เมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้เกิดกระแสข่าวลือทหารปฏิวัติ หลังโทรทัศน์ทั่วประเทศจอดับสนิท หรือ
จอดำ ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 น. จนกระทั่ง เจ้าหน้าที่ของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ให้
บริการดาวเทียมไอพีสตาร์ หรือ ไทยคม 4 และ ไทยคม 5 ต้องออกมาชี้แจงว่า ดาวเทียมไทยคม
5 ประสบเหตุปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณมายัง
ภาคพื้นดินได้ และไม่ได้เกี่ยวข้องทางการเมืองแต่อย่างใด
และด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง ที่ทำให้หลาย ๆ คน ต่างสนใจว่า ไทยคม 5 เจ้าปัญหาที่อยู่
ๆ ก็ไม่ยอมส่งสัญญาณมายังภาคพื้นดิน จนก่อให้เกิดข่าวลือทหารปฏิวัตินั้น มีประวัติความเป็นมา
อย่างไร วันนี้ ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขออาสาพาทุก ๆ ท่านไปทำความรู้จักกับดาวเทียมไทยคม 5 กันค่ะ
ต้นกำเนิดดาวเทียมไทยคม
ดาวเทียม หรือ "Satellite" คือ วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ อีกวัตถุหนึ่ง โดยวั
ตถุที่เคลื่อนที่นั้น อาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาก็ได้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ
"โครงการดาวเทียมสื่อสาร" เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม โดยในระยะเริ่มต้นโ
ครงการนั้น ได้ใช้วิธีเปิดประมูล เพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบ
ประมาณจาก ภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็น
บริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้น
มา เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาได้ถูกโอนไปที่ กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
ทั้งนี้ ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรม
หาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai
Communications ในภาษาอังกฤษ และปัจจุบันประเทศไทย มีดาวเทียมไทยคม ทั้งหมด 5 ดวง คือ
1. ดาวเทียมไทยคม 1 หรือ ดาวเทียมไทยคม 1A ,
2. ดาวเทียมไทยคม 2 , ดาวเทียมไทยคม
3 , ดาวเทียมไทยคม 4 และ ดาวเทียมไทยคม 5 แต่สามารถใช้งานได้จริงเพียง 4 ดวง โดย 2 ใน
4 ดวง เป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง
ความเป็นมาของ ดาวเทียมไทยคม 5
ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ที่ผลิต
โดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วย ย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอน
เดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ทำให้มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุม
พื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา โดยดาวเทียมไทยคม 5 ถูกใช้เป็นดาว
เทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home
(DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ทั้งนี้
ดาวเทียมไทยคม 5 ได้ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนดาวเทียม
ไทยคม 3 ซึ่งถูกปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
ข้อมูลเฉพาะของดาวเทียมไทยคม 5
การออกแบบ : ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน
กำลัง : อย่างน้อย 5,000 วัตต์ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
น้ำหนักเมื่อส่งขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ : ประมาณ 2,766 กิโลกรัม
มวลในวงโคจร : เมื่อเริ่มใช้งานจะมีน้ำหนักอย่างน้อย 1,600 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะมีน้ำหนัก อย่างน้อย 1,220 กิโลกรัม
อายุการใช้งาน : อย่างต่ำ 12 ปี
จำนวนช่องสัญญาณ : C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณ
ในย่านความถี่ซีแบนด์เท่ากับ 36 เม็กกะเฮิร์ซ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ (ความถี่
36 เม็กกะเฮิร์ซ 12 ทรานสพอนเดอร์ และความถี่ 54 เม็กกะเฮิร์ซ 2 ทรานสพอนเดอร์)
ตำแหน่งวงโคจร : 78.5 องศาตะวันออก
บริษัทนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร : บริษัท เอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส
พื้นที่การให้บริการของดาวเทียมไทยคม 5
ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศใน
ภูมิภาคอินโดจีน
- ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ด้วยเหตุการณ์จอดำที่เกิดขึ้น อาจทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ
สาร และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ต้องเตรียมหามาตรการมารองรับสถานการณ์ที่
อาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะหากในอนาคตดาวเทียมไทยคม 5 ยังเกิดปัญหาไม่สามารถส่ง
สัญญาณมายังภาคพื้นดินได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการดาวเทียมไทย
คม 5 ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ไม่อาจรับรู้ข้อมูลข่าวสารใด ๆ ได้เลย ทั้งยังทำให้ประชาชนเกิดความ
คลางแคลงใจ ด้วยไม่รู้ว่า เหตุที่ภาพโทรทัศน์ของตนเองกลายเป็นสีดำนั้น เกิดจากดาวเทียมมี
ปัญหา หรือเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองตามที่มีกระแสข่าวลือกันแน่
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)