เนื้อหาสำคัญของประเทศไทย

ประเทศไทย  
 
ราชอาณาจักรไทย     ธงชาติ ตราแผ่นดิน คำขวัญ: ไม่มีคำขวัญอย่างเป็นทางการ เพลงชาติ: เพลงชาติไทย
เพลงสรรเสริญพระบารมี: สรรเสริญพระบารมี
 
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด) กรุงเทพมหานคร
13°44′N 100°30′E ภาษาราชการ ภาษาไทย รัฐบาล รูปแบบประเทศ:
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1] หรือปรมิตตาญาสิทธิราชย์[2]
รูปแบบการปกครอง: ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา  -  พระมหากษัตริย์
(ประมุขแห่งรัฐ) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  -  นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สถาปนาเป็น  -  กรุงสุโขทัย พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 1911   -  กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310   -  กรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325   -  กรุงรัตนโกสินทร์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน  เนื้อที่  -  ทั้งหมด 513,115 กม.² (ลำดับที่ 50)  -  พื้นน้ำ (%) 0.4% ประชากร  -  2551 ประมาณ 63,389,730[3] (อันดับที่ 21)  -  2543 สำรวจ 60,606,947[4]   -  ความหนาแน่น 122/กม.² (อันดับที่ 85) GDP (PPP) 2551 ประมาณ  -  รวม $608.0 พันล้าน[5] (อันดับที่ 24)  -  ต่อประชากร $9,727[5] (อันดับที่ 83) GDP (ราคาปัจจุบัน) 2550 ประมาณ  -  รวม $273.248 พันล้าน[5] (อันดับที่ 34)  -  ต่อประชากร $4,405[5] (อันดับที่ 92) จีนี (2545) 42  HDI (2550) ? 0.783[6] (ปานกลาง) (อันดับที่ 87) สกุลเงิน บาท (฿) (THB) เขตเวลา (UTC+7) รหัสอินเทอร์เน็ต .th รหัสโทรศัพท์ +66

ประเทศไทย หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง โดยมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ในด้านภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับ 21 ของโลก ประมาณ 64 ล้านคน ประกอบด้วยเชื้อสายไทยประมาณร้อยละ 75 ชาวจีนร้อยละ 14 ชาวมาเลย์ร้อยละ 3 ได้มีการประมาณกันว่ามีผู้อพยพทั้งถูกและผิดกฎหมายในประเทศไทยประมาณ 2.2 ล้านคน

ในด้านวัฒนธรรม ประเทศไทยมีภาษาราชการคือภาษาไทย ขณะที่ท้องถิ่นต่าง ๆ มีภาษาถิ่นเป็นหลากหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นพายัพในภาคเหนือ ภาษาถิ่นอีสานในภาคอีสาน และภาษาถิ่นปักษ์ใต้ในภาคใต้ พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทกว่าร้อยละ 95 โดยวัฒนธรรมหลักของไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศทางตะวันตกประสมประสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

ในด้านการปกครอง ประเทศไทยมีรูปแบบประเทศเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และรูปแบบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันบัญญัติโดยรวมทั้งรูปแบบประเทศและรูปแบบการปกครองว่า ประเทศไทยมีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลกด้วย

// ประวัติศาสตร์
 
ตัวอย่างของเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งถูกค้นพบใกล้กับบ้านเชียง โดยสันนิษฐานว่ามีอายุกว่าสองพันปี

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในอดีต พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบันได้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าเป็นต้นมา และภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้มีรัฐเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไม่นานนัก โดยตามตำนานโยนกได้บันทึกไว้ว่า มีการก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 1400

นักประวัติศาสตร์ไทยเริ่มถือเอาสมัยอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 1781 เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งตรงกับสมัยรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง จนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 และศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองได้ย้ายไปยังอาณาจักรทางใต้ คือ กรุงศรีอยุธยาแทน โดยความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาสังเกตได้จากการทำการค้าขายกับรัฐเพื่อนบ้านหลายรัฐ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซียและชาวอาหรับ ไปจนถึงพ่อค้าชาวยุโรปหลายชาติ เช่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ

ครั้นเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของคนไทยเป็นเวลานาน 15 ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ถึงแม้ว่าจะถูกกดดันอย่างหนักจากชาติมหาอำนาจ แต่อาณาจักรสยามก็สามารถธำรงตนโดยเป็นรัฐเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกเลย แต่สยามก็ต้องรับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกเข้าสู่ประเทศอย่างมาก จนกระทั่งนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคมและวัฒนธรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การสูญเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ และดำรงบทบาทของตนเป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งสอง รวมไปถึงการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเสียเปรียบอีกจำนวนหนึ่ง

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรให้การยอมรับในขบวนการเสรีไทย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม และภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนแรกเป็นผลมาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นเวลาแล้ว 41 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญอีกสองครั้ง ได้แก่ เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยล่าสุดได้เกิดการก่อรัฐประหารขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ หลังจากได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

ชื่อประเทศไทย
 

คำว่า "สยาม" เป็นคำที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกอาณาจักรอยุธยา เมื่อราว พ.ศ. 2000 เดิมทีประเทศไทยเองก็เคยใช้ชื่อว่า สยาม มานับตั้งแต่ร

Credit: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
17 พ.ย. 52 เวลา 22:23 4,551 14 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...