เกือบจะทุกวันที่เราได้พบเห็นข่าวการฆ่าตัวตายตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน
ทั่วไป ด้วยวิธีการ ต่าง ๆ กัน เช่น ยิงตัวตาย, กระโดดตึก, กินยาฆ่าตัวตาย, ผูกคอ
ตาย เป็นต้น ต่างรายก็ต่างปัญหา เมื่อเกิดปัญหาก็เกิดความเครียด หาหนทางออก
ของการแก้ไขปัญหาไม่ได้ รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ในที่ สุดหลายคนตัดสินใจหนี
ปัญหานั้นด้วยการฆ่าตัวตาย… แต่ปัญหาไม่จบตามไปด้วย ทุกเรื่องยังคงอยู่ อีก
ทั้งยังเป็นการเพิ่มความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจให้กับคนใกล้ชิดอีกด้วย …
“การฆ่าตัวตายสำเร็จของคน 1 คน จะมีผลกระทบต่อคนอื่นอีกอย่างน้อย 5
คน ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อนสนิท คนรัก” … ดังนั้นถ้าในประเทศไทยมีการฆ่า
ตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 4,000 คน จะมีผู้รับผลกระทบที่ต้องทุกข์ทนกับการสูญ
เสียถึงปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 คน
(ปุณยภพ สิทธิพรอนันต์ : “ฆ่าตัวตาย เพราะโรคซึมเศร้า”)
สถิติการฆ่าตัวตายเฉลี่ยของคนไทย
จากการเก็บข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่า สถิติการฆ่าตัวตายของคนไทย
โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 5.77 คนต่อประชากรแสนคน หรือมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ
ประมาณ 3,612 คนต่อปี และถ้าคิด เฉลี่ยต่อวัน พบว่าในแต่ละวันมีคนฆ่าตัวตาย
ถึง 12 คน หรือเฉลี่ย 1 คนต่อทุก ๆ 2 ชั่วโมง
สถิติการฆ่าตัวตายตามอายุ และเพศ
ถ้ามาดูกันในเรื่องของกลุ่มอายุ และเพศของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และผู้ที่
พยายามฆ่าตัวตาย แล้ว จะพบว่า ช่วงอายุของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จในประเทศ
ไทยอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี มากที่สุด และถ้าแบ่งตามเพศ จะพบว่า เพศชายฆ่าตัว
ตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิงถึง 4 เท่า แต่เพศหญิงมี แนวโน้มที่คิดจะฆ่าตัวตายได้
ง่าย และมีจำนวนมากกว่าเพศชาย
สถิติการฆ่าตัวตายตามพื้นที่ในประเทศไทย
สำหรับสถิติด้านพื้นที่ที่มีผู้ฆ่าตัวตายมากที่สุดในรอบหลายปีมาแล้ว จะพบว่า
ภาคเหนือของ ไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด ส่วนอัตราการฆ่าตัวตายต่ำสุดอยู่ที่
จังหวัดนราธิวาส
(ข้อมูลจากรมสุขภาพจิต)
วิธีการฆ่าตัวตาย
สำหรับการฆ่าตัวตายในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการแขวนคอ, ใช้ปืนยิง,
กินยาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าหญ้า
จากข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของคนไทยข้างต้น สามารถ
สะท้อนเรื่องราว, ปัญหา, ความจริงในสังคม, สิ่งที่รอการแก้ไข กับเราได้ในหลาก
หลายประเด็น ที่สำคัญตัวเลขเหล่านี้ควรจะลดลง… ซึ่งเราทุกคนสามารถดูแลตน
เองให้ห่างจากความคิดฆ่าตัวตายได้ หากเรารู้เท่าทันความรู้สึกของตนเอง และเรา
ทุกคนก็สามารถช่วยเหลือ และร่วมกันป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด คนที่
เราห่วงใยได้ โดยเฉพาะคนใกล้ตัว เพียงแค่ใส่ใจดูแล และห่วงใยกัน ตลอดจนมี
ข้อมูลความรู้ที่จะทำให้เข้าใจถึงสาเหตุของการคิดฆ่าตัวตาย เพื่อการป้องกัน ช่วย
เหลือ และดูแลคนที่คุณห่วงใยอย่างถูกทาง
ดูอัตราการฆ่าตัวตายรายจังหวัด/รายปี ได้ที่นี่ :กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข