึก

เท่านั้น บริษัทสถาปนิกเมืองบอสตัน Howeler and Yoon จึงตัดสินใจที่จะนำโครงร่างซากตึก

เหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ด้วยการติดตั้ง Eco-Pods หรือแคปซูลฟาร์มสาหร่ายซึ่งสามารถ

ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ โดยจะมีแขนกลทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนแต่ละ Pod เพื่อให้มั่นใจได้

ว่าสาหร่ายที่ปลูกจะได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง

ตึกเก่าก็เขียวได้

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกคัดค้านการสร้างฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่ในเมืองก็คือเรื่องของค่า

ใช้จ่ายในการก่อสร้าง Daekwon Park จึงเกิดแนวคิดในการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างตึกระฟ้าต่าง ๆ

มาทำให้เขียวขึ้น ด้วยการทำโครงสร้างฟาร์มแนวตั้งขึ้นมาติดบนผนังตึกด้านนอก

 

แม้ว่าในบางแนวคิดนั้นจะยังดูห่างไกลจากความเป็นจริงไปมาก แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรา

ได้เห็นถึงไอเดียที่หลากหลายของการทำเกษตรในเมือง

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพประกอบจาก green.in.th

Credit: http://campus.sanook.com
13 พ.ค. 54 เวลา 21:17 2,280 4 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...