เครื่องราง-ของขลัง....พลานุภาพแห่งกองทัพไทยในอดีต

เครื่องราง-ของขลัง... พลานุภาพแห่งกองทัพไทยในอดีต
 
**โปรดใช้วิจารญาณในการอ่านครับ**



ไสยศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยลัทธิเวทมนตร์ คาถาและวิทยาคม เป็นศาสตร์ศาสตร์หนึ่งที่แยกย่อยมาจากศาสตร์ 18 ประการของอินเดียโบราณ และเป็นที่มาของ “เครื่องรางของขลัง”

ไสยศาสตร์แทรกอยู่ใน ความเชื่อ ของคนไทยมาแต่โบราณ ไม่น้อยกว่า 700 ปี โดยแทรกอยู่กับความเป็น วิถีชีวิต ของคนไทย ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ไม่ว่าจะเป็น การทำน้ำมนต์ โกนผมไฟ ทำขวัญ ขึ้นบ้านใหม่ ทำบันไดผี การสะเดาะเคราะห์ ฯลฯ

จากหลักฐานบันทึกความทรงจำพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุตอนหนึ่งว่า... “ส่วน ตัวฉันเองจะเป็นใครแนะนำจำไม่ได้เสียแล้ว เกิดอยากเรียน วิชาอาคม คือวิชาที่ทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี ด้วย ‘เวทมนตร์’ และ ‘เครื่องราง’ ต่างๆ มีผู้พาอาจารย์มาให้รู้จักหลายคน ที่เป็นตัวสำคัญนั้นคือนักองค์วัตถา น้องสมเด็จพระนโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา...การศึกษาวิทยาคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะเด็กกำลังรุ่นหนุ่มเช่นตัวฉัน ด้วยได้ฟังเขาเล่าเรื่องและบางทีทดลองให้เห็นอิทธิฤทธิ์ กับทั้งได้สะสมมีเครื่องรางแปลกๆ ประหลาดที่ไม่เคยเห็น...”

อิทธิฤทธิ์ 'เครื่องรางของขลัง' ดับความกลัว เผชิญหน้าความตาย

ไม่ว่าวิทยาศาสตร์จะเจริญก้าวหน้าเพียงใด แต่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ไม่มีวันที่จะหมดไปจากมนุษยชาติได้ มิใช่เพียงแต่เมืองไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อในด้านไสยศาสตร์ หลายๆ ประเทศที่เจริญและพัฒนาแล้วก็ยังมีความเชื่อในด้านไสยศาสตร์ของประเทศนั้นๆ เพราะไสยศาสตร์ ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ เช่น สักยันต์แล้วตั้งตนอยู่ในศีลธรรม “ของ” นั้น ก็จะคงทนถาวรไม่เสื่อมและ ยิ่งเพิ่มความขลังยิ่งขึ้น

คำว่า ไสย นั้น มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง
“ไสยขาว” อัน หมายถึงวิชชาอันลึกลับใช้เวทมนตร์ ไปในทางที่ดี เช่นการทำเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเพื่อเป็นเมตตามหานิยม เมตตามหาเสน่ห์และอิทธิวิธี
“ไสยดำ” หมายถึงวิชชาที่กระทำคนให้เป็นไปต่างๆ นานา เช่น ปล่อยคุณไสย ปล่อยตะปูเข้าท้องคนอื่น ปล่อยหนังควายเข้าท้อง บิดลำไส้ ปล่อยผีไปทำร้ายผู้อื่นให้มีอันเป็นไปต่างๆ นานา นำบาตรวัดร้างไปฝังเพื่อทำให้บ้านแตกสาแหรกขาด เป็นต้น

กำเนิดเครื่องรางของขลัง
นายณัฐธัญ มณีรัตน์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าให้ฟังว่า ต้นกำเนิดของเครื่องรางของขลังเป็นสิ่งที่เชื่อกันทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ เพราะมนุษย์ต้องการความมั่นคงและความเชื่อมั่นทางจิตใจ โดยเฉพาะกลางศึกสงคราม ที่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัว และ ความตาย ดังนั้น “เลข ยันต์ และเครื่องรางของขลัง” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งความเชื่อในเรื่องราวเหล่านี้มาจากความเชื่อทางพุทธศาสนาเถรวาท ลังกาวงศ์ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวลังกา

แม้เครื่องรางของขลังจะไม่ปรากฏชัดในพุทธศาสนา แต่เมื่อสืบสาวราวเรื่องไปเมื่อสมัยครั้งพุทธกาล หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ทำให้ศาสนาพุทธไม่มีความเป็นเอกภาพ ทั้งยังมีคู่แข่งจากศาสนาพราหมณ์ และฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาที่เน้นพิธีกรรมที่เข้าถึงได้ง่ายมากกว่าพระพุทธศาสนาที่เน้น เรื่องปรั ชญาที่ลึกซึ้ง เข้าถึงได้ยากเป็นนามธรรมมากเกินไป แตกต่างกับการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามศาสนาพราหมณ์ และฮินดู เมื่อนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วจะประสบความสำเร็จ

ดังนั้น จึงเกิด “พุทธตันตระ” ขึ้นมาเป็นการรวบรวม 2 นิกายคือ พราหมณ์ และ ฮินดู เข้าด้วยกัน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “ยุคเครื่องรางของขลัง” โดยให้มี เวทมนตร์คาถาขึ้นมาเพื่ออำนวยผลให้มีความปลอดภัย และโชคลาภ โดยมีอุดมคติว่า มนุษย์มีความชาญฉลาดไม่เท่ากัน จำเป็นต้องพึงเวทมนตร์คาถา ต่อจากนั้นจึงเกิด มนตรา เลขยันต์เครื่องรางของขลัง จนในที่สุดก็เกิดเป็นมนตราญาณขึ้นมาในการบูชาเทวรูป

“ที่เห็นได้ชัดคือ วัดพุทไธศวรรค์ เป็นวัดที่สั่งสอนศิลปวิทยาสอนวิชาพิชัยสงคราม เวทมนตร์คาถา สอนกระบี่กระบอง เพื่อใช้ในการรบการศึกสงคราม เพราะปกติศาสนาพุทธเชื่อว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา” นายณัฐธัญ กล่าว

พลานุภาพเครื่องรางของขลัง
นายณัฐธัญ กล่าวต่อว่า การสร้างเครื่องรางของขลัง จะต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ 1.พระยันต์ 2.คาถาที่ใช้กำกับพระยันต์ และ 3.คาถาที่ใช้กับเครื่องรางของขลังนั้นๆ ซึ่งเครื่องรางของขลังที่ใช้ในการศึกสงครามสมัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ประเภทที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีพลานุภาพในตัวได้แก่วัตถุอาถรรพ์ต่างๆ มีเขี้ยวสัตว์ คดหิน สิ่งเหล่านี้เชื่อว่าเป็นของที่มี คุณวิเศษในตัวเอง จะปลุกเสกหรือไม่ก็ได้ 2. ประเภทที่มนุษย์สร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ขึ้นมาได้แก่ ผ้ายันต์ เชือกคาด ตะกรุด แบบต่างๆ ซึ่ง ในสมัยโบราณสิ่งเหล่านี้ จะไปใช้ในการสู้ศึกสงคราม ที่สำคัญในการสู้ศึกในกองทัพจะมีหลายชนชั้น ตั้งแต่พลทหาร จนไปถึง แม่ทัพนายกอง ซึ่งแต่ละกลุ่มคนจะใช้เครื่องรางของขลังเวทมนตร์คาถาแตกต่างกัน

“ระดับพลทหาร จะเป็นเพียงวิชาคงกระพัน แคล้วคลาดทั่วไปเท่านั้น แต่ในระดับแม่ทัพนายกอง จะเป็นเครื่องรางของขลังและเวทมนตร์คาถา ที่จะช่วยให้ทั้งกองทัพอยู่รอดและแคล้วคลาด อุปถัมภ์ค้ำชูพวกพ้องได้ เช่น วิชาแต่งคน หรือ นารายณ์คุมพล ซึ่งเป็นวิชาที่คนทั่วไปไม่ได้เรียน” นายณัฐธัญ กล่าว

“บ้างอยู่ด้วยรากไม้ไพรว่าน
บ้างอยู่ด้วยองค์อาจพระคาถา
บ้างอยู่ด้วยเลขยันต์น้ำมันทา
บ้างอยู่ด้วยสุราอาพัดกิน
บ้างอยู่ด้วยเขี้ยวงาแก้วตาสัตว์
บ้างอยู่ด้วยกำจัดทองแดงหิน
บ้างอยู่ด้วยเนื้อหนังเพชรนิล
ล้วนอยู่สิ้นคนทนศาสตรา”

นาย ณัฐธัญ กล่าวว่า บทกลอนนี้ได้สะท้อนถึงความเชื่อในเครื่องรางของขลังทั้งในสิ่งที่เกิดขึ้นใน ธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น เช่น ความเชื่อว่า ว่านยาต่างๆ เช่น กลิ้นกลางดง ที่เชื่อว่ากินเข้าไปแล้วจะคงกระพันชาตรี หรือ พลานุภาพจากยางไม้ ที่เล่าลือกันมากคือ "ยางโมกแดง" นำมาผสมกับน้ำมันงา หรือ "ไพรดำ" ที่เชื่อว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหมดนำมาเข้าพิธีกรรมพร้อมกับลงอาคมคาถาปลุกเสกด้วย

ที่ สำคัญในการท่องพระคาถา ผู้ปลุกเสกจะต้องมีการกักลม ในระหว่างหายใจเข้าพร้อมกับท่องพระคาถาให้จนจบบทก่อนจะหายใจออกด้วยจิตใจอัน สงบสุขจึ งจะถือได้ว่าพระคาถานั้นสัมฤทธิผล

พระ คาถาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก คือ บทมหาธรรมมืดเลื่องลือมากเรื่องความคงกระพันชาตรี จากนั้นจึงเรียกเข้าตัว ก็จะทำให้ผู้นั้นจะคงกระพัน ซึ่งเป็น วิชาของ แม่ทัพนายกอง ที่จะนำไปใช้ก่อนจะออกศึกสู้รบ เพราะจะได้ใช้วิชาเหล่านี้ทำให้ พลทหารเกิดขวัญกำลังใจ ไม่ให้รักตัวกลัวตาย แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าออกรบสงครามต้องไปตายแน่ๆ

ทั้งนี้ ยังมีเครื่องรางที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่น "เขี้ยวเสือโปร่งฟ้า" "เพชรตาแมว" "งากำจัด-งากำจาย" หรือ "คด" เม็ดมะขามเป็นทองแดง มีลักษณะคล้ายหินสีแดง และ "หนังเสือ" ที่จะนำไปใช้ทำกลองศึกกลองรบให้เป็นลีลาราชสีห์ เพื่อให้ศัตรูกลัว ถือเป็นเรื่อง คติชนวิทยา หรือ "กลอุบาย" การจะส่งคนไปตายจะทำอย่างไรไม่ให้คนเหล่านี้หวาดกลัวความตาย

"เจ้าพระยาบดินทรเดชาสิงหเสนี พระองค์ทรงเก่งมากในวิชา เสกน้ำมันงาแต่งคนไปรบ ให้มีความคงกระพันชาตรีแก่พลทหารที่จะไปออกศึกสงคราม ส่วนน้ำมันงาที่เหลือจะนำไปปลุกเสกสสร้างพระกรุในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่ง เรื่องราวเหล่ านี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ได้ว่ามีจริงหรือไม่ เพราะความเป็นจริงทหารที่ไปรบในสงครามก็ตายกันเป็นเบือ แต่ถ้าไม่มีเรื่องราวเหล่านี้ก็จะทำให้สงครามดูเป็นเรื่องแฟนตาซี" นายณัฐธัญ กล่าว

ทุกยุคเครื่องรางเคียงข้างสู้ศึก
นายณัฐธัญ กล่าวว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขณะนั้นอยู่ในยุคการเล่าอาณานิคมของประเทศทวีปยุโรป พระองค์กำลังจะไปพบปะเจรจากับตัวแทนของประเทศผู้ล่าอาณานิคม ซึ่งกาลครั้งนั้น "หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง" ได้ทำนายว่า ฝรั่งจะนำม้าพยศมาให้พระองค์ทรงลองขี่ หลวงปู่เอี่ยมจึงมอบพระคาถามงกุฎพระเจ้า ให้ พระองค์ทรงท่องจำ นำไปเสกหญ้าให้ม้ากิน สามารถปราบพยศม้าได้ หรือแม้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 "หลวงปู่นาถ วัดหัวหิน" จ.ประจวบฯ เป็นประธานในพิธีปลุกเสกพร้อมพระเถระที่มีชื่อเสียง ได้ร่วมกันปลุกเสก "พระมฤคทายวัน" มอบ ให้แก่ทหารที่จะไปออกรบสู้ศึกสงคราม และข้าราชบริพารต่างๆ แต่พอถึงปัจจุบันพระเครื่องเริ่มเฟื่องฟู กลายเป็นพุทธพาณิชย์ประชาชนทั่วไปหาซื้อได้ง่าย แตกต่างจากสมัย่กอนที่จะต้องให้บุคคลสำคัญที่มียศฐาบรรดาศักดิ์เท่านั้น มีไว้ในครอบครอง

“วิกฤตการเมืองขณะนี้ เครื่องรางของขลังที่ควรพก ติดตัวคืออะไรก็ได้ เพราะ สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เครื่องราง แต่อยู่ที่ตัวผู้พกและเครื่องรางต้องประสานกัน กล่าวคือ ผู้พกเครื่องรางต้องมีจิตใจนับถือศรัทธาปฏิบัติตาม “มรรคา” จริงๆ แม้ว่าจะพกติดตัวอะไรก็ตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็จะตายได้ทั้งนั้น แม้ว่าจะพก ติดตัวพระวัดระฆัง หรือ จตุคามฯ ก็ตายได้”นายณัฐธัญ กล่าวทิ้งท้าย


นายมิกกี้ ฮาร์ท นักวิชาการชาวพม่า กล่าวว่า มหาเถระคันฉ่อง ที่เชื่อกันว่า เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประสิทธิ์ประสาทวิชาคาถาอาคมต่างๆ ทำให้เกิดกิริยาปาฏิหาริย์รวมถึงกลศึกสู้รบนั้น มหาเถระ คันฉ่องในประวัติศาสตร์พม่าไม่มี หรือแม้แต่ที่ร่ำลือว่า มหาเถระคันฉ่องเป็นคนชนชาติมอญก็ไม่ปรากฏพบในประวัติศาสตร์ของพม่าแต่อย่าง ใด แต่เชื่อว่าสาเหตุที่มีความเชื่อว่ามหาเถระคันฉ่องเป็นชาวมอญ นั้น เพราะมอญกับพม่าเป็นศัตรูกัน ดังนั้นไทยจึงถือว่า ศัตรูของศัตรูเป็นมิตรของเรา

ด้าน นายศรีศักร วัลลิโภดม นักประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ในสมัยที่พระนเรศวรออกรบยังไม่มีบันทึกว่าพระองค์ใช้เครื่องรางของขลังอะไร แต่จะมีบันทึกเมื่อปลายสมัยอยุธยาตอนปลายว่าคนสมัยนั้น มีการใช้เครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะในยามศึกศงคราม เช่น ผ้า ประเจียก ยันต์ ตะกรุด ที่สำคัญในสมัยก่อนจะไม่นำ พระเครื่องมาแขวนหรือห้อยติดตัว เพราะมีความเชื่อว่า ร่างกายเป็นสิ่งบริสุทธิ์ ส่วนพระเครื่องที่สร้างปลุกเสกขึ้นมาส่วนใหญ่จะนำไปถวายพระ

แต่ต่อมาเมื่อช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงนั้นได้รับอิทธิพลความเชื่อจีนที่แพร่เข้ามาอย่างมากและรวดเร็ว เรื่อง “เครื่องกายสิทธิ์” ยุคแห่งเครื่องรางของขลังจึงถือกำเนิดขึ้น เช่น พระโคนสมอ ถามว่าทำไมสิ่งเหล่านี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างรวดเร็ว เพราะว่าตอนนั้นคนไทยอยู่ในช่วงภาวะศึกสงคราม บ้านเมืองแตกความสามัคคี มีความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิต

นายศรีศักร กล่าวต่อว่า ในสมัยโบราณไทยสู้กับพม่า แต่พอมาถึงรัชกาลที่ 4 และ 5 ที่สู้รบกับการไล่ล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยต้องส่งคนไปรบในสงครามอินโดจีน หลังจากนั้นไม่นานความเชื่อแบบจีนและเขมรก็เข้ามาที่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ จนมีพระเครื่องวัตถุมงคล สร้างวัดวาอาราม เน้นพิธีกรรมทางศาสนากระเดียดไปทางไสยศาสตร์ ที่ต้องการปลุกความมั่นคงความปลอดภัย และความ สบายใจของมนุษย์


www.khalong.com/board2/viewthread.php?tid=296
__________________
ร่วมบริจาคกับโครงการของเว็บพลังจิตเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาไปทั่วโลก l ขอเชิญร่วมงานทอดกฐินเพื่อนำเงินสมทบทุนการก่อสร้างเมรุเผาศพ l ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ l ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือ
Credit: พลังจิตดอดคอม
22 เม.ย. 54 เวลา 06:48 7,806 14 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...