ขวดพลาสติกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

โดยการประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า บริษัทวางแผนจะลงทุน 24 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

(ประมาณ 700 ล้านบาท) ร่วมกับบริษัท ECO Plastics (ซึ่งจะร่วมลงขันประมาณ 5

ล้านดอลล่าร์) เพื่อสร้างโรงงานรีไซเคิลขวดพลาสติกในเมืองลินคอนเชียร์ และ

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โคคาโคล่าก็ได้ทำข้อตกลงเพื่อจะขายพลาสติกที่ผลิต

จากโรงงานให้บริษัทไฮนซ์ ซึ่งจะเริ่มใช้พลาสติกนี้กับซอสมะเชือเทศและเครื่อง

ปรุงรสอื่นๆ ในเดือนมิถุนายน

ข้ามฟากมาที่สหรัฐอเมริกา ธุรกิจเครื่องดื่มเจ้าใหญ่อีกแห่งหนึ่ง คือบริษัท โซดา

สตรีม ก็เพิ่งประกาศตัวไปว่าเร็วๆ นี้บริษัทจะบรรจุเครื่องดื่มในขวดพลาสติกที่

สามารถย่อยสลายได้ในการฝังกลบภายใน 5 ปี เทียบกับขวดพลาสติกปกติใช้

เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี ก็เท่ากับลดระยะเวลาลงถึง 90 เท่า

ขวดโซดาสตรีมแบบใหม่ที่เรียกว่า "ขวดชีวภาพ" (Bio Bottles) ผลิตขึ้นโดยเติม

สารจากบริษัท Bio-Tec Environmental เข้าไปในกระบวนการผลิตตามปกติ ซึ่ง

จะใช้กับส่วนขวด ฝา และพลาสติกห่อหุ้ม ซึ่งทำให้ส่วนประกอบทุกส่วนสามารถ

ย่อยสลายได้ในธรรมชาติหรือนำไปรีไซเคิลได้

ถึงแม้ว่าโคคาโคล่า ไฮนซ์ และโซดาสตรีม จะนำเสนอว่าการลงทุนการรีไซเคิล

การเติมสารย่อยสลาย และไม่ใช้ปิโตรเลียมในการผลิตพลาสติก ล้วนช่วยลด

ปริมาณขยะฝังกลบ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าบริษัทใหญ่ๆ เหล่านี้จะต้องลงทุนอีกมาก

แค่ไหน เราถึงจะเห็นการแก้ไขความเสียหายต่อโลกเราที่ได้ก่อกันไว้

จากการศึกษาของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้ มีตัวเลข

ว่า ในปี 2009 มีปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก (รวมทั้งขวด) กว่า 12.53

ล้านตันที่สิ้นสุดด้วยการฝังกลบในสหรัฐ

นอกจากสารเคมีอื่นๆ และผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายแล้ว พลาสติกส่วนมากที่ใช้

ในอาหารและเครื่องดื่ม มีสารเร่งฮอร์โมนเอสโตรเจน ในอีกความหมายหนึ่งของ

สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) ระบุว่า "พลาสติก

เหล่านี้มีความสามารถที่จะแทรกซึมเข้าสู่ระบบต่อไร้ท่อในร่างกายและและส่งผล

เสียต่อกายภาพ"

รู้อย่างนี้แล้ว บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในประเทศไทยอย่ารอช้าอยู่เลย น่าจะลงทุน

ผลิตขวดพลาสติกย่อยสลายได้หรือรีไซเคิลอย่างครบวงจรดู เพื่อแสดงความรับ

ผิดชอบต่อสังคมบ้าง

...แต่จะให้ดีที่สุด "ลด"การใช้พลาสติกด้วยการพกกล่อง กระติก ฯลฯ เป็นวิธีที่ใช้

เงินน้อยที่สุด และเห็นผลมากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.greenworld.or.th/greenworld/foreign/1207

 

Credit: http://campus.sanook.com
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...