เครดิตบทความ...
ดราม่า คือ หนึ่งในรูปแบบของการแสดง ที่เนื้อเรื่องมีลักษณะเศร้าสร้อยเพราะความรันทดชีวิต สิวหัวช้าง เล็บขบ เลือกตกยางออกเพราะโดนรถเบ็นซ์ทับ เงินเดือนไม่พอใช้ หรือมีพลังลึกลับจากบุคคลลึกลับที่ชั่วร้ายเข้ามากดดันวิถีชีวิต
ดราม่านั้นเป็นด้านตรงข้ามกับคอมมีดี้หรือตลก แต่กระนั้น ดราม่าก็ไม่ใช่ว่าจะเศร้าอย่างเดียว เพราะลึกๆแล้ว บางส่วนของดราม่าก็สามารถใช้เป็น นิทานสอนเด็กเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลกอันโหดร้าย เช่น การแย่งผัว ทำร้ายกันและกัน ฉากพระเอกตบจูบๆๆ แล้วฉุดกระชากลากถูเข้าพงหญ้า
ครั้นการแสดงดราม่า เพียวๆ ต่อหน้าธารกำนัลก็ไม่ให้อรรถรสอย่างเต็มที่ จึงมักมีการเพิ่มฉากการเต้นรำ อย่างเช่นฉากภารตะของหนังอินเดือย (ฉากที่พระเอกนางเอกสวมวิญญาณนักวิ่งข้ามภูเขา หรือหลบหลังต้นไม้ต้นหนึ่งแล้วไปโผล่หลังอีกต้นหนึ่ง) และยังมีการเพิ่มดนตรีเข้าไปอีกเป็นการเพิ่มสีสัน
ไม่ว่าในเรื่องดราม่านั้นจะเป็นอย่างไร แต่สุดท้าย ด้วยความเป็นดราม่า เรื่องราวจะจบลงด้วยความไม่เป็นสุข ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย หรือความสุญเสีย ร้าวฉาน ไม่ลงรอย และกินเกาเหลากัน(ไม่กินเส้น)และยังอาจจะเป็นชนวนให้เกิดดราม่าเรื่องอื่นต่อไปในอนาคตได้
บิดาแห่งดราม่า
ดราม่าจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีต้นตอและส่วนประกอบของตัวมัน
ส่วนประกอบเริ่มต้น จำต้องมีตัวบุคคลก่อน (จะนาย ABC กอขอคอ หรืออะไรก็ว่าไป) ตามด้วยเหตุผลที่จะให้เกิดดราม่า
ส่วนที่ตามมาคือ คู่ตอบโต้ ที่เป็นตัวตนจับต้องได้ เช่น คู่กรณี คู่แข่ง คนรอบข้างที่ไม่รู้เรื่อง และ/หรือคนวิจารณ์
หรือจับต้องไม่ได้ เช่น กรณีจอมยุทธโทษสวรรค์ฟ้าบันดาล แล้วเจอฟ้าผ่ากลางกระบาล
และส่วนสุดท้ายคือ ความขัดแย้ง ซึ่งเป็นส่วนบ่งชี้ความเป็นดราม่า แล้วจึงสิ้นสุดที่จุดจบ
วิธียุติดราม่าขั้นเด็ดขาด
แล้วมันต่างอะไรกับปัญหาเชาวน์
ถ้าดูจากส่วนประกอบดราม่า เพียงอย่างเดียว มันก็ยังไม่พอที่จะเรียกว่าเป็นดราม่าได้ เพราะปัญหาพวกนี้เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์จะต้องเจออยู่ทุกวัน พร้อมกับการแก้ปัญหาด้วยสมอง (หรือกระสุน อาวุธ ระเบิด อะไรก็แล้วแต่) ซึ่งมันทำให้ปัญหาจบง่ายเกินไป
การจะเป็นดราม่าเต็มตัวได้นั้น ต้องเกิดความขัดแย้งที่ไม่สามารถจบได้ในวันเดียวหรือโดยง่ายเกินไป เช่น การแก่งแย่งชิงดีในหน้าที่การงาน การขัดผลประโยชน์ ความอิจฉาริษยา อยากมีอยากได้ การมุ้งการเมือง ความสัมพันธ์สลับซับซ้อน หรือบางทีก็อาจจะเป็นเพียงแค่เรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่ตัวละครหยิบยกมาทำให้บานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่
คราวนี้เราจะลองมานั่งเทียนวิเคราะห์กันต่อ
ความขัดแย้งฝ่ายเดียวดราม่าแบบนี้เกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปตามละครน้ำเน่าหลังข่าว เช่น ความอิจฉาริษยาแบบที่คู่กรณีไม่ทราบความขัดแย้ง และไม่ได้ตอบโต้ด้วย หรือไม่สามารถตอบโต้ได้ เช่น เรื่องเก่าคลาสสิคอย่างการวางตะปูเรือใบในรองเท้า การเจาะลมยางรถยนต์ หรือการขโมยกระเป๋าสตางค์อย่างเนียนๆ
ความขัดแย้ง 2 ฝ่ายขึ้นไปดราม่าแบบนี้ เป็นการสร้างดราม่าที่ทำให้เรื่องไม่จบลงง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อเหลืองปะทะเสื้อแดง
ความขัดแย้งในโลกเสมือนดราม่าในโลกไซเบอร์อินเตอร์เน็ทเกิดได้ง่ายมาก เพียงเพราะความไม่เข้าใจ และไม่มีกฎควบคุมรองรับ ที่ใครบางคนคิดว่า โลกทั้ง 2 แยกจากกันและไม่ส่งผลเสียแก่ความเป็นจริง (ซึ่งหลายครั้งที่มันส่งผลกระทบต่อโลกความเป็นจริง) หรือกลับกัน คือเอาโลกความเป็นจริงไปยุ่งกับโลกไซเบอร์จนกลายเป็นเรื่อง
หรือจะพูดกันง่ายๆ คือ มันเกิดเพราะความเกรียนนั่นแหละ
ลักษณะทั่วไปของดราม่า มักจะเป็นหนังเศร้า มีวิธีจบไม่กี่แบบ คือแตกต่างต้องตายตาย หรือระทมทุกข์ หรือหายทุกข์แล้วไปเจอดราม่าอื่นๆ ต่อ ถ้าจบแบบ Happy Tree Friends Ending มันก็ไม่ใช่ดราม่าแล้ว แต่เป็นหนังชีวิต หรืออะไรก็แล้วแต่ โลกดราม่ายุคโบราณนั้น นักแสดงจำเป็นต้องสวมหน้ากากเข้าแสดง และมีธรรมเนียมปฏิบัติห้ามผู้หญิงมาเป็นนักแสดง ถ้าครั้นเป็นตัวละครหญิง ก็เอานักแสดงผู้ชายนั่นแหละ จับแต่งหญิงซะ (แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่า หน้าตาคงรับไม่ได้) ปัจจุบัน ดราม่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันกับรูปแบบการแสดงชนิดอื่นๆ เช่น แอ็คชั่น ไส่-ไฟ หนังรักร่วมเพศ หรือแม้แต่ผสมกับคอมมี้ดี้ ดราม่าในโลกความเป็นจริงในโลกความเป็นจริงแล้ว มันน้ำเน่าพอๆ กับละครหลังข่าว
ตัวอย่างเช่น หมาข้างบ้านเห่าหอนตอนดึกๆ การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นในหน้าที่การงาน การขัดแย้งผลประโยชน์ทับซ้อน และอื่นๆ สารพัน
แม้ตัวดราม่าเองจะเป็นเรื่องเศร้า แต่สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแล้ว อาจกลับกลายเป็นเรื่องสนุกของพวกเขาก็ได้ เช่น กรณีที่มีคู่แฟนที่กำลังอารมณ์เดือด ออกมาโวยวายเรียกร้องส้นเท้ากลางสี่แยกโดยไม่สนใจใคร ราวกับว่าตัดขาดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและความอับอาย แล้วใช้อารมณ์กระแทกแดกดันคู่กรณี โดยที่คนเดินผ่านไปมาไม่ได้มีอารมณ์ร่วม เช่น ขวางทางเฟ้ย หรือดูคู่แฟนทะเลาะกัน สนุกดี หรือแม้กระทั่งเชียร์ฝ่ายที่ตนชอบ และ/หรือ เข้าไปก่อความรุนแรง จุดปะทุเรื่องราวให้บานปลาย เป็นต้น
ดราม่า ดี หรือ เลวครั้นจะให้มาตัดสินว่าดราม่าทุกเรื่องนั้นดีหรือเลว ก็ไม่อาจเป็นไปได้ทั้งหมด เพราะบางครั้งแล้วมันเป็นเรื่องที่มุมมองของคนเราด้วย
เมื่อดราม่าดึงเอาอารมณ์มนุษย์มาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว การตัดสินผิดถูกก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ ตามแต่ระดับไป
เช่น กลุ่มกองทัพแดงปะทะกลุ่มกองทัพเหลือง ที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรม (หรือ "ชอบทำ")
หรือ กรณีพิพาทว่า รัฐบวมของประเทศสารขัณฑ์มีสองมาตรฐาน
หรือ กรณีเล็กน้อยเช่น เพื่อนบ้านทะเลาะกัน เพราะโยนขยะข้ามกำแพงไปมา หรือ หมาข้างบ้านมาฝากของที่ระลึกไว้เป็นประจำ
เรื่องไม่เป็นเรื่องที่ผสมความขัดแย้งเข้าไป ก็อาจจะกลายเป็นดราม่าชั้นดีก็ได้
ความไม่ชอบดราม่าจริงอยู่ที่ดราม่านั้นดูๆ ไปแล้วเป็นเรื่องน่าสนุก (ถ้าตัวเราไม่ได้มีส่วนเสีย การดูคนทะเลาะกันบางครั้งก็สนุก) แต่ก็มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่ไม่ต้องการ ไม่ชอบ และต่อต้านดราม่า โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรื่องละเอียดอ่อน เรื่องของส่วนบุคคล ก่อปัญหา เปลืองเนื้อที่ ก่อความร้าวฉาน (ตรงข้ามกับนโยบายรัฐบวม ซึ่งต้องการความสมานฉันท์) ซึ่งบางครั้งมันก็จริง
หากว่าสถานที่นั้นๆ ไม่ต้องการดราม่า เราก็ควรจะเคารพกฎหมู่กันด้วยนะ
http://<object width="560" height="315"><param name="movie" value="https://www.youtube-nocookie.com/v/iDaEqY56q1M?version=3&hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="https://www.youtube-nocookie.com/v/iDaEqY56q1M?version=3&hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" width="560" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>