หลายๆคนคงเคยสงสัยเหมือนกันว่า ในสมัยก่อน
ที่วิถีชีวิตของคนไทยเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงาน
และคลุกคลีอยู่กับดินกับป่านั้น
เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ใส่แต่ละวันก็คงจะสกปรกเอาเรื่อง
แล้วชาวสยามในสมัยก่อนนั้นเค้าขจัดคราบสกปรกบนเสื้อผ้าได้ยังไงกัน
วันนี้มีคำตอบสำหรับข้อสงสัยนี้มาเล่าให้ฟังค่ะ
หากเปรียบเทียบระหว่างสมัยก่อนกับสมัยนี้แล้ว
หญิงชาวสยามสมัยก่อนจะมีอุปกรณ์การซักผ้าอย่างหนึ่งที่เราไม่เห็นกันแล้วสมัยนี้
นั่นก็คือไม้ทุบผ้า.. ที่เอาไว้ทุบคราบเหงื่อไคลบนเสื้อผ้าออก
ซึ่งการทุบให้คราบออกได้นั้น ก็จะต้องใช้แรงเยอะเลยค่ะ
กว่าจะซักเสร็จเนี่ย.. เรียกว่ากล้ามขึ้นกันเลย
แต่หากเป็นคราบสกปรกที่ติดแน่นหน่อย หญิงสยามจะใช้น้ำด่างจากขี้เถ้าไม้แสม
(หรือก็คือน้ำที่ได้จากการนำขี้เถ้าไม้แสมมาต้ม แล้วทิ้งค้างคืนไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอน)
มาใช้เป็นน้ำแช่ผ้าเพื่อสลายคราบสกปรกก่อนนำไปทุบหรือขยี้
หลังจากทุบหรือขยี้เสร็จแล้วก็อาจจะมีการนำไปต้มในลังถึง(ซึ้ง) เพื่อขจัดคราบเหงื่อไคล
ก่อน แล้วจึงนำมาล้างตากได้
และนอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้หอมหัวใหญ่ฝานแล้วทาลงบนคราบก่อนซักได้อีกด้วยนะ
คะซึ่งมีคุณสมบัติขจัดคราบสกปรกได้ดี โดยเฉพาะผ้าเนื้อหนาอย่างผ้าไหมค่ะ
คนไทยใช้วิธีเหล่านี้ในการซักผ้ามานมนาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2470
เพราะพอสบู่เข้ามาในสยามตอนนั้น
ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยไปหลายๆอย่าง
ซึ่งง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
จากการใช้ไม้ทุบผ้าซักผ้า.. ชาวสยามก็เริ่มใช้สบู่ซักผ้าแทน
จากการใช้มะขามเปียกอาบน้ำ.. ชาวสยามก็เริ่มใช้สบู่อาบน้ำแทน
จากการใช้มะนาวล้างจาน.. ชาวสยามก็เริ่มใช้สบู่ล้างจานแทน
สบู่สมัยนั้นเรียกว่าเป็นสบู่เอนกประสงค์เลยทีเดียวค่ะ
ก้อนเดียวใช้ชำระล้างคราบสกปรกได้ทุกอย่าง
แล้วสบู่สมัยนั้น ก้อนเท่าบ้านเลยนะเออ
อย่างสบู่ซันไลต์ ก้อนเบ้อเร่อแบบนี้
โดยยี่ห้อแรกที่มีขายคือ “พรรณอร” (ซื้อได้ที่รถขายยาเท่านั้น)
ซึ่งเป็นผงซักฟองที่ต้องละลายในน้ำเดือด ก่อนนำผ้าแช่ลงไปในนั้นแล้วบิดตาก
แต่ด้วยความที่มีกลิ่นสารเคมีค่อนข้างฉุน จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ชาวสยามก็ได้รู้จักกับผงมหัศจรรย์ชนิดใหม่
ที่มีกลิ่นหอม และมีวิธีการซักที่ง่าย เพียงละลายกับน้ำแล้วนำผ้าลงขยี้
และแน่นอน.. ผงมหัศจรรย์ชนิดใหม่ที่ว่ามันจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก..
ก่อนที่ผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดต่างๆจะถูกพัฒนาและมีให้เลือกใช้กันเกลื่อนมาจนถึงทุกวันนี้