เมืองผี....ราคาที่ต้องจ่ายให้หายนะนิวเคลียร์

อุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรง

ที่สุดในปัจจุบัน ...ผ่านมาแล้ว25ปี ปัจจุบันก็ยังเป็นเมืองร้าง...เมื่อเร็วๆนี้ทางยูเครน

ได้จัดทัวร์สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าไปชมซากความหายนะ จะมีใครสนใจไปดูไหม...

 



ภาพการกลายเป็น "เมืองผี" คือ ราคาที่ต้องจ่ายหลังหายนะจากนิวเคลียร์ (เอเอฟพี)



“ระวังนะ ... อย่าจับอะไรด้วยมือเปล่า” เสียงเตือนของไกด์ ในจังหวะที่ ริชาร์ด อิงแฮม (Richard Ingham) ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีและคณะกำลังก้าวเข้าสู่โรงเรียนอนุบาลในเมืองพริพยาต (Pripyat) ของยูเครน พร้อมกันเสียงร้องของหัววัดไกเกอร์ (Geiger counter) เครื่องมือวัดรังสีที่ดังตลอดเวลา ราวกับเสียงขู่ของงูหางกระดิ่งที่โกรธจัด


พริพยาตที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองในฝัน แต่อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้เปลี่ยนให้เมืองนี้กลายเป็น “เมืองผี” ไปโดยปริยาย โดยสภาพเมืองที่ถูกทิ้งร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่

 


ภาพซากของเล่นในโรงเรียนอนุบาลที่ถูกฝุ่นหนาเกาะเนื่องจากไม่ถูกรบกวนจากสิ่งใดๆ (เอเอฟพี)


ที่พื้นและชั้นวางของในโรงเรียนอนุบาล มีลูกบาศก์พลาสติก ตุ๊กตาหมีและหนังสือเด็กวางกอง แต่ของเล่นเหล่านี้มีฝุ่นสีขาวจับหนาเพราะวางอยู่อย่างนั้นมาเกือบ 3 ทศวรรษ และรายล้อมเล่นเหล่านั้นมีหน้ากากกันแก๊สขนาดสำหรับเด็กอยู่ แล้วสิ่งเลวร้าย ได้ทำให้เด็กที่ไร้เดียงต้องระเห็จออกจากสถานที่แห่งนี้ สาเหตุเพราะลมที่พัดพามาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตร และเมืองพริพยาตได้กลายเป็นอีกหนึ่งราคาที่ต้องจ่ายสำหรับหายนะนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดของโลก
   
   
หลังการระเบิดของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เมื่อวันที่ 26 เม.ย.1986 ประชากรทั้งหมดของเมืองพริพยาตราวๆ 50,000 คน ต้องอพยพออกไป เพราะอุบัติเหตุครั้งนั้นได้พ่นสารกัมมันตรังสีมัจจุราช ทั้งซีเซียม สตรอนเทียม ไอโอดีน และพลูโตเนียมออกมา

 


ภาพนักท่องเที่ยวที่มีไม่มากนักนักรถทัวร์ชมเมืองพริพยาต เมืองที่สร้างขึ้นมาเพื่อคนงานของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (เอพี)


“พริพยาตเคยเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่น่าอาศัยอยู่มากที่สุดในสหภาพโซเวียต ที่นี่เคยเป็นสถานที่อันสุขสำราญอย่างยิ่ง มีบ้านดีๆ มีโรงเรียนดีๆ มีครอบครัวรุ่นใหม่ มีร้านค้าซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งของที่ไม่สามารถหาที่ไหนได้” นิโกไล โฟมิน (Nikolai Fomin) เยาวชนชาวยูเครนผู้รับหน้าที่คุ้มกันนักท่องเที่ยว ที่เข้าไปชมพื้นที่หวงห้ามในรัศมี 18 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลกล่าว
   
   
สระว่ายน้ำของเมือง เหลือแต่เศษแก้วและเศษกระเบื้องที่แตกหักเสียหาย ร่องรอยการเตรียมพร้อมจัดงานฉลองวันแรงงาน (May Day) ในปี 1986 ยังคงหลงเหลือให้เห็น โดยที่ชาวเมืองไม่มีโอกาสได้ร่วมฉลองงานดังกล่าว ซากรถที่เคลือบด้วยสนิมจอดนิ่งหลังการถูกใช้งานครั้งสุดท้า ยและไม่ได้เขยื้อนไปไหน

 


ภาพมียามเพียงไม่กี่คนเฝ้าพื้นที่ในเมืองพริพยาตซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น
"เมืองผี" (เอพี)


จตุรัสของเมืองสัญลักษณ์ค้อนและเคียวของอดีตสภาพโซเวียตขึ้นสนิมอยู่ในหอวัฒนธรรม (Hall of Culture) โถงด้านหลังที่ดูแล้ว น่าจะเป็นห้องโถงประชาคมมีใบประกาศของเลนนิน (Lenin) และผู้นำโซเวียตกองซ้อนทับกัน เพื่อเตรียมรับขบวนพาเหรดในวันที่ 1 พ.ค.ของปีนั้น แต่ก็ไม่ได้ถูกใช้งานอีกเช่นกัน  ทุกวันนี้ ต้นไม้แทงรากลงไปบนถนนราดยางมะตอยที่ไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานาน ต้นหญ้าก็เติบโตตามรอยแยกของถนน ใบไม้แห้งส่งเสียงกรอบแกรบไปแรงลม ส่วนหน้าต่างอพาร์ทเมนต์ก็ดูคล้ายดวงตาอันเลือนลอยที่จ้องลงไปบนถนน
   
   
“ทุกสิ่งที่นี่ ล้วน (เคย) เป็นสิ่งใหม่ ทุกอย่าง (เคย) ทันสมัย เมืองพริพยาตจากไปในวัยแค่ 16 ปี” โฟมินกล่าว

 



นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเมืองร้างนี้แบบผ่านๆ ด้วยรถโดยสาร จะได้อุปกรณ์วัดระดับปริมาณรังสีที่ได้รับ ผ้าเช็ดมือ น้ำที่ผ่านกระบวนการจำกัดสารพิษและเสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน แต่นอกจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอย่างประเดี๋ยวเดียวแล้ว อย่างอื่นที่เหลือก็ดูไม่มีชีวิตจิตใจ “มีสัตว์เข้ามา แต่สัตว์เหล่านั้นไม่กลัวคน” โฟมินบอก
   
   
การอพยพคนในเมืองพริพยาตและจากหมู่บ้านอื่นๆ ในพื้นที่ต้องทำการควบคุมพิเศษ การผนึกเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย การทำความสะอาดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การตรวจตราพื้นที่ปนเปื้อนจากฝุ่นกัมมันตรังสี เหล่านี้เป็นราคาอันไม่อาจประเมินที่ยูเครนต้องจ่าย แม้กระทั่งทุกวันนี้ ประเทศที่แยกตัวออกจากโซเวียตนี้ ยังต้องใช้งบประมาณของประเทศ 5% เพื่อชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุเชอร์โนบิล ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้คนในพื้นที่ปนเปื้อนเพื่อซื้ออาหารสะอาดมาบริโภค

 


เบราลุสและรัสเซียเอง ก็ได้รับผลกระทบอันเลวร้ายไม่ต่างกัน โดยทั้ง 3 ประเทศซึ่งรวมยูเครนด้วยนั้น ต้องอพยพประชาชนมากกว่า 330,000 คน และจากเวทีประชุมว่าด้วยเรื่องเชอร์โนบิลโดยเฉพาะ เมื่อปี 2005 ที่จัดขึ้นโดย 3 ประเทศผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมอีก 7 หน่วยงานของสหประชาชาติ และธนาคารโลก ประเมินว่า นับแต่เกิดเหตุจนถึงปี 2005 นั้น มีค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเหตุดังกล่าว “หลายล้านล้านดอลลาร์”

 

 


กลับมาดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi) ของญี่ปุ่น ในแง่ของจำนวนคนเสียชีวิตและมลพิษทางรังสีที่เกิดขึ้น ยังห่างไกลกรณีเชอร์โนบิลมาก ทว่า มัลคอล์ม กริมสตัน (Malcolm Grimston) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนิวเคลียร์จากสถาบันชาธัมเฮาส์ (Chatham House) ในอังกฤษกล่าวว่า เรายังไม่ทราบว่า การอพยพรอบโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะต้องใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน และคาดว่าการทำความสะอาดโรงไฟฟ้าต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปี

 



กริมสตันกล่าวว่า ฟูกูชิมะจะมีค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูที่สูงกว่าเชอร์โนบิล เพราะยิ่งประเทศพัฒนาไปมากเท่าไหร่ มูลค่าการทำความสะอาดเก็บกวาดก็จะสูงตามไปด้วย อีกทังยังรวมถึงภาคธุรกิจที่หยุดชะงักด้วย“อย่างไรก็ดี เป็นการยากที่จะแยกความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายระหว่างความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว สึนามิ และความรับผิดชอบของเท็ปโกเอง” บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค (Tokyo Electric Power Co.) หรือเท็ปโก (TEPCO) ให้ความเห็น
   
   
นับแต่แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มี.ค.มูลค่าของบริษัทเท็ปโกได้ได้ลดลงไปต่ำกว่า 4 ใน 5 ของมูลค่าก่อนหน้านั้น และมูลค่าที่ต่ำลงไปมากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าบริษัทอาจเผชิญกับการเรียกร้องมากกว่า 10 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท.

 


คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง


   วิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่นทำท่าแผ่ลามไปทั่วโลก (ตอนแรก)
   วิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่นทำท่าแผ่ลามไปทั่วโลก (ตอนจบ)
   แพทย์ญี่ปุ่นแนะเก็บ “สเต็มเซลล์” คนงานฟูกูชิมะ ป้องกันไว้ก่อน
   ญี่ปุ่นคาดใช้เวลา 10 ปีทำลายเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิมะ
   วิกฤต‘ฟูกูชิมะ’คือจุดเริ่ม‘ยุคน้ำแข็งแห่งพลังงานนิวเคลียร์’

 


ที่พริพยาตทุกวันนี้เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว ถนนของเมืองรก
โรงเรียน อพาทเมนท์ และร้านค้า พังทลายตามกาลเวลา ตั้งแต่ของเล่น
ในโรงเรียนอนุบาล โฆษณาชวนเชื่อในยุคโซเวียต ที่ถูกลืม การเดินเล่น
ผ่าน Pripyat  ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นฉากหนึ่งในฮอลลีวูด



หนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวอยากเข้าชมที่สุดคือสวนสนุกที่เปิดตัวในในช่วง
ไม่กี่วันก่อนเกิดการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ ชิงช้าสวรรค์ที่ไม่เคยเปิดใช้
ซึ่งบัดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่อาจลืมของภัยพิบัติ

 


ไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเมืองสวยๆอย่างฟูกูชิมาเลย  อุโมงค์ซากุระ  
ทุ่งดอกไม้หลากสีที่ขึ้นชื่อ สวนฮานามิยามะและแหล่งน้ำแร่ ธรรมชาติสวยๆนี้
ไม่ควรจะเป็นซาก......เหมือนที่  Pripyat

 


ภาพคนที่ไม่สามารถออกมาจากพริตยาตได้...และต้องมีชะตาชีวิตนอนรอความตายอย่างเดียว...

 



ขอบคุณที่มาของบทความ, ภาพและคลิป...


http://61.19.252.182/~playfc/www2/bbs/viewthread.php?tid=13212


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000044038


http://www.postjung.com/external.php?url=http%3A%2F%2Fwww.life.com%2Fimage%2Ffirst%2Fin-gallery%2F49261%2Fchernobyl-unlikely-tourist-spot%23index%2F24


http://www.kiddofspeed.com/chernobyl-land-of-the-wolves/author.html


http://www.youtube.com/watch?v=pVgazZLQI1U&feature=player_embedded


http://www.youtube.com/watch?v=F8xJiA8gkWo&feature=player_embedded

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Credit: http://atcloud.com/stories/95142
20 เม.ย. 54 เวลา 09:39 12,279 41 340
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...