1. จรวดและจรวดหลายตอน
การคิดค้นจรวดในประเทศจีนดูเหมือนว่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสองทาง ทางหนึ่งคือ ธนูไฟสำหรับวางเพลิง เปิดทางให้เกิดความคิดติดจรวดเข้ากับก้านธนู อีกทางหนึ่งมาจาก ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ 'หนูสนาม' หรือ 'หนูดิน' ซึ่งวิ่งอย่างรวดเร็วบนพื้นดินและพ่นประกายไฟออกมาทางข้างหลัง
การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ในปี 1300 เป็นอย่างช้ามีการขัดเกลาพัฒนาจรวดให้ขึ้นไปไกลที่สุดด้วยการใช้รูเปิดขนาดเล็กดักไว้ที่ท่อจรวดเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการไหลของก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ทำให้ได้กำลังแรงขึ้น ดังนั้น อุปกรณ์จำกัดการไหลหรือหัวฉีดนี้ ใช้ทำให้เกิด 'ปรากฏการณ์ท่อเวจูรี' ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานทางอากาศพลศาสตร์เนื่องจากมันสามารถอธิบายการเกิดแรงยกที่เกี่ยวเนื่องกับปีกเครื่องบินได้ หลักการนี้ถูกตั้งขึ้นในยุโรปโดย จี.บี.เวนจูรี
(ปี 1746-1822) ดังนั้น ชาวจีนจึงล้ำหน้าเขาไปราว 500 ปีในการนำหลักการนี้มาใช้
2. สารเคมี ก๊าซพิษ ระเบิดควัน และแก๊สน้ำตา
สงครามเคมีที่ใช้ก๊าซพิษมีมาตั้งแต่ต้นปีที่ 400 ก่อนคริสตกาลในประเทศจีนเป็นอย่างช้า พบการใช้หีบลมเป่าก๊าซพิษเข้าไปในอุโมงค์ของศัตรูที่กำลังล้อมโจรตีเมือง หีบลมทำมาจากหนังวัวและต่อเข้ากับเตาเผาที่กำลังเผาก้อนมัสตาร์ดแห้งและพืชผักมีพิษอื่นๆ ล้ำหน้าก๊าซพิษที่ใช้ในร่องแนวรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นเวลา 2,300 ปี
การใช้ก๊าซพิษเป็นการพัฒนาตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากประเพณีดั้งเดิมของจีนในการรมควันบ้าน ที่เป็นที่รู้จักและปฏิบัติกันเมื่อ 700 ปี ก่อนคริสตกาล
การใช้ยาพิษในการทำสงครามที่เก่าแก่ที่สุดคือ การใช้ลูกธนูปลายอาบยาพิษ ซึ่งแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกอยู่ก่อนแล้ว ต้นกำเนิดจึงเก่าแก่โบราณมาก
3. การบินแบบมีมนุษย์ด้วยว่าว
การบินแบบมีมนุษย์ด้วยว่าวที่เก่าแก่ที่สุด พบในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ฉีเหนือที่มีอายุระหว่างปี 550 – 577 เหตุการณ์ที่บันทึกไว้นี้เกิดในจีนครั้งที่ 3 และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคที่ถือกันว่าเป็นยุคทองของจีน ช่วงเวลาเดียวกันนี้ยุโรปยังคงทนทุกข์อยู่ในยุคมืด
จักรพรรดิเกาหยางทรงเฉลิมฉลองพิธีผนวชของพระองค์ จนเป็นหนึ่งในแบบฉบับของจักรพรรดิผู้โหดร้ายที่สุดของจีนที่วิปลาสขาดสติด้วยพิธีที่พระองค์ก็ทรเรียกว่า 'ปล่อยสัตว์' ทรงเบิกตัวนักโทษประหารจำนวนมากออกมามัดพวกเขาไว้กับเสื่อไม้ไผ่ขนาดใหญ่ทำเป็นปีก และทรงสั่งให้บินจากยอดหอคอยลงไปยังพื้นดิน ตั้งแต่นั้นจักรพรรดิก็ทรงสนพระทัยด้านอากาศพลศาสตร์ยิ่งขึ้น ทรงให้นักโทษประหารกระโดดลงมาจากหอคอยหงส์ทองเพื่อเป็นนักบินทดสอบว่าวที่ใช้คนบินอยู่เป็นประจำ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่กีฬาอันโหดร้ายของจักรพรรดิที่ใช้นักโทษเป็นผู้รับกรรม แต่คงต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญมากพอสมควรในการสร้างว่าวเพื่อตั้งใจจะให้ว่าวลอยอยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ความลับของการเลียนแบบนก และเรียนรู้การลอยตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า เหมือนดั่งที่เขาไม่อยากอธิบายการทำยาอายุวัฒนะเพื่อความเป็นอมตะให้แก่คนทั่วไปตามท้องถนน หรือบอกวิธีทำ 'ทอง' ในถ้ำปฏิบัติการลับด้วยความบริสุทธิ์ผ่องใสของการฝึกตน ปัจจุบันนี้จึงถือว่านักบวชเต๋าเป็นนักวิทยาศาสตร์โบราณที่แท้จริงของประเทศจีนในยุคต้น
ศตวรรษที่ 13 มีการใช้ว่าวยกคนกันอย่างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศจีน บันทึกเรื่องราวอันน่าทึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมนี้เขียนโดยมาร์โค โปโล
ยุคสมัยใหม่ คนเราก็บินด้วยว่าว นับตั้งแต่ความพยายามของโพคอค์กปี 1895 เป็นต้นมามีความพยายามอีกมากมายหลายครั้งในยุโรป บี.เอฟ.เอส. บาเดน-โพเวลล์ เป็นคนแรกที่ประสบความสำเร็จบินด้วยว่าวได้อย่างสมบูรณ์ในปี 1894 ดังนั้นหากเรานับความสำเร็จในการบินของหยวนหวงโถวเมื่อปี 559 เป็นการบินครั้งแรกของโลกด้วยมุมมองจากบันทึกประวัติศาสตร์ ก็จะมีช่วงห่าง 1,335 ปี ระหว่างที่ชาวจีนทำได้กับการบินครั้งแรกของยุโรป
4. การไหลเวียนเลือด
ในประเทศจีนมีหลักฐานลายลักษณ์อักษรจำนวนมากที่ไม่อาจโต้แย้งได้ที่พิสูจน์ว่าการไหลเวียนเลือดเป็นศาสตร์ซึ่งยอมรับกันมาตั้งแต่ 200 ปี ก่อนคริสตกาลเป็นอย่างช้า ความคิดนี้กลายเป็นศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนในเวลานั้นจนกลายเป็นทฤษฎีเต็มรูปแบบและซับซ้อนดังที่ปรากฏใน The Yellow Emperor’s Manual of Corporeal Medicine (ตำราจีนเทียบได้กับงานเขียนของฮิปโปเครตีสของกรีซ) การพูดถึงการไหลเวียนเลือดครั้งแรกคงต้องมีมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลานาน แต่อย่างน้อยก็กล่าวได้อย่างมั่นใจว่าความคิดนี้เกิดในจีนก่อนที่จะยอมรับกันในตะวันตกประมาณ 2,000 ปี
ชาวจีนโบราณเข้าใจว่าภายในร่างกายมีการไหลเวียนของของเหลวสองระบบที่แยกจากกัน เลือดซึ่งหัวใจสูบฉีดไหลผ่านเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย และปอดทำหน้าที่สูบฉีด ชี่ ซึ่งเป็นพลังงานอันเบาบางในรูปที่จับต้องไม่ได้ให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกายผ่านเส้นทางที่มองไม่เห็น แนวคิดเรื่องการไหลเวียนของของเหลวสองระบบนี้เป็นหัวใจหลักของการฝังเข็ม
5. นาฬิกาจักรกล
ความยากในการประดิษฐ์นาฬิกาจักรกลอยู่ที่การคิดหาวิธีทำให้ล้อที่มีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าห้องสามารถหมุนด้วยความเร็วเท่ากับโลก แต่ยังต้องหมุนได้อย่างต่อเนื่อง นาฬิกาจักรกลถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีนช่วงศตวรรษที่ 8 ช่วงเวลานั้นเป็นศตวรรษเดียวกับที่มีการนำสิ่งประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ ของจีนเข้าสู่ยุโรปซึ่งได้แก่ ดินปีน สะพานโค้งเสี้ยววงกลม เหล็กหล่อ และการพิมพ์
6. การพิมพ์ (ศตวรรษที่ 8 และ 11)
การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ลงบนกระดาษและผ้าไหมเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 7 ดังนั้นเราจึงพบว่าการจารึกอักษรบนสัมฤทธิ์ ใช้บรรพบุรุษของตัวเรียงพิมพ์มาเป็นเวลานาน ย้อนไปไกลถึง 700 ปีก่อนคริสตกาล การใช้ตัวเรียงพิมพ์ทีละตัวมีการพัฒนามาเกือบสองพันปีก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการพิมพ์
7. สะพานแขวน (ศตวรรษที่ 1)
รูปแบบอันซับซ้อนของสะพานแขวนที่มีถนนแบนราบแขวนอยู่กับสายเคเบิลก็เป็นสิ่งที่คิดค้นขึ้นในประเทศจีน สะพานแขวนที่มีชื่อเสียงของจีนคือ สะพานแขวนโค้ง ชื่ออันหลาน ที่เมืองก้วนเซี่ยนในมณฑลซื่อชวน มีความยาว 1,050 ฟุต มีแปดช่วงแขวนต่อกัน และไม่มีโลหะสักชิ้นในโครงสร้างทั้งหมด ในบันทึกของนักเดินทางผู้ที่ข้ามสะพานนี้ในปี 1177 บรรยายว่า เวลานั้นมีเพียงห้าช่วงแขวนเท่านั้นสะพานนี้มีแผ่นไม้สำหรับเดินเริ่มแรกกว้าง 12 ฟุต แต่ทุกวันนี้ลดเหลือเพียง 9 ฟุต เชื่อกันว่าสะพานนี้สร้างขึ้นเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล สะพานแขวนที่สามารถรองรับการจราจรได้แห่งแรกของชาวยุโรปยังไม่ได้สร้างขึ้นจนกระทั่งในปี 1809 ชาวจีนจึงล้ำหน้าชาวตะวันตกอยู่ถึง 1,800 ปี ซึ่งความจริงแล้วอาจจะมากกว่า 2,200 ปีในเรื่องของสะพานแขวน
8. เงินกระดาษ
ชาวจีนเป็นผู้คิดค้นเงินกระดาษตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 8 เงินกระดาษฉบับแรกแท้จริงแล้วคือตั๋วแลกเงินมากกว่าจะเป็นเงินจริงๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 10 จึงมีการใช้เงินกระดาษเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนอย่างแท้จริง ส่วนเงินกระดาษของชาวตะวันตกฉบับแรกออกในประเทศสวีเดน เมื่อค.ศ.1661 ตามด้วยสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1690 ฝรั่งเศส ค.ศ.1720 นอกจากนี้ขั้นตอนการทำงานพื้นฐานบางอย่างในระบบธนาคารของโลกตะวันตกก็มาจากจีนโดยตรง
9. เครื่องหยอดเมล็ด ('สมัยใหม่') แบบหลายท่อ (200 ปีก่อนคริสตกาล)
ผู้ไม่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์การเกษตรกรรมตะวันตก อาจแปลกใจท่ได้ทราบว่า ชาวตะวันตกไม่มีเครื่องหยอดเมล็ดใช้จนกระทั่งศตวรรษที่ 16 ก่อนจะมีการนำเครื่องหยอดเมล็ดมาใช้ เกษตรกรหว่านเมล็ดด้วยมือ นับเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าใจหายและต้องเก็บผลผลิตครึ่งหนึ่งเพื่อหว่านในปีถัดไป สำหรับเมล็ดที่แตกหน่อเมื่อตกลงในโพรงใต้ดินทำให้รวมกันเป็นกระจุก แต่ละเมล็ดแย่งความชื้น แสงและสารอาหารไม่ต้องพูดถึงการกำจัดวัชพืช เพราะไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่เครื่องหยอดเมล็ดแบบหลายท่อที่ชาวจีนคิดค้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล (และรับเข้ามาใช้ในอินเดีย) ทำให้การหว่านเมล็ดมีประสิทธิภาพเป็นไปได้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เครื่องหยอดเมล็ดถูกลากตามหลังม้า วัว หรือล่อ และหยอดเมล็ดลงดินในอัตราที่ควบคุมได้เป็นแถวตรง
มีการขุดค้นพบหัวหยอดเมล็ดเหล็กขนาดเล็กในประเทศจีน อายุประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ขุนนางชื่อจ้าวกั้ว เป็นผู้ริเริ่มใช้เครื่องหยอดเมล็ดนี้ในพื้นที่เขตเมืองหลวงเมื่อ 85 ปีก่อนคริสตกาล
10. แผนที่ภาพฉายเมอร์เคเตอร์ (ศตวรรษที่ 10)
แผนที่ภาพฉายเมอร์เคเตอร์คือแผนที่โลกที่เห็นกันมากที่สุดตามผนังในชั้นเรียน ที่เกาะกรีนแลนด์มีขนาดมโหฬาร และแถบขั้วโลกเหนือและใต้ดูเหมือนจะใหญ่กว่ายุโรปและอเมริกา
ภาพฉายนี้เป็นภาพฉายแบบทรงกระบอก ถ้าเรานำลูกโลกที่เป็นทรงกลมใสใส่ลงตรงกลางของทรงกระบอกกรวง และเปิดสวิตซ์หลอดไฟที่อยู่ข้างในลูกโลกลวดลายลักษณะภูมิประเทศบนผิวโลกก็จะถูกฉายลงบนผิวด้านในของทรงกระบอกกลวงนั้น กลายเป็นแผนที่ภาพฉายเมอร์เคเตอร์ เส้นศูนย์สูตรจะกลายเป็นเส้นตรงลากผ่านกึ่งกลางของภาพฉายเมอร์เคเตอร์ มีเพียงภูมิประเทศแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรเท่านั้นที่มีลักษณะใกล้เคียงของจริง ยิ่งสูงขึ้นไปหรือต่ำลงมามากเท่าไหร่ลักษณะภูมิประเทศก็จะถูกบิดเบือนไปมากขึ้นเท่านั้น