กรากะตัว (Krakatau) มหาพลุลูกใหญ่ในตำนาน

 

กรากะตัว(Krakatau or Krakatao) เป็นชื่อหมู่เกาะอยู่ในช่องแคบชุนดา (Sunda Strait) ช่องแคบสำคัญใช้เป็นทางผ่านของเรือที่เดินทางจากจากทวีปยุโรปเข้าสู่ทะเลจีน ใต้และอ่าวไทย  อยู่ระหว่างเกาะชวา กับเกาะสุมาตรา

หมู่เกาะ กรากะตัว ประกอบไปด้วย 3 เกาะ คือ  Lang ,Verladen และ Rakata  ซึ่ง Rakata นี่เองที่เป็นจุดกำเนิดของการระเบิดที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า กรากะตัว

บนเกาะ Rakata มีภูเขาไฟอยู่ 3 ลูกด้วยกันคือ Perbuatan (122 m)  เมตรอยู่ด้านเหนือสุด  ถัดมาเป็นภูเขาไฟฝาแฝด ชื่อ Danan (445 m) ส่วนภูเขาไฟที่สูงที่สุดบนเกาะอยู่ทางใต้สุด   มีชื่อเดียวกับชื่อเกาะ คือ Rakata (823 m) และนี่คือนางเอกของเรื่องราว

กรากะตัวมีการระเบิดครั้งเล็กครั้งใหญ่มาเรื่อยๆ และการระเบิดของกรากะตัว ครั้งรุนแรงได้ถูกบันทึกไว้เมื่อปีพ.ศ. 2224 (ค.ศ.1681) จากนั้น ภูเขาไฟ กรากระตัวก็หลับสนิท ยาวนานนับร้อยปี มิเคยส่งเสียงคำรามบอกกลางร้าย ผู้คนเข้าไปอาศัยความอุดมของผืนป่าทำเกษตรกรรม และเข้าไปเก็บผลไม้และพืชพันธุ์ตามเนินเขาอยู่เป็นประจำ

 

กระทั่ง วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2426 (ค.ศ.1883) ราวกับมีกบน้อยไปจุมพิตปลุกเจ้าหญิงนิทราให้สะดุ้งตื่นขึ้นมา เปล่งเสียงกึกก้อง เถ้าถ่านควันไฟ เศษหินปลิวว่อน ผู้คนอพยพหนีตาย เมื่อมันสงบลง การระเบิดครั้งเล็กๆ มีตามมาอย่างถี่ๆ นับเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า อีกไม่นาน การระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ท่าที่มีการจดบันทึกไว้ในโลก กำลังจะอุบัติขึ้นอีกครา

และเมื่อเวลานั้นมาถึง วันที่ 26 สิงหาคม ในปีเดียวกัน การระเบิดครั้งใหญ่ก็ได้เริ่มขึ้น ชาวเรือที่อยู่ห่างออกไปกว่าสิบกิโลเมตร สามารถเห็นการระเบิดได้ชัดเจนน้ำบริเวณรอบเกาะร้อนขึ้นจนสัมผัสได้ ตามด้วยการระเบิดขนาดกลางตามมาอย่างต่อเนื่อง  ผู้คนเริ่มล่องเรือออกไปจากเกาะ ส่วนผู้ที่เลือกจะอยู่ในเกาะก็พยายามหาที่กำบังให้ปลอดภัยที่สุด

ถึงรุ่งสางของวันที่ 27 ประมาณ 10 นาฬิกา ได้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่สุด อวสานแห่งกรากะตัวก็เกิดขึ้น แรงระเบิดนั้นคร่าชีวิตทุกคนที่ยังอยู่บนเกาะ พื้นที่ร้อยละ 65.52 กลายเป็นเถ้าภูเขาไฟถูกพ่นขึ้นสู่ฟากฟ้าสูงถึง  80 กิโลเมตร เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตรวจจับได้แม้แต่ที่สหราชอาณาจักร บนฟากฟ้ามีฟ้าแลบฟ้าร้อง เศษของการระเบิดกระจัดกระจายทักทายไปถึงแดนห่างไกล ขึ้นไปทางเหนือถึงสิงคโปร์ และที่ห่างออกไปพันกว่ากิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ ที่เกาะ Kelling รวมแล้วแผ่ปกคลุมพื้น ที่โดยรอบในรัศมีถึง 750,000 ตารางกิโลเมตร

 

 

เงยหน้ามองดูท้องฟ้า พระอาทิตย์อันแรงกล้าถูกม่านหมอกของเถ้าภูเขาไฟบดบังจนแลดูเปลี่ยนสี ในฤดูใบไม้ร่วงของทางยุโรปมองเห็นดวงอาทิตย์ตกเป็นสีแดงแปลกตาดังรูปวาด The Scream ของ จิตกรชาวนอร์เวย์

 

ว่ากันว่าการระเบิดครั้งนี้มีพลังการทำลายล้างเท่ากับระเบิด TNT 200 เมกะตัน และ มีพลังทำลายล้างมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถูกทิ้งลงที่ฮิโรชิมากว่า 13,000 เท่า และเป็น 4 เท่าของระเบิด Tsar Bomb หรืออีกชื่อคือ AN 602 (เป็นระเบิดไฮโดรของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นระเบิดที่รุนแรงที่สุดของมนุษย์เท่าที่มีการใช้มา)

เสียงระเบิดคำรามไกลออกไป  ไม่เพียงชาวปัตตาเวีย (Batavia)ที่อยู่ห่าง 150 กิโลเมตร แต่เสียงยังได้ยินไปไกลถึงออสเตรเลีย และผู้คนบนเกาะโรดริเกซ (Rogriguez) ซึ่งอยู่ไกลจาก Krakatau ถึง4,653 กิโลเมตร กล่าวกันว่านี่คือเสียงที่กึกก้องกัมปนาทมากที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีการบันทึกมา แรงระเบิดในครั้งนั้นถูกจัดอยู่ในระดับ 6 ตามมาตรวัดระดับความรุนแรงของการระเบิดจากภูเขาไฟที่ เรียกว่า Volcano Explosivity Index (VEI) ซึ่งถูกจัดแบ่งเป็นสเกลไว้ตั้งแต่ 0-8  การระเบิดในระดับ 6 นี้ ในช่วงชีวิตพวกเราตอนนี้ก็คงจะมีแต่ การระเบิดที่ภูเขาไฟ พินนาตูโบ ปี คศ. 1991 ที่เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น ส่วนระดับ 7 เกิดขึ้นล่าสุดเมื่อปี 1815 ที่เกาะ Sumbawa ประเทศอินโดนีเซีย ใกล้ๆกับเกาะ Lombok และ bali  การระเบิดของแทมโบร่า ทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปไกลถึง 850 กิโลเมตร ต้นไม้ล้มระเนระนาดคล้ายกับโลกทั้งโลกจะพังทลายลงในพริบตา บริเวณนั้นไร้ซึ่งแสงอาทิตย์ตลอดสองวันสองคืนที่เกิดการระเบิดขึ้น หลังจากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบร่านักวิทยาศาสตร์พบว่า พื้นผิวโลกได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์น้อยลงถึง 20 เปอร์เซ็นต์เพราะ ชั้นบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยฝุ่นที่คละคลุ้งอยู่เต็มไปหมด อุณหภูมิอากาศของซีกโลกเหนือลดลงอย่างมาก ฝุ่นภูเขาไฟที่ลอยคละคลุ้งไปทั่วในชั้นบรรยากาศโลกต้องอาศัยเวลานานหลาย ปีกว่าจะตกลงมาสู่พื้นโลกจนหมดสิ้น ในภายหลังนักวิทยา ศาสตร์ยังพบอีกว่าน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ที่ขุดลงไปเพื่อศึกษามีฝุ่นละออง จากภูเขาไฟปะปนอยู่มากมายเมื่อทำการทดสอบวัดอายุน้ำแข็งที่ห้อหุ้มเถ้าถ่าน ภูเขาไฟแล้วพบว่าฝุ่นภูเขาไฟเหล่านั้นเป็นฝุ่นละอองที่เกิดจากการระเบิดของ ภูเขาไฟแทมโบร่า ในประเทศอินโดนีเซียนั้นเอง การระเบิดที่รุนแรงของภูเขาไฟแทมโบร่าทำให้ความสูงของมันหดหายลงไปถึง 1,400 เมตร และลักษณะทางกายภาพของภูเขาไฟแทมโบร่าได้กลายเป็นหลุมกว้าง 6 กิโลเมตร ลึกลงไป 1 กิโลเมตรการระเบิดครั้งนั้นคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบหนึ่งแสนคน การระเบิดของภูเขาไฟแทมโบร่าได้ส่งผลกระทบไปยังทั่วทุกมุมโลก  ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือกลายเป็นช่วงแห่งการไม่มีกลางวันเป็นเวลานานนับ สัปดาห์เพราะถูกฝุ่นละอองภูเขาไฟบดบังแสงอาทิตย์ไว้ ในจีน บนเกาะไหหนาน ก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน และทำให้ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือไม่มีฤดูร้อนในปีนั้นหรือที่เรียกว่า "Year Without a Summer"  ในประเทศอังกฤษมีฝนตกแทบทุกวัน และแน่นอนว่าสำหรับประเทศไทยของเราที่อยู่ใกล้ๆกับอินโดนีเซียก็คงจะมืดมิด ไร้ซึ่งแสงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน

 

เช่นกัน ส่วนระดับ 8 นั้น เกิดครั้งล่าสุด เมื่อประมาณ สองหมื่นปีก่อนคริสตกาล เกิดบริเวณทะเลสาบ Taupo บนเกาะเหนือ ของประเทศนิวซีแลนด์ ส่วนระดับ 8 นี้ใกล้ ๆ บ้านเราก็เคยเกิดเมื่อประมาณ 75,000 ก่อนคริสตกาล ที่ที่ปัจจุบันทะเลสาบ Toba  บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเจ้าเก่า (พูดง่ายๆคือภูเขาไฟลูกนี้ในอดีตเคยจ่อก้นประเทศไทยอยู่)นับว่าเป็นเหตุการณ์ “perfect horror” เพราะมันทั้งอบอวลไปด้วยรุนแรงและยิ่งใหญ่น่าสะพรึงกลัว จากการเกิดระเบิดใกล้กับเส้นศูนย์สูตรจึง ทำให้เถ้าภูเขาไฟ และก๊าซกระจายไปยังซีกโลกเหนือและใต้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ เชื่อกันว่าการระเบิดครั้งนั้นมีแรงดันมหาศาลทำให้ลาวาพุ่งไปไกลถึงภาคใต้ ของประเทศอินเดีย คิดเป็นระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตร และกว่าจะพ่นลาวาออกมาจนกว่าจะมอดไปต้องใช้เวลานาน 6 ปี อีกทั้งยังทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศของโลกตามมา เมื่อศึกษาหลักฐานจากชั้นหินใต้มหาสมุทรอินเดีย และแท่งน้ำแข็งจึงทำให้รู้ว่า จากการระเบิดในครั้งนั้น ได้ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกลดลง 3-3.5 degrees Celsius เกิดฤดูหนาวภูเขาไฟอย่างน้อย 6 ปี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างรุนแรงพืชและสัตว์มากมาเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  มีการสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ที่ว่า การระเบิดของภูเขาไฟโทบาทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง ปริมาณของเถ้าถ่านภูเขาไฟที่ โทบาปล่อยออกมา คิดเป็นประมาณ 2800 ลูกบาศก์กิโลเมตร(2800 cubic km)  เทียบกับ Supervolcanoes ของ Yellowstone ซึ่งปะทุขึ้นเมือ 2 ล้านปีมาแล้ว นั้นปล่อยเถ้าถ่านออกมา 2500 ลูกบาศก์กิโลเมตร (2500 cubic km) จากหลักฐานที่มีอยู่ จึงเชื่อกันว่าโทบา คือการระเบิดครั้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยขึ้นมาในโลก ถ้าภูเขาไฟระดับนี้เกิดขึ้นมาอีก วันนั้นอาจจะเป็นวันที่สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้สูญพันธุ์ไปเลยก็ได้

 

นอกเรื่องมานานเข้าเรื่องภูเขาไฟกรากะตัวต่อนะครับ เพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยย่อมหนีไม่พ้น  การระเบิดในครั้งนั้นตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีบันทึกของพระองค์เจ้าดิศวรกุมารที่ต่อมาทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จกรม พระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า “เมื่อข้าพเจ้าบวชอยู่วัดนิเวศน์ฯประจวบกับมีเหตุสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งควรจะ เล่า เพราะคนภายหลังยังไม่มีใครได้เคยพบเหตุเช่นนั้น เมื่อเดือนสิงหาคมจะเป็นวันใดข้าพเจ้าไม่ได้จดไว้ แต่อยู่ในระหว่างวันที่ ๒๗ จนถึงวันที่ ๓๐ เวลาบ่าย ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่ตำหนักได้ยินเสียงดังเหมือนยิงปืนใหญ่ไกลหลายนัด นึกในใจว่าคงยิงสลุตรับแขกเมืองที่เข้ามากรุงเทพฯ ครั้นเวลาเย็นลงไปนั่งเล่นที่สะพายท่าน้ำตามเคย ไปพูดขึ้นกับพระที่อยู่มาก่อน ท่านบอกว่าที่วัดนิเวศน์ฯไม่เคยได้ยินเสียงปืนใหญ่ยิงในกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าไม่เห็นเป็นการสำคัญก็ไม่ค้นหาเหตุผลต่อไป ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง เห็นแสงแดดเป็นสีเขียวตลอดวัน คนทั้งหลายพากันพิศวงทั่วไปในท้องถิ่น ที่ตื่นตกใจก็มี แต่ในวันต่อมาก็กลับเป็นปกติตามเดิม เป็นหลายวันจึงทราบข่าวว่าภูเขาไฟระเบิดที่เกาะกระกะเตา ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะชวาและเกาะสุมาตรา คนตายหลายหมื่น เสียงภูเขาไฟระเบิดและไอที่ออกบังแสงแดด ทั้งละลอกน้ำในท้องทะเลแผ่ไปถึงนานาประเทศไกลกว่าที่เคยปรากฏมาแต่ก่อน เรื่องที่ข้าพเจ้าเล่านี้ถ้าใครจะใคร่รู้โดยพิสดาร จึงไปดูในหนังสือเอนไซโคลปีเดีย บริแตนนิคะ ตรงอธิบายเรื่องเกาะกระกะเตาก็จะรู้ชัดเจน”

อีกทั้งยามนั้นไทยตกอยู่ในยามศึกกับฝรั่งเศส จึงอดไม่ได้ที่จะให้มีการระแวงว่าเป็นเสียงปืนใหญ่ที่จะบุกมาทำการสงคราม จนสถานการณ์คลี่คลายจึงได้ชี้แจงกันให้สิ้นสงสัย ในครานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาราชเทวี  ได้โปรดเกล้าพระราชทานเงิน เป็นเงินหลวง 100 ชั่ง ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาราชเทวีทรงสมทบอีก 50 ชั่งรวมเป็นเงิน 150 ชั่ง ให้แก่คนที่ได้ความทุกข์ยากด้วยเหตุการณ์ครั้งนี้

 

การเสียชีวิตในเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดนี้ นอกจากลาวาร้อนแล้ว ต้องไม่ลืม Pyroclastic flows อันเป็นหมอกควันพิษ และเศษหินร้อน พุ่งขึ้นบนอากาศ ปกคลุมพื้นที่ทำให้คนขาดอากาศ และมาทับผู้คนเสียจนชีวิตและบ้านเรือนพังเสียหาย

และที่ร้ายที่สุดคือภายหลังการระเบิดของภูเขาไฟ ได้เกิด คลื่นน้ำสึนามิ บางลูกสูงกว่า 40 เมตร พัดเข้าถล่ม ในบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา, อเมริกาใต้, ตลอดจนไปถึงช่องแคบอังกฤษ ส่วนเกาะชวาและสุมาตรานั้น คลื่นยักษ์ได้ทะลักเข้าลึกไปถึงพื้นแผ่นดินภายใน เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ทำให้ผู้เสียชีวิตโดยรวมจากเหตุการณ์นี้รวมสูงกว่า 36,000  คน  และนับจากนั้นไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปลงหลักปักฐานในดินแดนกรากะตัวอีกเลย

ควันหลงของฝุ่นภูเขาไฟจากการระเบิด ไม่ได้หายไปไวเหมือนยามที่มา หากแต่ใช้เวลาถึง 3 ปี จึงจะตกลงมาบนพื้นโลกหมด และฝุ่นเหล่านี้ยังบดบังแสงอาทิตย์ จนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในครานั้นลดลงราว 0.5 องศาเซลเซียส แม้พื้นแผ่นดินก็ยังสั่นไหวส่งท้ายจนถึงเดือนตุลาคมจึงได้อำลาไป

ระยะแรกพื้นที่การเกษตรถูกปกคลุมด้วยเถ้าถ่านจากการระเบิดจนมิอาจปลูกพืชทำ มาหากินได้ แต่ไม่นานนัก ธรรมชาติก็ได้ตอบแทนความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ด้วยแร่ธาตุจากธุลีการระเบิดในครานั้นผืนป่าฟื้นตัว การเพิ่มของสายพันธ์สิ่งมีชีวิตขึ้นมากมาย จนส่งผลให้กลายเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติอูจังกูลอน (Ujung Kulon nature reserve)

 

บัดนี้ตำนานได้จมลงใต้ทะเลลึก กรากะตัวเหลือเพียงหนึ่งในสามของพื้นที่เดิม ไม่มี Perbuatan และ Danan อีกต่อไป แต่ดูเหมือนว่าธรรมชาติได้เตรียมสร้างตำนานครั้งใหม่ขึ้นมาแทนที่

ภายหลังการระเบิดครั้งใหญ่ราว 50 ปีต่อมา ณ ที่เดิมได้เกิดภูเขาไฟลูกเล็กๆขึ้นมาแทนที่ เรียกขานกันว่า Anak Krakatau ซึ่งแปลว่า "Child Krakatau" หรือมันคือลูกน้อยของ Perbuatan และ Danan

เจ้า Krakatau น้อยลูกแรก โผล่พ้นน้ำให้เห็นเมื่อเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2470 ตามต่อมาด้วย Anak  Krakatau ลูกต่อๆมา และแน่นอน มันเติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเป็นเด็กน้อยที่โตไวเสียด้วย กับความสูงปีละ6 เมตร แถมยังซุกซนพ่นฝุ่นควันและหินร้อนออกมาเรื่อยๆ ทับถมลงท้องทะเลเบื้องล่างให้ Anak Krakatau เติบใหญ่เป็นเกาะกลางทะเลที่ดูน่าเกรงขามขึ้น

ปัจจุบัน ความความหลากหลายทางพันธุศาสตร์ที่เกิดตามมา และรูปแบบการก่อตัวของป่าเขตร้อนที่เกิดขึ้น ดึงดูดเหล่านักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกในให้เข้าไปศึกษาทางชีววิทยาและ พฤกษศาสตร์ในดินแดนภูเขาไฟนี้

และมันยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เชื้อชวนนักผจญภัยที่หลงใหลความท้ายทายให้ข้ามน้ำข้ามทะเลฝ่าคลื่นลม เข้าไปชมเสน่ห์อันเย้ายวนของภูเขาไฟอีกด้วย

การระเบิดที่ภูเขาไฟ พินนาตูโบ ปี คศ. 1991 ที่เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1000 คนเป็น การระเบิดระดับ 6 เช่นเดียวกับภูเขาไฟกรากะตัว ซึ่งในตอนนี้ยังเป็นเพียงการระเบิดครั้งเดียวที่เราพบเห็นในช่วงชีวิตของเรา

 

ภาพ Chichester Canal great sunsets โดย JMW Turner จิตรกรชาวอังกฤษ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นผลกระทบจาก ปีที่ไม่มีฤดูร้อน Year Without a Summer ซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ แทมโบรา ซึ่งเป็นการระเบิด ระดับ 7 ในปี ค.ศ.1815

เครดิต ที่มาของบทความและภาพ

http://terrascientia.blogspot.com/2010/10/tectonic-activity-increases-across.html

http://mms.nps.gov/yell/ofvec/exhibits/eruption/volcanoes/compare2.htm

http://en.wikipedia.org/wiki/Volcanic_Explosivity_Index

http://en.wikipedia.org/wiki/Krakatoa

http://www.vcharkarn.com/varticle/37502

http://mms.nps.gov/yell/ofvec/exhibits/eruption/volcanoes/compare2.htm

http://fashionandartmagazine.blogspot.com/2010/09/screaming-painting-sound.html

http://www.vcharkarn.com

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7

http://www.devilsaccountant.com/2009_11_01_archive.html

http://www.drgeorgepc.com/Tsunami1883Krakatoa.html

http://www.treehugger.com/files/2009/03/mt-redoubt-erupts.php

Credit: http://atcloud.com/stories/95704
7 พ.ค. 54 เวลา 09:00 8,632 5 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...