นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ค้นพบกุ้งเต้นพันธุ์ใหม่ของโลก 2 ชนิดในทะเลสาบสงขลา
คณะวิจัยจากภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นำตัวอย่างสัตว์คล้ายกุ้ง จำพวกแอมฟิพอดชนิดใหม่
ของโลก หรือ กุ้งเต้น ในตะกอนดินทะเลสาบสงขลา 2 ชนิดมาแสดง
โดยชนิดแรกมีขนาด 2-3 มิลลิเมตรพบมากในทะเลสาบสงขลาตอนบน ซึ่งน้ำมี
ความเค็มต่ำ และพบแพร่กระจายลงมาในทะเลสาบสงขลาตอนกลางจนถึงตอน
ล่างบริเวณตำบลปากรอ
ส่วนอีกอีกชนิดมีขนาดเท่ากันลักษณะเด่นของแผ่นที่โคนหนวดคู่ที่ 2 เป็นชนิดที่
พบมากในช่วงน้ำมีความเค็มสูงพบหนาแน่นในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ตั้งแต่
บริเวณปากทะเลสาบ ถึง เกาะยอ และพบน้อยลงในช่วงฤดูฝน เพราะน้ำมีความ
เค็มต่ำ
ศ.เสาวภา อังสุภานิช คณะผู้วิจัย เปิดเผยว่า กุ้งเต้นชนิดใหม่นี้มีบทบาทสำคัญต่อ
ระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา เป็นองค์ประกอบหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร เพราะเป็น
อาหารของปลาและกุ้ง ช่วยบรรเทาความเน่าเสียของน้ำ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่กิน
สารอินทรีย์ในตะกอนดิน และช่วยให้มีการหมุนเวียนของอากาศและน้ำในตะกอนดินด้วย