วิทยาศาสตร์ กับ แฮร์รี่พอตเตอร์
แฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดน้อย โดยที่ในตอนแรก(และฉบับภาพยนตร์)ก็กล่าวถึงช่วงเวลาที่แฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าสู่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ เพื่อเรียนเวทมนตร์และศาสตร์อื่นๆ
ผู้คนจำนวนไม่น้อยในยุคนี้อันเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเฟื่องฟูก็มักจะนึกไปเอง โดยอัตโนมัติว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่พิสูจน์ไม่ได้และงมงาย ในขณะที่อีกหลายคนก็อยากจะจัดให้แฮร์รี่ พอตเตอร์อยู่ในหมวดของนิยายวิทยาศาสตร์แนวแฟนตาซีด้วยซ้ำไป จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่หากเราจะลองใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ ในปัจจุบันมาอธิบายเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือและภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว
มารู้จักกับอีกแง่มุมหนึ่งของแฮร์รี่ พอตเตอร์ แง่มุมที่คนพูดถึงกันน้อยมากนั่นก็คือ เราจะมาวิเคราะห์เกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ในแง่มุมทาง วิทยาศาสตร์ กัน
ชานชาลาหมายเลขเก้าเศษสามส่วนสี่
เด็กนักเรียนทุกคนที่จะเดินทางมาที่โรงเรียนสอนพ่อมดและแม่มดฮอกวอตส์ จะต้องมาจับรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อ รถด่วนฮอกวอตส์ ที่สถานีคิงส์ครอสซึ่งก็ไม่น่าจะประหลาดอะไร แต่ปัญหาที่เด็กๆ แต่ละคนต้องไขให้ได้ก็คือ ชานชาลาที่รถด่วนขบวนดังกล่าวจะจอดซึ่งมีหมายเลข เก้าเศษสามส่วนสี่ นั้นอยู่ที่ใดกันเแน่!
ในโลกแห่งความเป็นจริงมีชานชาลาลับที่เปิดแบบผลุบๆ โผล่ๆ ด้วยวิธีการเฉพาะแบบชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่บ้างหรือไม่? คำตอบคือ มี แถมบางอันยังใช้งานอยู่ด้วยซ้ำไป
หนังสือชื่อ Londons Disused Underground Stations ของเจ. อี. คอนเนอร์ ระบุว่า ครั้งหนึ่งเคยมีชาน-ชาลาที่เคลื่อนที่ได้อยู่ที่สถานีวู้ดเลนที่ขณะนี้เลิกใช้งานไปแล้ว ชานชาลาพิเศษที่ว่านี้มีขนาดยาว 12 เมตรและกว้าง 2 เมตร สามารถเปิดปิดได้บ่อยถึง 120 ครั้งในแต่ละวัน ชานชาลาที่ว่านี้ทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับขบวนรถไฟที่ยาวเจ็ดตู้ที่ จะเข้าจอดที่ชานชาลาหมายเลข 1 และเมื่อรถไฟออกไปแล้ว ชานชาลาดังกล่าวก็จะหมุนเก็บหายไปได้ผ่านการบังคับด้วยอุปกรณ์ในกล่องบังคับพิเศษ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชานชาลาที่ว่าก็อาจจะนับได้ว่าเป็นชานชาลาที่หนึ่งเศษสามส่วนสี่ ก็ได้กระมัง!
วิชาหนึ่งที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ต้องเรียนในปีแรกที่ฮอกวอตส์ก็คือ วิชาเสกของให้บินได้ โดยการท่องคาถา วิงการ์เดียม เลวีโอซ่า
หลักการที่นักฟิสิกส์ใช้ก็คือ ความจริงที่ว่าไม่เพียงแต่โลหะเท่านั้นที่ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็ก สสารแทบจะทุกอย่างก็ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กเช่นกันไม่เว้นแม้แต่น้ำ (แม้ว่าจะตอบสนองน้อยมากเหลือเกิน) อย่างเช่น การจะยกกบสักตัวให้ลอยตัวได้ก็ต้องใช้สนาม แม่เหล็กที่มีขนาดแรงกว่าแม่เหล็กของตู้เย็นราว 200 เท่าเป็นอย่างน้อย เพื่อสร้างภาวะที่เรียกว่า ไดอะแมกเนติซึม (diamagnetism) อันเป็นสภาวะคล้ายคลึงกับสภาวะไร้น้ำหนักที่เกิดกับนักบินอวกาศนั่นเอง
ไม้กวาดนิมบัส 2000 ที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ใช้ขี่เล่นควิดดิชนั้นสามารถลอยตัวในอากาศ แล่นขึ้นลงในแนวดิ่ง ปักหัวโฉบลงมาอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่บินถอยหลังก็ยังได้ผ่านการบังคับด้วยการสัมผัสเพียงเบาๆ เท่านั้น
เมื่อพิจารณาดูคุณลักษณะต่างๆ ของไม้กวาดนิมบัส 2000 แล้วก็ชวนให้นึกถึงเครื่องบินไอพ่นซีแฮริเออร์หรือเรียกย่อๆ ว่าแฮริเออร์(คล้ายชื่อของแฮร์รี่) เครื่องบินดังกล่าวสามารถขึ้นลงได้ในแนวดิ่งด้วยระบบไอพ่น นอกจากนี้ยังสามารถลอยตัวอยู่กับที่ บินโฉบลงมาในแบบที่เครื่องบินทั่วไปไม่สามารถจะทำได้ และ สามารถแม้แต่บินถอยหลังก็ได้!
ควิดดิช กีฬายอดฮิตอันดับหนึ่งของเหล่าพ่อมดแม่มด ควิดดิชอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้เล่นได้ง่ายมากโดยเฉพาะกรณีของ กระดูกหักที่เกิดขึ้นได้บ่อยกว่าอุบัติเหตุอย่างอื่น และเราก็ได้รู้จากเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ว่าสิ่งที่จำเป็นสำหรับซ่อมแซมกระดูกที่หักหรือสร้างกระดูกใหม่ ของเหล่านักกีฬาควิดดิชก็คือ ยาปลูกกระดูกสเคเล-โกร หนึ่งถ้วยเท่านั้น)
ระบบรักษาความปลอดภัยที่ธนาคารกริงกอตส์นอกจากจะใช้เวทมนตร์แล้วห้องนิรภัย ของธนาคารยังได้รับการออกแบบให้เปิดปิดได้ด้วยนิ้วยาวๆ ของพวก ก๊อบลิน เท่านั้นอีกต่างหาก
ผลจากการร่ำเรียนวิชาปรุงยากับต้นไม้ประหลาดทำให้ เฮอร์ไมโอนี่แม่มดสาวน้อยได้มีโอกาสช่วยชีวิตของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเพื่อนอีกคนที่ชื่อรอน ในตอนที่ทั้งสามคนโดน ต้นกับดักมาร ที่มีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อยเล่นงานในตอนท้ายเรื่อง(ของเล่มแรก)
ของขวัญวันคริสต์มาสอันน่าประหลาดใจที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับ และในที่สุดก็ได้กลายเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญสำหรับการผจญภัยของเขาก็คือ ผ้าคลุมล่องหน ที่เคยเป็นของคุณพ่อของเขามาก่อน
ขณะนี้ทางกองทัพสหรัฐฯมีโปรแกรมเกี่ยวกับการสร้างทหารล่องหน โดยที่โครงการดังกล่าวกำลังศึกษาการนำเส้นใยพิเศษที่มีสารเคมีที่สามารถเปลี่ยนแปลงสีได้เมื่อได้รับ กระแสไฟฟ้าปริมาณที่เหมาะสม ด้วยหลักการดังกล่าวเส้นใยก็จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกับจอ LCD ชนิดหนึ่ง ซึ่งหากเชื่อมต่อกับตัวตรวจจับสัญญาณที่เหมาะสมที่สามารถตรวจจับรูปแบบ ของสีในสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นได้ เราก็อาจจะได้ชุดทหารล่องหนที่สามารถพรางสีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลา
เทคโนโลยีการติดตามและระบุตำแหน่งด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก หลายคนคงเริ่มพอจะคุ้นหูกับคำว่า GPS มากขึ้นแล้ว ระบบล่าสุดที่กำลังศึกษาอยู่และจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแผนที่ตัวกวนมากยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ ระบบของบริษัทอังกฤษแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า Cambridge Positioning Systems หรือ CPS
ในระบบแบบ CPS จะสามารถให้รายละเอียดของตำแหน่งได้แม่นยำและใกล้เคียงความจริงมากคือสามารถให้ รายละเอียดข้อมูลที่ต้องการสำหรับลูกค้า โดยกินอาณาบริเวณแคบลงได้มากถึงเพียง 50 เมตรรอบตัวของลูกค้าได้
โดย..ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
ภาพจาก : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=xemmy&month=01-2009&date=11&group=2&gblog=191
www.blike.net/.../frontimage/Harry_Potter5_1.jpg