เตียงผ่าตัดช้าง เตียงแรกของโลก

เตียงผ่าตัดช้างเตียงเป็นเตียงแรกของโลก ที่ทำขึ้นเพื่อรองรับการผ่าตัดช้าง 

 
ทำด้วยเหล็กกล้าน้ำหนักรวม 4 ตัน สูง 3.50 เมตร กว้าง 4.50 เมตร ใช้เวลา
 
คิดค้นและประกอบนาน 3 เดือน มูลค่า 3 แสนบาท จากการทดสอบเครื่องจักร
 
สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า 8 ตัน ในขณะที่ช้างน้ำหนักจริงแค่ 4-5 ตัน
 
เท่านั้น อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถถอดประกอบได้ ใช้พลังงานคนหมุนเฟืองหรือ
 
มอเตอร์ก็ได้ นายคำปุ่น พลมาตร อายุ 41 ปี หนึ่งในช่างเครื่องที่ประกอบเตียง
 
ผ่าตัดช้าง อธิบายวิธีการใช้งานเตียงนี้ว่า หากมีช้างบาดเจ็บสามารถถอดอุปกรณ์
 
ออกเป็นชิ้นๆ เวลาประกอบชิ้นส่วนจะเสียเวลาราวครึ่งชั่วโมง จากนั้นนำช้างมายืน
 
หันข้างประกบเข้าหาเตียง โดยหันข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บเข้าหาเตียง ใช้สายรัดที่ทำ
 
มาจากผ้าชนิดเดียวกับเข็มขัดนิรภัย มารัดตามส่วนต่างๆ จะมีตาข่ายมาคล้องรอบ
 
ตัวช้างอีกชั้นหนึ่ง ป้องกันช้างหลุดร่วง เมื่อรัดแน่นกระชับดีแล้วก็กดปุ่มไฮโดรลิก
 
ยกเตียงขึ้นตามองศาที่ต้องการ ตั้งแต่ 90-180 องศา ใช้เวลาราว 10 นาที หากช้าง
 
เกิดอุบัติเหตุในป่าไม่มีไฟฟ้า ก็สามารถใช้แรงคนหมุนไฮโดรลิกได้เช่นกัน ใช้เวลา
 
นานกว่าปกติราว 45 นาที น.สพ.นิกร ทองทิพย์ อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ 
 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการรักษาช้างที่ขาหักหรือต้องผ่าตัด มักจะ
 
เกิดปัญหามาก เพราะช้างมีน้ำหนักตัวมาก น้ำหนักจึงกดทับขา ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ขาช้ำ 
 
หรือหลังเข้าเฝือกเมื่อช้างลุก เฝือกยังไม่แข็งดีเฝือกก็จะแตก บางเชือกอักเสบมากจน
 
ต้องตายไปก็มีสะดวกในการทำแผล และช่วยพยุงช้างหลังเข้าเฝือกได้ดี "เตียงนี้ทำขึ้น
 
เหมือนกับเตียงผ่าตัดม้า เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า  สามารถใช้งานกับช้างได้ เพราะเตียง
 
ปรับได้หลายระดับ ช่วยลดอาการบาดเจ็บ ขณะบังคับให้ช้างนอน เพราะหากบังคับให้ช้างนอน
 
ผิดข้าง ดันไปทับข้างที่เป็นแผลก็จะยิ่งลำบากหากจะให้พลิกหันอีกข้าง" น.สพ.นิกร กล่าว 
 
น.สพ.อลงกรณ์ มหรรณพ นายสัตวแพทย์ช่วยราชการสำนักพระราชวัง กล่าวว่า เตียงผ่าตัดนี้
 
เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกของสัตวแพทย์ในการรักษาช้าง โดยเฉพาะ
 
กรณีที่ช้างได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกงาแทง รถชน จำเป็นต้องวางยาสลบ เครื่องมือนี้จะช่วยได้
 
มาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้ช้างมีโอกาสรอดมากขึ้น มันขึ้นอยู่กับอาการของช้างด้วย
 
 
ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และชมรมพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
 
 ได้คัดเลือกสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นสถานที่ในการทดลอง และนำร่องเป็นศูนย์ช่วยเหลือช้าง 
 
เป็นแห่งแรกในประเทศไทยหรือแห่งแรกในโลก คาดว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามระบบแล้ว สวนสัตว์เปิด
 
เขาเขียวศรีราชา ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จะเป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือช้างที่ใหญ่ที่สุดใน
 
ประเทศไทย  และเป็นศูนย์กลางในประสานการช่วยเหลือไปยังสถาบันส่งเสริมช้างอื่นๆ ทั่วโลกด้วย

 
 
**ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก**
-ชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 
**ขอขอบคุณข้อมูล** - คมชัดลึก -หนังสือพิมพิ์ข่าวสด
Credit: http://www.thailegs.com/elephant52-53/elephant03.htm
13 พ.ค. 54 เวลา 17:41 3,447 4 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...