กระบือ กำลังจางหายไปจากวัฒนธรรมชาวเอเชีย

 

หญิงสาวชาวเวียดนามกับกระบือของครอบครัวในปี 2518 กระบือได้อยู่ร่วมกับวัฒนธรรม
 
ของชาวเอเชียมานานนับร้อยปี [ดิเอสโซซิเอสเต็ด เพรส ]
 

 

ในสมัยก่อน ชาวเอเชียมักใช้ กระบือ หรือ ควาย เพื่อช่วยในการทำนาในหลายประเทศ

“ในบรรดาสัตว์ใช้งานที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ กระบือเอเชียถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยด้านการ

ผลิตได้มากที่สุด” นายรอสส คอค์กริล ผู้เชี่ยวชาญกระบือแถบเอเชียและผู้เขียนหนังสือ

"สุขภาพและการบำรุงพันธุ์ของกระบือในประเทศ" กล่าว

กระบือถือเป็นทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ที่คุ้มค่าที่สุด:

ศาสตาจารย์ ดร.จรัญ จันทลักขณา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในกรุงเทพฯ กล่าวว่า

กระบือไม่เพียงแต่แข็งแรง และสามารถใช้มูลเป็นปุ๋ยได้ เท่านั้น แต่ยังสามารถให้เนื้อ และ

น้ำนม

แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ชาวนาไทยบางส่วนใช้มูลสัตว์ เช่น วัวหรือกระบือเป็นปุ๋ยแทน

ดร.จรัญ เขียนไว้ในรายงานการวิจัยของเขาว่า “ในประเทศกำลัง พัฒนาส่วนใหญ่

สัตว์ใช้งาน ถือเป็นกำลังสำคัญในการทำการเกษตร แม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรที่ใช้น้ำมัน

เพิ่มมากขึ้นในบางประเทศเช่น จีนตอนใต้ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และแถบอินโดจีน

จำนวนประชากรกระบือในหลายประเทศ เช่น จีน ฟิลิปปินส์และเวียดนามกำลังลดลง

อย่างรวดเร็ว  โดยประชากรกระบือลดลง 26 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2541 ถึง 2551

ในขณะเดียวกัน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซียและศรีลังกากลับมีจำนวนกระบือเพิ่ม

ขึ้นเล็กน้อย

เทคโนโลยีกำลังเข้ามาแทนที่นับตั้งแต่ปี 2503 รถไถหรือ "ควายเหล็ก" ได้เข้ามาแทนที่

กระบือไทย ซึ่งค่อย ๆ ลดหายไปจากหมู่บ้านในชนบทมากขึ้นเรื่อย ๆ

ชาวนาหลาย คนเลือกใช้ ควายเหล็กเนื่องจากทำงานได้เร็วกว่า ไถได้ลึกกว่า และไม่ต้อง

พักผ่อน อย่างไรก็ตาม ชาวนาหลายรายอาจลืมพิจารณาค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายในการ

ดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้น มูลค่าการขายต่ำที่ต่ำ ปัญหาสนิม และมลพิษที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

ัรัฐบาลหลายแห่งผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตร โดยการกำหนดนโยบาย

ต่าง ๆ เช่น การให้เงินกู้ยืมเพื่อให้เกษตรกรซื้อเครื่องจักร

อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเทศที่ส่งเสริมให้ใช้กระบือแบบเดิม เมื่อปี 2522

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย ได้ทรงรับทราบปัญหากระบือลด

จำนวนลง และทรงเริ่ม โครงการธนาคารกระบือขึ้น

ธนาคารกระบือ มีอยู่สามรูปแบบได้แก่ ธนาคารของรัฐ ของเอกชน และธนาคารกระบือใน

พระบรมราชูปถัมภ์ ธนาคารกระบือจะคอยรวบรวม และแจกจ่ายกระบือเพื่อการเกษตรโดย

คิดค่าเช่า เป้าหมายของ ธนาคารคือ เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เปิดโอกาสให้

เกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของ กระบือ ให้เช่ากระบือในอัตราต่ำเป็นพิเศษและส่งเสริมให้มี

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ธนาคารบางแห่งอาจให้เช่ากระบือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น

สำหรับทหารผ่านศึก ช่องทางอื่น ๆ ของเกษตรกร ยังได้แก่การจ่ายค่ากระบือตัวเมีย

ที่ลูกกระบือตัวเมีย จากนั้นธนาคารจะให้เช่ากระบือสาวให้แก่เกษตรกรรายอื่นต่อไป

รัฐบาลไทย มีโครการสอนเกษตรกรในการใช้ประโยชน์จากกระบืออย่างคุ้มค่า รายงานจาก

วอล์ล สตีรท จอลนอล กันยายน 2553 พบว่าเกษตรกรนำกระบือ ของตนมา

โรงเรียนบัวใหญ่ เพื่อสอนให้รู้จักการลาก การไถ และการเลี้ยวอย่างถูกต้อง เป้าหมายของ

โรงเรียนสอนกระบือ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้กระบือต่อไป ด้านหนึ่งคือเพื่อดูแลสิ่ง

แวดล้อม และอีกด้านคือเพื่อใช้เป็นทรัพยากรที่ยั่งยืน

ในพื้นที่ชนบท ศาสตาจารย์ ดร.จรัญ เห็นว่าการใช้กระบือ มาเป็นเวลานับศตวรรษยังคง

เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำการเกษตรแม้ว่าเครื่องจักรจะทำให้กระบือหมดความสำคัญไป

แต่ก็ยังมีเกษตรกร อีกจำนวนหนึ่งที่ยินดีกลับมาใช้กระบือทำการเกษตรเช่นเดิม ขณะเดียว

กัน กระบือยังถือเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับหมู่บ้านห่างไกลในเอเชียและฝังอยู่ในชีวิตความเป็นอยู่

และวัฒนธรรมของ ชาวเอเชียมาอย่างยาวนาน

 
Credit: http://apdforum.com/th/article/rmiap/articles/print/departments/culture_custom/2011/01/01/feature-01
11 พ.ค. 54 เวลา 15:57 2,464 2
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...