หินอ้คนีพุ

 

 

 

 

 

หินอ้คนีพุ และวัฏจักรของหิน

 

 

 

       หินอัคนีพุ คือ หินอัคนีที่เกิดขึ้นจากหินหนืดเคลื่อนตัวขึ้นมาบนผิวโลก เรียกว่า ลาวา (lava) และแข็งตัวในบรรยากาศโลก ในกรณีที่เปลือกโลกมีรอยร้าว หินหนืดจะแทรกตัวขึ้นมาตามรอยร้าวนั้น (fissure eruption) ซึ่งในกรณีนี้ลาวาจะไหลแผ่ออกเป็นลานหินอัคนีในบริเวณกว้างซึ่งมักเป็นหินบะซอลท์ (plateau basalt) ในกรณีที่หินหนืดแทรกตัวขึ้นมาใต้มหาสมุทรจะทำให้เปลือกโลกยกตัวเป็นแนวเขา น้ำในมหาสมุทรทำให้ลาวาเย็นตัวอย่างรวดเร็วเป็นรูปแผ่นของการไหล (sheeted flow) หรือเป็นรูปหมอนข้าง (pillow) ในกรณีที่ช่องซึ่งหินหนืดแทรกตัวขึ้นมาเป็นรูแคบ (volcanic vent) ความดันที่สูงจะทำให้เกิดการระเบิด ก๊าซจะถูกพ่นขึ้นในอากาศและจะพาเอาลาวาลอยขึ้นไปด้วยและแข็งตัวในอากาศเป็นชิ้นส่วนที่เรียกว่า ไพโรคลาส ถ้าไพโรคลาสตกลงมาทับถมกันอย่างหลวมๆ จะเรียกว่า เทบพรา (tephra) ซึ่งจะแบ่งเป็นชนิดย่อยๆอีก 3 ชนิด คือ บอมบ์ (bomb) แลปปิลลิ (lapilli) และเถ้า (ash)

 

 

หินอัคนี (Igneous Rock)

               เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกแทรกดันขึ้นมาแล้วตกผลึกเป็นแร่ต่างๆ และเย็นตัวลงจับตัวแน่นเป็นหินที่ผิวโลก แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

- หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก มีผลึกแร่ขนาดใหญ่ (>1 มิลลิเมตร) เช่นหินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)

- หินอัคนีพุ (Extruisive Igneous Rock) หรือหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ผลึกแร่มีขนาดเล็กหรือไม่เกิดผลึกเลยเช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

 

วัฏจักรของหิน

การเปลี่ยนอุณหภูมิความกดดันการผุพังและการกัดกร่อนก่อให้เกิดวัฏจักรของหินบนโลกธาตุและแร่ต่างๆ
ที่เป็นองค์ประกอบของหินจะไม่ถูกทำลายไป แต่จะวนเวียนกลับมาเป็นส่วนประกอบของหินที่เกิดขึ้นใหม่

การเกิดหินอัคนี

                หินหนืดที่หลอมละลาย (1)เมื่อเย็นตัวลงจะตกผลึกแข็งตัวกลายเป็นหินอัคนีขบวนดังกล่าวอาจเกิดขึ้นบริเวณ ใต้เปลือกโลกที่มีการดันแทรกตัวของหินหนืดขึ้นมาในลักษณะพนังหิน (2) หรือที่ผิวเปลือกโลก การผุพังและการกัดกร่อน การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกทำให้หินอยู่ลึกลงไปขึ้นมาสู่ผิวโลก กระแสลม กระแสน้ำละลายการกลายเป็น น้ำแข็งทำให้หินบนพื้นโลกแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ขบวนการนี้เรียกว่า การผุพังธารน้ำแข็ง (3) และแม่น้ำ (5)  เป็นตัวการพัดพาเศษหินไปจากบริเวณที่มีการผุพังเดิม วิธีการนี้คือขบวนการกัดกร่อน  การตกตะกอนทับถมและการถูกแปรสภาพ เศษชิ้นส่วนของหินอาจทับถมเป็นตะกอนอยู่บนแผ่นดิน (6) ในทะเลสาบ (4) บริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (7)  หรือในท้องทะเล (8) เมื่อปริมาณตะกอนเพิ่มมากขึ้นการสะสมตัวจะมีลักษณะเป็นชั้นๆ น้ำหนักตะกอนตอน บนจะทำให้ตอนล่างอัดแน่นและประสานกันกลายเป็นหินชั้น ขบวนการแปรสภาพ (9) เกิดขึ้นหากหินชั้นจมตัว ลงไปและถูกความร้อน อิทธิพลของความร้อน และความดันทำให้หินที่มีแร่เดิมกลายเป็นหินที่มีแร่ชนิดใหม่

วัฏจักรของหิน

                ความร้อนและความดันทีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หินแข็งเกิดการหลอมตัวได้ (11) เช่นในกรณีที่เพลทสองแผ่นบนผืนโลกเคลื่อนตัวชนกัน (10) หินหลอมละลายอาจกลายมาเป็นหินหนืดใหม่ หินหนืดบางแผ่นก็จะประทุกลับขึ้นมาเป็นภูเขาไฟ (12) ระเบิดเป็นลาวา(13) และแข็งตัวกลายเป็นหินอัคนีอีกครั้ง หินหนืดก็มีวัฏจักรอยู่ใต้เปลือกโลกได้เช่นกัน เมื่อหินหนืดเย็นตัวจะกลายเป็นหินอัคนีในรูปของพนังหิน และวงจรของหินจะเริ่มขึ้นใหม่เช่นนี้เรื่อยไป
 

ข้อมูลจาก     

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2:%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B5

    http://www.tps.ac.th/~kusol/chapter8add.htm 

 

Credit: http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B8%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&hl=th&rlz=1T4GGLL_enTH429TH429&prmd=ivns&biw=990&bih=522&ie=UTF-8&sa=N&tab=iw
29 เม.ย. 54 เวลา 16:18 35,405 1 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...