นวดกดจุด ลดอาการปัสวะรดที่นอนในเด็ก

ความรู้เรื่องการกดจุดเป็นของเก่าแก่และมีมานานหลายพันปีซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาวจีน ศาสตร์แห่งการกดจุดได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะในยุโรป Dr.Frank Bahr ท่านเป็นแพทย์ชาวเยอรมัน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกดจุดโดยเฉพาะ ท่านได้ศึกษาและเขียนตำราการกดจุดไว้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ เหมาะสำหรับนำมาเผยแพร่แก่ประชานชนในการดูแลสุขภาพ เพราะการกดจุดก็คือศาสตร์แขนงเดียวกับการฝังเข็มที่เราๆท่านๆรู้จักกันดี แต่กดจุดเป็นการฝังเข็มโดยไร้เข็ม ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเหมือนฝังเข็ม และไม่มีอันตรายใดๆต่อผู้ทำ ถ้าท่านกดได้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพก็จะได้ผลในการรักษา ทั้งยังช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าท่านทำแล้วไม่ได้ผล ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร 


  เด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนทำให้พ่อแม่ลำบากใจมาก การดุว่าไม่สามารถช่วยแก้ไขได้ และไม่มีใครต้องการที่จะให้เด็กเล็กๆกินยา การกดจุดสามารถช่วยได้มีน้อยมากที่ผู้ใหญ่จะปัสสาวะรดที่นอน แต่เมื่อเกิดขึ้นก็แสดงว่าเกิดภาวะทางจิตใจผิดปกติ หรืออารมณ์ส่วนลึกผิดปกติ ในกรณีเช่นนี้ การปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งจำเป็น



⇒ อาการ
ปัสสาวะรดที่นอนเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็ก และถือว่าผิดปกติถ้าเด็กยังมีภายหลังอายุ 4 ½ ปีไปแล้ว ตามธรรมดาเด็กอายุ 3 ปี จะสามารถกลั้นปัสสาวะได้ระยะหนึ่งแล้ว และจะไม่ถ่ายรดในเวลากลางวัน เมื่ออายุ 4 ปี เด็กจะสามารถบังคับตัวเองให้ถ่ายปัสสาวะได้เมื่อมีน้ำเต็มกระเพาะปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะรดที่นอนอาจเกิดได้ทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ต้องรักษาอาการทั้งสองกรณี



⇒ สาเหตุ
โดยทั่วๆไป การปัสสาวะรดที่นอนมีสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ และการะเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ
สาเหตุภาวะทางจิตใจอาจจะเนื่องมาจากเด็กขาดความอบอุ่นทางบ้าน เช่น พ่อแม่ที่มีท่าทีควบคุมบังคับหรือไม่ต้องการเด็ก รวมทั้งปัญหาทางโรงเรียน เช่น เป็นที่รังเกียจของเพื่อนๆ เด็กเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ถูกครูลงโทษ สอบตก หรือการแข่งขัน บางอย่างทำให้เด็กเป็นกังวล และในที่สุดก็กลายเป็นความเครียดที่ฝังลงในจิตใจของเด็ก จนเกิดอาการปัสสาวะรดที่นอนได้

อนึ่ง ในเด็กที่มีจินตนาการมากเกินไป เด็กเหล่านี้มักจะเก็บเอาเรื่องราวต่างๆ ไปคิดและฝัน และตามมาด้วยอาการปัสสาวะรดที่นอนได้ ในขณะที่เด็กหลับสนิท
เมื่อเด็กของคุณมีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน สิ่งแรกควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีสาเหตุมาจากอะไร อาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อโดยเฉพาะในเด็กผู้หญิง หรือโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน เบาจืด โรคภูมิแพ้บางอย่าง เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด 

1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายมือที่จะกดจุดไม่ควรเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่อมือไว้

2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะใช้โลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด

3. ระหว่าทำการกดจุด บางรายอาจจะมีเหงื่อออกมาก ควรให้พักระหว่างการกดจุดได้

4. .ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น


ข้อแนะนำก่อนกดจุด 

1. การกดจุด หมายถึงการนวดจุดๆนั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น

2. อ่านและดูรูปที่แสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูอาจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้

3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆนั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ

4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วมือตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที

5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย

6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดแต่ละครั้งไว้ดังนี้
เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½-3 นาที
เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
เด็กโต ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที

7. จุดที่กดอยู่บนร่างกาย ควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว (ร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ข้าง คือ ข้างขวาและซ้าย)

8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วมือของผู้กดจุดเอง



⇒ตำแหน่งที่กดจุด
จุดที่อยู่บนร่างกาย







1. จุด “ไป่หุ้ย” (pai-hui)

วิธีหาจุด : จุดอยู่บนศีรษะกึ่งกลางใบหูทั้งสองข้าง
วิธีนวด : นวดไปข้างหน้า (ดังรูป)







2. จุด “ซานยินเจียว” (San-yin-chiao)

วิธีหาจุด : อยู่เหนือข้อเท้า (ตาตุ่ม) ด้านในประมาณ 4-5 นิ้วมือเด็ก อยู่ใกล้กับหน้าแข้ง
วิธีนวด : นวดขึ้นบน (ดังรูป)



3. จุด “จู๋ซานหลี่” (tsu-san-li)

วิธีหาจุด : วางฝ่ามือของผู้ถูกกดจุดลงบนหัวเข่า กางนิ้วออกเล็กน้อย จุดจะอยู่ปลายสุดของนิ้วนาง
วิธีนวด : นวดลงล่าง







4. จุด “จื้อยิน” (chih-yin) จุดนี้กระตุ้นการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

วิธีหาจุด : จุดอยู่ด้านนอกข้อสุดท้ายของนิ้วเท้าอันสุดท้าย
วิธีนวด : นวดลงใต้นิ้วเท้า ในทิศทางเข้าหานิ้วหัวแม่เท้า(ดังรูป)




5. จุด “จงจี๋” (Chung-chi)

วิธีหาจุด : อยู่ระหว่างสะดือกับท้องน้อย (กระเพาะปัสสาวะ)
วิธีนวด : นวดขึ้นบน (ดังรูป)



กดจุดที่ใบหู
หูขวา
1. จุดสำหรับกระเพาะปัสสาวะ
วิธีหาจุด : อยู่ที่ช่องเล็กเหนือแอ่งหู
วิธีนวด : นวดไปด้านหน้า

2. จุดสำหรับลดความตึงเครียดด้านจิตใจ
วิธีหาจุด : อยู่ที่ขอบนอกของใบหูส่วนที่ติดกับหน้า
วิธีนวด : นวดขึ้นบน (ดังรูป)


หูซ้าย
นวดเช่นเดียวกับหูขวา แต่ทิศทางนวดตรงข้าม (ดังรูป)



⇒การรักษา
กดจุดที่หูและร่างกายทำสลับวัน นวดนานครั้งละ 5-10 นาที นวดในเวลาก่อนนอน ถ้าแพทย์ให้การรักษาเด็กของคุณด้วยยานอนหลับ (Sedative) หรือยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) คุณสามารถกดจุดร่วมกับการรักษาของแพทย์ได้ และในที่สุดเด็กของคุณก็สามารถลดขนาดของยาได้จนไม่ต้องใช้ยาอีกต่อไป แต่การลดขนาดของยาต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเองเท่านั้น เพียงแต่คุณอาจจะปรึกษากับแพทย์ที่รักษาเด็กดูได้

การกดจุดควรจะสอนให้เด็กทำด้วยตัวเองได้ แต่ต้องคอยควบคุมดูแลให้เด็กทำได้อย่างถูกต้องก่อนในระยะแรกๆ เมื่อทำได้แล้วจึงปล่อยให้เขาทำเองต่อไป



เครดิต : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pimpagee&month=06-2009&date=09&group=1&gblog=296




Credit: http://atcloud.com/stories/95701
7 พ.ค. 54 เวลา 09:04 3,531 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...