ประเทศอิสราเอลสมัยใหม่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ชนชาติยิวมีมานานมากแล้วแต่แตกฉานซ่านเซ็นไปจากถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษ ของตนไปเสียเป็นร้อยพันปี ไปอยู่ในยุโรป รัสเซียและที่ต่างๆ ในเมืองจีนยังมีเลย ขบวนการรณรงค์กอบกู้ชาติอิสราเอลขึ้นมาใหม่คือขบวนการไซออนิสต์
ความ ขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์และยิวก็เริ่มเกิดขึ้น ยิวก็อ้างว่าแผ่นดินนี้เป็นของเขาตั้งแต่โบร่ำโบราณ พระเจ้าให้พวกเขาตามสัญญาด้วยซ้ำ แล้วต่อมามีเหตุให้เขาต้องแตกหนีไปจากแผ่นดินนี้ แต่เขายังระลึกถึงแผ่นดินนี้เสมอไปตกระกำลำบากถูกกดขี่ข่มเหงที่ไหนๆ ก็อดทนรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นชนชาติอยู่ได้ไม่ถูกกลืน ก็เพราะมีสำนึกประวัติศาสตร์ร่วมกันอันนี้
แล้วในช่วงที่ผ่านมาเขาถูกกระทำต่างๆนานาเหลือเกินในแดนคนอื่นเขาจะมาอยู่ เป็นประเทศของเขาเท่านั้นทำไมจะไม่ได้ ฝ่ายปาเลสไตน์ก็ว่าหลังจากที่พวกยิวออกไปจากตรงนี้แล้วนานเขาก็อยู่กันตรง นี้มาแต่ไหนแต่ไรตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวด อยู่มาเป็นร้อยพันปี จู่ๆก็มีคนอื่นมาบอกว่าตรงที่ที่เขาอยู่นี่เป็นของคนอื่นจะไม่ให้เขาอยู่ แล้ว แล้วจะให้เขาไปอยู่ตรงไหน ถ้ายิวอยากมีประเทศปาเลสไตน์ก็อยากมีประเทศเหมือนกัน
วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 คือวันที่นายเบ็น กูเรียน นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลออกวิทยุประกาศเอกราชของอิสราเอล แต่พอวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 15 ประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย อียิปต์ รวมกับอิรักเป็น 5 ประเทศ ก็รวมพลังยกทัพเข้าตีอิสราเอล แต่อิสราเอลก็รบชนะได้ในคราวนั้นแต่หลังจากนั้น อิสราเอลก็ยังรบกับอาหรับเรื่อยมา
ความตึงเครียดระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ ซึ่งจะนำมาสู่สงครามในภายหลังถึงจุดระเบิด เมื่อชาวยิวก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์เมื่อปี 1948 โดยอ้างว่า ได้รับพันธสัญญาจากพระเจ้า โดยพวกเขาได้ตั้งองค์กรไซออนนิสต์ (Zionist) ขึ้นมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1ไม่นานนัก เพื่อชักนำให้ชาวยิวด้วยกันอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งในปาเลสไตน์
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับซึ่งโกรธแค้น เปิดฉากโจมตีอิสราเอลเพียงหนึ่งวันให้หลังจากที่อิสราเอลประกาศตั้งประเทศ และนี่เป็นที่มาของสงครามใหญ่ระหว่างสองเชื้อชาติ
สงครามครั้งที่ 1 : ค.ศ. 1948
กองทัพอาหรับของอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน และอิรัก ได้ร่วมกันบุกเข้าไปในดินแดนปาเลสไตน์ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 และยึดกรุงเยรูซาเลมไว้ได้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ในที่สุดสหประชาชาติต้องเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยสั่งให้มีการหยุดยิง 1 เดือน และห้ามทั้ง 2 ฝ่ายแอบขนอาวุธเข้ามาเสริม
หลังจากนั้นในวันที่ 11 กรกฎาคม อิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีโดยทิ้งระเบิดที่กรุงไคโรของอียิปต์ และกรุงดามัสกัสของซีเรีย การรบครั้งนี้กินเวลา 10 วัน ขณะที่ทหารฝ่ายอาหรับล่าถอยออกไป ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม 1948 สหประชาชาติสั่งหยุดยิงโดยไม่กำหนดระยะเวลา และใช้วิธีการทูต
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ถึงจุดผลิกผันอีกครั้ง เมื่อเคาน์ ฟอลเก เบอร์นาดอตด์ ผู้ที่สหประชาชาติส่งเข้าไปไกล่เกลี่ยถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1948 โดยกลุ่ม Sturn Group ซึ่งอ้างว่า เบอร์นาดอต์ดจงใจสนับสนุนให้สหประชาชาติส่งมอบนครเยรูซาเล็มให้กับชาวอาหรับ ต่อมาอิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีแบบสายฟ้าแลบและยึดเมืองเนเกฟกาลิลี และหมู่บ้านหลายแห่งที่ทหารเลบานอนตั้งฐานอยู่คืนได้
และหลังจากนั้นในเดือนธันวาคม 1948 อิสราเอลก็ได้เปิดยุทธการขั้นเด็ดขาดเรียกว่า ยุทธการโฮเรฟ อียิปต์ไม่สามารถสู้รบได้จึงต้องตกลงทำสัญญาสงบศึก สงครามครั้งนั้นสิ้นสุดเมื่อวันที่ 7มกราคมปีต่อมา ตามมาด้วยการเซ็นสัญญาของชาติอาหรับต่างๆกับอิสราเอล
สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 2 : วิกฤตการณ์คลองสุเอซ ปี ค.ศ. 1956
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสหรัฐยกเลิกข้อตกลงสนับสนุนการสร้างเขื่อนอัส วาน ในอียิปต์ โดยอ้างว่าไม่พอใจที่อียิปต์ตกลงซื้ออาวุธจากสหภาพโซเวียต โดยสงครามระเบิดขึ้นจากการเปิดฉากของอิสราเอลในวันที่ 29 ตุลาคมปี 1956 ภายใต้ชื่อ ยุทธการคาเดซ โดยมีเป้าหมายคือยึดทะเลทรายไซนายและฉนวนกาซ่า รวมทั้งแนวป้องกันที่อียิปต์วางไว้ เพื่อให้กองกำลังอียิปต์ส่วนอื่นๆถูกตัดขาดออกจากฉนวนกาซ่า และยึดฐานกับสร้างฐานทัพเพื่อเคลื่อนกำลังพลเข้าสู่ไคโร อาหรับต้านทานไม่ไหว ทำให้อิสราเอลสามารถเข้ายึดจุดสำคัญๆต่างๆได้ จนกระทั่งกองทัพอียิปต์ถูกทำลายและอิสราเอลยึดฉนวนกาซ่าและไซนายได้ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 1956
กองกำลังอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังจะเคลื่อนทัพเข้ายึดคลองสุเอซ แต่สหประชาชาติก็ได้ยื่นคำขาดให้ทุกฝ่ายยุติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน และในวันที่ 15 พฤศจิกายน สหประชาชาติก็ได้ส่งทหารเข้าประจำการแทนทหารอิสราเอลในจุดที่อิสราเอลยึดได้ พร้อมให้สัญญาว่าเรือของอิสราเอลจะสามารถแล่นผ่านอ่าวอกาบาและช่องแคบตีราน ได้โดยเสรี
สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 3 : สงคราม 6 วัน ค.ศ. 1967
สงคราม 6 วันเริ่มขึ้นจากการที่ซีเรียระดมยิงไปยังอาณานิคมยิวในที่ราบสูงโกลัน กองทัพของอิสราเอลจึงโต้ตอบกลับไปทั้งทางบกและทางอากาศ อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังไม่เปิดฉากรบอย่างเต็มตัว จนกระทั่งอียิปต์ประกาศปิดช่องแคบตีรานไม่ให้เรืออิสราเอลผ่านในวันที่ 22 พฤษภาคม และประกาศปิดอ่าวอกาบา ประชาชนอิสราเอลจึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลหันมาใช้กำลังทหารเข้าโจมตีอาหรับ เพื่อแก้แค้น
โดยอิสราเอลได้สั่งระดมพลและประชุมเพื่อหาทางตอบโต้ท่าทีดังกล่าวในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1967 และนาย โมเช่ ดายัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอล
ด้วยความชาญฉลาดและชำนาญในการรบของโมเช่ ดายัน ทำให้เขาสามารถวางแผนการโจมตีกองกำลังทหารอาหรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สงครามครั้งนี้ทำให้อิสราเอลยึดดินแดนฉนวนกาซ่า คาบสมุทรไซนายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน และที่ราบสูงโกลันได้
สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 4 : ยมคิปปูร์ ค.ศ. 1973
ทหารอาหรับนำโดยกองทัพของอียิปต์และซีเรียปฏิบัติการในชื่อ ยุทธการบาตร์ บุกเข้าไปในอิสราเอลในวันที่ 6 ตุลาคม 1973 คือ วันยมคิปปูร์ ซึ่งเป็นวันล้างบาปของชาวยิวตามความเชื่อทางศาสนโดยทหารอียิปต์เปิดฉากโจมตีด้านคลองสุเอซ และทหารซีเรียโจมตีเข้าไปในที่ราบสูงโกลัน
การรบยืดเยื้อกินเวลาถึงเกือบ 20 วัน เนื่องจากทหารอาหรับได้กำลังหนุนจากอิรัก จอร์แดน และโซเวียต ส่วนอิสราเอลก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามก่อนที่สงครามจะบานปลาย สหรัฐฯและโซเวียตได้ตกลงกันบีบบังคับให้อิสราเอล และอาหรับยุติสงคราม ทำให้มีการประกาศหยุดยิงขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1923 แต่หลังจากนั้นเพียง 2-3 ชั่วโมง อิสราเอลก็ฝ่าฝืนประกาศโดยการบุกโจมตีอียิปต์ต่อไป
วิกฤตการณ์ดำเนินไปจนถึงวันที่ 25 มหาอำนาจทั้ง 2 ขั้วตัดสินใจถอนตัวแล้วปล่อยให้สหประชาชาติเข้ามาดูแลแทน โดยสหประชาชาติได้ส่งกองทหารฉุกเฉินเข้าควบคุมสถานการณ์และมีคำสั่งหยุดยิง ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอลจึงยุติลง
การปะทะทางทหารในประเทศเลบานอนและตอนเหนือของประเทศอิสราเอล โดยผู้มีส่วนร่วมคือฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มเฮซบอลลาห์และกองทหารอิสราเอล
ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 9:05 น. ตามเวลาท้องถิ่น ฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มเฮซบอลลาห์ เริ่ม ปฏิบัติการสัจจสัญญา (Operation Truthful Promise) ทำการโจมตีข้ามพรมแดน มีนายทหารอิสราเอล 8 นายเสียชีวิตและถูกจับเป็นตัวประกัน 2 นาย จากนั้นจึงตามมาด้วยการแก้แค้นของฝ่ายอิสราเอล ในชื่อปฏิบัติการตอบแทนอย่างสาสม (Operation Just Reward) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปฏิบัติการการเปลี่ยนทิศ (Operation Change of Direction)
รัฐบาลเลบานอนได้ประกาศไม่มีส่วนร่วมรู้เห็นกับปฏิบัติการของเฮซบอลลาห์ และได้เรียกร้องให้องค์กรนานาชาติช่วยเหลือเพื่อให้สงครามยุติโดยทันที
ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2006 เวลา 9:05 นาฬิกาของเวลาท้องถิ่น, กลุ่มทหารภาคพื้นดินของเฮซบอลลาห์ได้ เข้าโจมตีนายทหารอิสราเอล ขณะลาดตระเวณอยู่บริเวณชายแดนของสองประเทศส่งผลให้นายทหารอิสราเอลเสียชีวิต 3 นาย และถูกจับกุมไป 2 นาย. หลังจากนั้น 5 นายทหารอิสราเอลที่ถูกส่งไปช่วยเหลือทหารที่ถูกจับกุมได้ถูกสังหารทั้งหมด กองกำลังตำรวจเลบานอน และ เฮซบอลลาห์รายงานว่า นายทหารอิสราเอลถูกจับกุมเนื่องจากพยายามที่จะแทรกซึมเข้าไปในเมือง Ayta al-Sha`b ของเลบานอน
จากนั้นวันที่ 13 กรกฎาคม กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ได้ยืนยันการถูกจับกุมของสองนายทหารและคาดว่าจะเป็นนาย Ehud Goldwasser และ Eldad Regev.
เหตุรุนแรงจากปฏิบัติการทางทหารชุดใหญ่ของกองทัพอิสราเอล ที่เปิดฉากโจมตีพื้นที่ตอนใต้ของเลบานอนอย่างหนัก ได้กลายเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าจับตา มองอย่างไม่กะพริบ เพราะการปูพรมถล่มเลบานอนแบบไม่ไหวหน้าของอิสราเอลครั้งนี้ กำลังสร้างผล กระทบให้กับประชาคมโลกอย่างหนัก และมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบขึ้น มาจริงๆ
จุดเริ่มต้นของความรุนแรงเกิดขึ้นจากการที่มีกองกำลังของกลุ่มกองโจรฮิซบ อลเลาะห์ ซึ่งปกติไม่ค่อยจะเคลื่อนไหวนอกฐานที่มั่นสำคัญในเลบานอนมากนัก ได้ยกกำลังบุกเข้ามายังพรมแดนตอนเหนือของอิสราเอลติดพื้นที่ตอนใต้ของ เลบานอน ก่อนลอบจู่โจมจุดตรวจและฐานที่มั่นของกองทัพอิสราเอล ทำให้ทหารอิสราเอลเสียชีวิตไปหลายนาย แถมกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ยังเลียนแบบกลุ่มติดอาวุธในปาเลสไตน์ด้วยการลักพาตัว ทหารอิสราเอล 2 นายหนีข้ามพรมแดนไปยังเลบานอนด้วย
การลักพาตัวทหารยิว 2 นายนี่เองเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อิสราเอลเดือดจัด เพราะตัวเองกำลังทิ้งระเบิดโครมๆเข้าใส่พื้นที่ฉนวนกาซ่า เพื่อช่วยทหารของตนรายหนึ่งที่ถูกกลุ่มติดอาวุธอิสลามิคจีฮัดลักพาตัวไป ตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้วยังไม่ทันไร ทหารของตนยังต้องมาตายและถูกลักพาตัวไปเพราะฝีมือของศัตรูเก่าอย่างกลุ่มฮิ ซบอลเลาะห์อีกต่างหาก จึงไม่น่าแปลกใจที่อิสราเอลจะยอมเปิดศึกสองด้าน โจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์อย่างเต็มรูปแบบมาแล้วถึง 3 วันเต็มในพื้นที่ตอนใต้ของเลบานอน รวมถึงบางส่วนของกรุงเบรุตซึ่งอยู่ไม่ห่างออกไปกว่า 100 จุด
ไล่ตั้งแต่ท่าสนามบินราฟิก ฮารีรีท่าอากาศยานนานาชาติแห่งเดียวของเลบานอนในกรุงเบรุตที่ถูกบอมบ์อย่าง หนักถึง 2 วันติดจนต้องปิดให้บริการไปแล้ว คลังน้ำมันสะพานและทางหลวงสายสำคัญๆ เชื่อระหว่างกรุงเบรุตกับกรุงดามัสกัสของซีเรีย รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่คาดว่าเป็นศูนย์บัญชาการหลักของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ทำให้พลเรือนชาวเลบานอนเสียชีวิตมากกว่า 60 คนบาดเจ็บอีกเกินร้อย ทั้งนี้ก็เพื่อเหตุผลสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ
หนึ่งคือต้องการกดดันให้กลุ่มฮิซบอลเลาะห์คืนทหารสองนายที่จับตัวไป อันน่าจะเป็นเหตุผลหลัก ส่วนผลพลอยได้ก็คือการผลักดันกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ให้ออกห่างจากพื้นที่ตอน เหนือของอิสราเอลรวมถึงเป็นการส่งสัญญาณหนักๆ เตือนรัฐบาลเลบานอน ที่ปล่อยให้กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ปฏิบัติการได้ตามอำเภอใจโดยไม่ปราบปราม
จนกระทั่งอิสราเอลยิงขีปนาวุธถล่มกล่องดวงใจที่เล็งไว้มานานนั่นคือศูนย์ บัญชาการใหญ่ของ กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ทางตอนใต้ของกรุงเบรุต และบ้านพักของนายฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำสูงสุดของฮิซบอลเลาะห์ เรียกว่าหวังจะเด็ดหัวแกนนำสูงสุดกันเลยทีเดียวแต่ดันหนีรอดมาได้ นับเป็นจุดแตกหักของปฏิบัติการโจมตีอย่างแท้จริง เพราะทำให้นายนาสรัลเลาะห์ที่ปิดปากเงียบมานานต้องออกมาแถลง ผ่านสถานีโทรทัศน์ไปทั่วโลก ว่าหากอิสราเอลต้องการประกาศสงครามกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็พร้อมที่จะจัดให้ตาม คำขอ
และเตือนว่าจะโจมตีเรือพิฆาตที่ยิงจรวดทำลายบ้านเรือนของชาวเลบานอนผู้ บริสุทธิ์ให้จมทะเลไปต่อหน้าต่อตา แล้วก็เป็นไปตามคำขู่เสียด้วย เพราะหลังจากนายนาสรัลเลาะห์แถลงไม่นาน เครื่องบินของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็ยิงจรวดถล่มเรือรบของอิสราเอลที่จอดอยู่ นอกชายฝั่งเลบานอนทำให้ทหารอิสราเอลสูญหายไป 4 นาย
รวมถึงก่อนหน้านั้นยังยิงจรวดไปไกลถึงเมืองท่าไฮฟา เมืองใหญ่อันดับสามของอิสราเอล ทำให้ผู้คนที่นั่นหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามกันเพราะไม่เคยมีจรวดหรือขีปนาวุธของกลุ่มติดอาวุธใดเคยทะลวงเข้าถึง เมืองท่าสำคัญแห่งนี้มาก่อน
เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้ประชาคมโลกหวั่นเกรงว่าจะระเบิดเป็นสงครามเต็ม รูปแบบขึ้นมาจริงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจึงได้ร่วมหารือเป็นการ ฉุกเฉินตามคำร้อง ของรัฐบาลเลบานอน โดยที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์โจมตีทั้งกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่จับทหารอิสราเอล เป็นตัวประกัน
และเรียกร้องให้ปล่อยตัวทหารโดยเร็ว และยังประณามปฏิบัติทางทหารของอิสราเอลในเลบานอนอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเรียกร้องอิสราเอลให้ยุติการโจมตีเป้าหมายพลเรือน เคารพข้อบังคับว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรม ระหว่างประเทศ รวมถึงให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลามจนเกินควบคุม
ขณะที่บรรยากาศของการ ประชุมก็ดุเดือดไม่แพ้ปฏิบัติการทางทหารเลยทีเดียว เพราะแต่ละฝ่าย ต่างออกมาตอบโต้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ฝ่ายทูตเลบานอนประจำสหประชาชาติเรียกร้องให้ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงยู เอ็นมีมติให้อิสราเอลหยุดยิงโดยทันทีพร้อมกล่าวหาอิสราเอลว่าใช้มาตรการ รุนแรงทำร้ายชาวเลบานอน
ซึ่งทูตอิสราเอลก็ได้ออกมาโต้กลับว่าเป็นเพราะรัฐบาลเลบานอนต่างหากที่ทำให้ สถานการณ์รุนแรงบานปลายเพราะไม่ยอมปราบปรามกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ แถมยังปล่อยให้ปฏิบัติการโจมตีใน พื้นที่ตอนใต้อย่างเสรี เท่านั้นยังไม่พอ ตัวแทนอิสราเอลยังเรียกร้องเงื่อนไข 3 ประการหากอิสราเอล จะยอมหยุดยิง คือให้กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ปล่อยตัวทหาร 2 นาย ยุติการยิงจรวดโจมตีพื้นที่ตอนเหนือของอิสราเอล และรัฐบาลเลบานอนต้องยื่นญัตติยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้ปลด อาวุธกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างเสียวไปตามๆ กันว่าปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลในเลบานอน ครั้งนี้ อาจลุกลามเป็นสงครามเต็มรูปแบบเข้าจริงๆ ในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นการที่อิสราเอลเพิ่มความรุนแรงในการโจมตีขึ้นทุกขณะ จนมีทีท่าว่าอาจขยายปฏิบัติการไปยังซีเรียที่ให้การหนุนหลังกลุ่มฮิซบอลเลาะ ห์อยู่
ขณะที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็ไม่มีท่าทีลดราวาศอก รัฐบาลเลบานอนเองก็อ่อนแอเพราะเพิ่งจัดตั้ง รัฐบาลได้เพียงปีเดียว ไม่มีอำนาจอะไรไปกดดันหรือปราบปรามกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ด้านมหาอำนาจที่น่าจะมีเพาเวอร์ทำอะไรได้บ้างก็เงื้อง่าราคาแพง
แถมสหรัฐก็ยังเข้าข้างอิสราเอลแบบไม่เกรงใจ จากการที่บอกว่าอิสราเอลมีสิทธิ์ในการโจมตีเลบานอนเพื่อป้องกันตนเอง ทำให้สหรัฐอาจต้องใช้สิทธิ์ยับยั้งหรือวีโต้ของตน คัดค้านญัตติใดๆ ที่เสนอให้อิสราเอลหยุดยิงแน่นอน เหมือนที่เกิดขึ้นหมาดๆในการวีโต้ญัตติของกาตาร์ที่เรียกร้องให้อิสราเอล ยุติปฏิบัติการโจมตีฉนวนกาซาเมื่อวันพฤหัสฯที่ผ่านมา
สงครามระหว่างอิสราอลและเลบานอนอาจเป็นการปิดประตูลงกลอนบานสุดท้าย ของกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางจริงๆ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความขัดแย้งในตะวันออกกลางระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล ไม่ต้องย้อนหลังไปไกลเอาแค่ตั้งแต่สงครามตะวันออกกลางเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ยังยุ่งเป็นเชือกพันกันมาจนทุกวันนี้ ขณะที่ปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ก็ยังหาทางออกไม่ได้เสียที แม้ประชาคมโลกจะออกแรงกันจนเหนื่อย จนผู้นำของทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ลาโลกไปหลายคนแล้ว ก็ยังแทบไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เลย
ขอไว้อาลัยให้กับสันติภาพในตะวันออกกลางล่วงหน้าก่อนแล้วกัน