เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนไร้คนขับ Phantom Eye |

"โบอิง" เปิดตัวเครื่องบินไร้คนขับพลังงานไฮโดรเจน ที่สามารถบินได้ต่อเนื่อง 4 วัน และ

สามารถบินสูงถึง 20,000 เมตร โดยเครื่องบินต้นแบบนี้ จะถูกส่งไปยังศูนย์วิจัยการบิน

ของ NASA เพื่อเครียมทดลองบินเที่ยวแรกต้นปี พ.ศ. 2554 เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน

ไร้คนขับนี้มีชื่อว่า "Phantom Eye" หรือ "ตาปีศาจ"

เครื่องบินต้นแบบนี้จะถูกขนส่งไปยังศูนย์ วิจัยการบินดรายแดน (Dryden Flight

Research Center) ของ NASA ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อ

เตรียมทดสอบการบินเที่ยวแรกต้นปี พ.ศ.2554 ซึ่งเครื่องบินนี้เป็นผลงานจากหน่อยวิจัย

"Phantom Worke" (แฟนทอมเวิร์คส) และทีมพัฒนาที่เป็นความลับของโบอิง

โบอิงระบุว่า ในที่สุดเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนนี้ ต้องมีความฉลาดอยู่ในตัวและ

สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง และบอกด้วยว่า เครื่องบินลำนี้รองรับเที่ยวบินทรหดได้

อย่างยาวนาน เพราะมีระบบพลังงานไฮโดรเจนที่เบาลง และทรงพลังขึ้น

คริ ส แฮดดอกซ์ (Chris Haddox) จากหน่วยวิจัยแฟนทอมเวิร์คส กล่าวว่า ในปี พ.

ศ.2532 ทางบริษัทเคยทดลองบิน "Condor" ยานไร้คนขับที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป

ซึ่งบินได้นาน 60 ชั่วโมงและเป็นเวลายาวนานที่สุดแล้วที่ทำได้

"ตอนนี้เรากำลังพูดถึงการบินยาวนาน 96 ชั่วโมง" แฮดดอกซ์ กล่าว

ทั้งนี้ โบอิงอธิบายว่าเครื่องบิน Phantom Eye ใช้พลังงานไฮโดรเจน 2.3 ลิตร โดยมี

เครื่องยนต์ทรงกระบอก 4 ชุดที่แต่ละชุดให้ กำลัง 150 แรงม้า และตัวเครื่องมีขนาดใหญ่

มาก ด้วยความกว้างของปีกที่ยาวถึง 46 เมตร

ด้านกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร (UK Ministry of Defence: MoD) สนใจ

ในเครื่องบินที่มีความทนทานและบินได้ในระดับสูง เพื่อใช้ในการตรวจตรา และกำลัง

พิจารณาอย่างถ้วนถี่ในเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อ

บรรลุเป้าหมาย "โครงการบริโภคซากอินทรีย์" (Scavenger project) โดยกระทรวง

กลาโหมมีความร่วมมือกับ ควินทิค (Qinetiq) บริษัทพัฒนาอากาศยานและการป้องกัน

ภัย ซึ่งกำลังจะบรรลุความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ที่เรียก ว่า

"เซไฟร์" (Zephyr) ที่จะถูกพัฒนาขึ้นถัดจากเจ้า Photom Eye ลำนี้

 

Credit: http://science.gsplug.ws/phantom-eye/
20 เม.ย. 54 เวลา 15:59 3,139 3 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...