จุฬาฯ เปิดตัวไส้เดือนดินไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลก

 

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – นักอนุกรมวิธานจุฬาเปิดตัวไส้เดือน

ไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลก หลังจากเริ่มสำรวจเมื่อปี 2552 เผยไทยเคยศึกษาและ

มีรายงานการพบไส้เดือนดิน 24 ชนิด เมื่อ 70 ปีก่อน หลังจากนั้นยังไม่พบรายงาน

ชนิดใหม่ ชี้สิ่งมีชีวิตขนิดนี้เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยในธรรมชาติ
       
       ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา นักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทมาติกส์ของสัตว์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไส้เดือนดินในประเทศไทยมีการรายงานครั้งแรก

เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว โดยมีการรายงานไว้ทั้งสิ้น 24 ชนิด (Gates, 1939) หลัง

จากนั้นแม้ว่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมบ้างแต่เป็นการศึกษาในบางพื้นที่เท่านั้นและยัง

ไม่เคยมีการรายงานชนิดใหม่เกิดขึ้น
       
       จนกระทั่งปี 2554 จากการที่ได้สำรวจไส้เดือนดินที่จังหวัดน่าน พบว่าไส้เดือน

ส่วนใหญ่จัดอยู่ในวงศ์ Megascolecidae พบทั้งสิ้น 18 ชนิด โดยมีไส้เดือนที่พบ

ได้ทั่วไปในพื้นที่คือ Amynthas alexandri, Metaphire anomala, M. houlleti, M.

peguana (ไส้เดือนขี้ตาแร่) และ M. posthuma (ไส้เดือนขี้คู้) ศ.ดร.สมศักดิ์และ

คณะได้มีการสำรวจเกี่ยวกับไส้เดือนมาตั้งแต่ปี 2552 และประสบความสำเร็จในการ

ค้นพบและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในปี 2554 อีก 5 ชนิดใหม่

ของโลก
       
       ไส้เดือน 5 ชนิดใหม่ของโลกที่ยังไม่มีการระบุชื่อสามัญ ได้แก่


       
       1.Amynthas borealis Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนดินขนาด

เล็กยาว 4-5 เซนติเมตร มีจำนวนช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) 1 คู่

ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศ

เมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ในขณะที่ช่องเปิดเพศผู้จำนวน 1 คู่ โดยระหว่างช่อง

เปิดเพศผู้บนปล้องที่ 18 จะนูนและมีสันยาวคมชัดขวางอยู่บนช่องเปิดเพศผู้ทั้งสอง
       
       ลักษณะภายใน ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่

diverticulum เป็นท่อยาว และไม่พบ genital marking glands (ช่องอวัยวะสืบพันธ์)
       
       สถานที่พบ : ไส้เดือนชนิดนี้พบอาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูนซึ่งเป็นภูเขาเล็กๆ ที่

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน และพื้นที่ป่าส่วนใหญ่กำลังถูกบุกรุกด้วยการ

แผ้วถางและเผาป่า
       
    

2.Amynthas phatubensis Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนดินขนาด

ปลานกลางยาว 8-15 ซม. มีจำนวน 85-114 ปล้อง ลักษณะสำคัญของไส้เดือนชนิด

นี้คือ มีช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) เพียง 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8

ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้อง

ที่ 14 ช่องเปิดเพศผู้แม้ว่าจะมองเห็นได้ยากแต่ก็สามารถสังเกตได้จาก genital

markings ที่จะพบเป็นจำนวนมากประมาณ 6 อันเรียงรายอยู่โดยรอบช่องเปิดเพศ

ผู้ นอกจากนี้ยังพบ genital markings จำนวน 1 คู่ บนปล้องที่ 17 และบริเวณ

ใกล้ๆ กับช่องรับสเปิร์ม คือ ปล้องที่ 7 และ 8 อีกด้วย
       
       ลักษณะภายใน ลักษณะของถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) เป็นถุงรูปไข่ขนาด

ใหญ่ และตรงโคน diverticulum จะคดงอแต่ส่วนปลายเป็นปุ่มกลม ลักษณะที่

สำคัญก็คือ พบ genital marking gland มีลักษณะเป็นก้อนติดอยู่กับผนังลำตัว

ด้านในตรงปล้องที่ 7 และ 8
       
       สถานที่พบ : ไส้เดือนชนิดนี้พบเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ตามเขาหินปูน บริเวณ

วนอุทยานถ้ำผาตูบ อ.เมือง จ. น่าน

       
       3.Amynthas srinan Panha & Bantaowong, 2011 ไส้เดือนขนาดเล็กยาว 3-

4 ซม. มีจำนวน 52-78 ปล้อง ลักษณะสำคัญของไส้เดือนชนิดนี้คือ มีช่องรับสเปิร์ม

(spermathecal pores) 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่

ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ส่วนช่องเปิดเพศผู้อยู่

ปล้องที่ 18 เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน และลักษณะเด่นของไส้เดือนชนิดนี้ก็คือ มี

genital markings เป็นคู่ จำนวน 4 คู่ บนปล้องที่ 7, 8, 17 และ 18
       
       ลักษณะภายใน ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีลักษณะคล้ายรูปไตอยู่ภายใน

ปล้องที่ 8 และจะพบ genital marking glands มีลักษณะแบบมีก้านชูอยู่ตำแหน่ง

เดียวกับ genital marking ที่พบอยู่ด้านนอก
       
       สถานที่พบ: เป็นไส้เดือนขนาดเล็กพบค่อนข้างชุกชุมในอุทยานแห่งชาติศรี

น่าน โดยจะพบอาศัยอยู่ตามใต้ซากใบไม้ทับถมที่เปียกชื้น

 


       
       4.Amynthas tontong Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนขนาดเล็ก

ยาวประมาณ 4 ซม. มีจำนวน 70-80 ปล้อง ลักษณะสำคัญคือมี มีช่องรับสเปิร์ม

(spermathecal pores) 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่

ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ส่วนช่องเปิดเพศผู้อยู่

ปล้องที่ 18 เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน และมี genital markings 1 คู่ อยู่ระหว่างปล้องที่ 18/19
       
       ลักษณะภายใน : ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีลักษณะคล้ายรูปนิ้วหัวแม่มือ diverticulum เป็นก้านตรงยาวส่วนปลายเป็นปุ่มกลม
       
       สถานที่พบ : พบที่น้ำตกต้นตอง อ. ปัว จ.น่าน

 


       
       5.Metaphire grandipenes Bantaowong & Panha, 2011 ไส้เดือนขนาด

ปานกลางประมาณ 10 ซม. จำนวน 195 ปล้อง มีช่องรับสเปิร์ม (spermathecal

pores) 3 คู่ ระหว่างปล้องที่ 5/6-7/8 ลักษณะเด่นของไส้เดือนชนิดนี้คือช่องเปิด

เพศผู้ (male pores) ซึ่งอยู่บนปล้องที่ 18 ยื่นยาวออกมานอกลำตัวอย่างชัดเจน

และมี genital markings ขนาดใหญ่อยู่บนปล้องที่ 19
       
       ลักษณะภายใน ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีรูปไข่ค่อนข้างกลม

diverticulum ขดไปมา และมี genital marking glands ขนาดใหญ่ติดอยู่บนปล้องที่ 19
       
       สถานที่พบ พื้นที่ป่าชุมชน ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน
       
       ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การค้นพบไส้เดือนดินชนิดใหม่ในจังหวัดน่าน

ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของงานอนุกรมวิธานไส้เดือนของไทยที่ห่างหายและไม่เคย

มีการรายงานมานานมากกว่า 70 ปี ที่สำคัญยังเป็นการค้นพบและรายงานโดยคน

ไทยอีกด้วย และคาดว่าประเทศไทยน่าจะมีความหลากหลายของไส้เดือนสูงไม่แพ้

ประเทศอื่นเพราะบ้านเรามีความหลากหลายทางระบบนิเวศสูง
       
       “ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในการสร้างสมดุลให้กับระบบ

นิเวศ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินและย่อยสลายซากอินทรียวัตถุต่างๆ จึง

เท่ากับเป็นการพรวนดินและสร้างอินทรีย์สารให้กับดิน ทำให้ดินร่วนซุย เหมาะต่อ

การเจริญเติบโตของพืช ไส้เดือนจึงเปรียบเสมือน “โรงงานผลิตปุ๋ยเคลื่อนที่” ให้

กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี” ศ.ดร.สมศักดิ์กล่าว
       
       ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยระหว่าง การประชุมครั้งที่ 1 อนุกรมวิธานและซิ

สเทมาติคส์ของไทยในประเทศไทย (The 1st Conference on Taxonomy and

Systematics in Thailand) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 พ.ค.นี้ ณ คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 3 มหาวิทยาลัย

ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอบแก่น และมหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยมีการนำเสนองานวิจัยทั้งที่เคยเผยแพร่ผ่านสื่อแล้ว และยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อน
       
       ภายในงานดังกล่าว มีนักอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ของประเทศไทย

จำนวน 200 คน เข้าร่วมงานมีการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับ พืช 60 เรื่อง สัตว์ 100

เรื่อง และจุลินทรีย์ 40 เรื่อง นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการรวมรวมนัก

อนุกรมวิธาน เพื่อเป็นการหาแนวร่วมในการพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับความหลาก

หลายทางชีวภาพของประเทศไทย

 



ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา

Credit: http://manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000053823
4 พ.ค. 54 เวลา 16:23 10,928 26 190
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...