10 วิธีหนีรอดจากแผ่นดินไหว: ทฤษฎีสามเหลี่ยมช่วยชีวิต

 

 

 

 

10 วิธีหนีรอดจากแผ่นดินไหว: ทฤษฎีสามเหลี่ยมช่วยชีวิต

 

 

 

 

 

       จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างเมืองไทย ทำให้รับทราบได้ว่าภัยจากแผ่นดินไหวกำลังจะคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทยไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้น หลายๆ องค์กรกำลังเร่งตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร ตลอดจนให้ความรู้ทำความเข้าใจเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ผมจึงขอนำเสนอ  “10วิธีหนีรอดจากแผ่นดินไหว: ทฤษฎีสามเหลี่ยมช่วยชีวิต” เพื่อเป็นแนวทางเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

 

        สามเหลี่ยมช่วยชีวิต คือ พื้นที่ๆปลอดภัยหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง อาจจะไม่ได้ปลอดภัย 100% แต่ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงจากการถูกสิ่งของต่างๆหล่นทับได้ หลักสำคัญก็คือการที่หลบอยู่ข้างๆวัตถุที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากเมื่อมีสิ่งของชิ้นใหญ่ตกลงมา วัตถุที่แข็งแรงนั้นจะสามารถสร้าง "สามเหลี่ยมช่วยชีวิต" ซึ่งจะช่วยชีวิตคุณได้ โดยขอแนะนำ 10 วิธีหนีรอดจากแผ่นดินไหว ดังนี้

 

1)   "อย่ามุดเข้าไปอยู่ใต้โต๊ะ" เกือบทุกคนที่ "มุดและหาที่กำบัง" เมื่ออาคารถล่มจะถูกทับอัดจนตาย คนที่เข้าไปอยู่ใต้สิ่งของ อาทิ โต๊ะหรือรถยนต์จะถูกอัดทับ

.

 

 

 

2)  แมว หมา และเด็กทารก โดยธรรมชาติมักจะขดตัวในท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา คุณควรทำเช่นกันในกรณีแผ่นดินไหว มันเป็นสัญชาติญาณเพื่อความปลอดภัยและรักษาชีวิต คุณสามารถมีชีวิตรอดในช่องว่างที่เล็กๆ โดยไปอยู่ข้างๆสิ่งของ ข้างเก้าอี้โซฟา ข้างของหนักๆ ชิ้นใหญ่ๆ ที่จะบี้แบนไปบ้างแต่ก็ยังเหลือที่ว่างข้างๆมันไว้

.

 

 

3)  อาคารไม้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ปลอดภัยที่สุด ที่จะอยู่ได้ในขณะเกิดแผ่นดินไหว แผ่นไม้มีความยืดหยุ่นและเคลื่อนตัวตามแรงของแผ่นดินไหว ถ้าอาคารไม้ถล่ม จะเกิดช่องว่างขนาดใหญ่เพื่อช่วยชีวิต และอาคารไม้ ยังมีน้ำหนักทับทำลายที่เป็นอันตรายน้อยกว่า อาคารอิฐจะแตกพังเป็นก้อนอิฐมากมาย ก้อนอิฐเหล่านี้เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ แต่จะทับอัดร่างกายน้อยกว่าแผ่นคอนกรีต

.

 

 

 

4)   หากคุณกำลังนอนอยู่บนเตียงตอนกลางคืนและเกิดแผ่นดินไหว เพียงกลิ้งลงจากเตียง ช่องว่างที่ปลอดภัยจะเกิดรอบๆเตียง โรงแรมจะสามารถเพิ่มอัตราผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวได้ โดยเพียงติดป้ายหลังประตูในทุกห้องพัก บอกให้ผู้เข้าพักนอนราบกับพื้นข้างๆขาเตียงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

.

 

 

5) หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น และคุณไม่สามารถหนีออกมาง่ายๆทางประตูหรือหน้าต่าง ก็ให้นอนราบ และขดตัวในท่าทารกในครรภ์ ข้างๆเก้าอี้โซฟาหรือเก้าอี้ตัวใหญ่ๆ

.

 

 

6)   เกือบทุกคนที่อยู่ตรงช่องประตูตอนตึกถล่ม ไม่รอดเพราะอะไร? หากคุณยืนอยู่ตรงช่องประตูและวงกบ ประตูล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลัง คุณจะโดนเพดานด้านบนตกลงมาทับ หากวงกบประตูล้มออกด้านข้าง คุณจะถูกตัดเป็นสองท่อนโดยช่องประตู ไม่ว่ากรณีไหน คุณก็ไม่รอดทั้งนั้น!

.

 

 

 

7)   อย่าใช้บันไดเด็ดขาด บันไดมี "ช่วงการเคลื่อนตัว" ที่แตกต่างไป (บันไดจะมีการแกว่งแยกจากตัวอาคาร) บันไดและส่วนที่เหลือของตัวอาคารจะชนกระแทกกันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดปัญหากับโครงสร้างของบันได คนที่อยู่บนบันไดก่อนที่บันไดจะถล่มจะถูกตัดเป็นชิ้นโดยชั้นบันได ถูกแยกส่วนอย่างน่าสยดสยอง ถึงอาคารจะไม่ถล่มก็ควรอยู่ห่างบันไดไว้ บันไดเป็นส่วนของอาคารที่มีโอกาสถูกทำให้เสียหาย ถึงแม้แผ่นดินไหวจะไม่ได้ทำให้บันไดถล่ม มันอาจถล่มในเวลาต่อมาเมื่อรับน้ำหนักมากเกินไปจากคนที่กำลังหนี มันควรได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยเสมอ ถึงแม้ส่วนที่เหลือของอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม

.

 

 

8)  ไปอยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของอาคาร หรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้ จะเป็นการดีกว่ามากที่จะอยู่ใกล้ส่วนนอกของอาคาร มากกว่าจะอยู่ที่ส่วนในของอาคาร คุณยิ่งอยู่ลึกเข้าไปหรือไกลจากบริเวณภายนอกของอาคารมากเท่าไหร่ โอกาสที่ทางหนีของคุณจะถูกปิดกั้นยิ่งมีมาก

 

9)  คนที่อยู่ภายในรถยนต์ถูกทับอัด เมื่อถนนด้านบนตกลงมาเพราะแผ่นดินไหวและทับรถของพวกเขา นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับแผ่นคอนกรีตระหว่างชั้นของถนนหลวงนิมิทซ์ ผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดจากแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโก อยู่ในรถของตัวเอง พวกเขาตายทั้งหมด พวกเขาสามารถมีชีวิตรอดได้ง่ายๆ ด้วยการออกจากรถและนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างๆรถตัวเอง คนที่ตายทุกคนอาจรอดได้ถ้าพวกเขาสามารถออกจากรถ และนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างรถตัวเอง รถที่ถูกทับอัดทุกคันมีช่องว่าง สูง 3 ฟุตอยู่ข้างๆ ยกเว้นรถที่ถูกเสาคาดตกทับกลางคันรถ

.

 

 

10)ผมค้นพบว่า ขณะที่คลานเข้าไปในซากสำนักงานหนังสือพิมพ์ และสำนักงานอื่นๆ ที่โดนแผ่นดินไหวและมีกระดาษอยู่ข้างในเป็นจำนวนมากว่า กระดาษจะไม่อัดตัว จะพบช่องว่างขนาดใหญ่รอบๆ กองกระดาษที่เรียงทับซ้อนกัน

 

        ขอให้ทุกท่านมีสติเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ชาติญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นถึงความมีระเบียบวินัย เขามีการซักซ้อมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุ ทำให้ทุกคนรู้หน้าที่และการอพยพจึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หากเราไม่มีการซักซ้อมและขาดระเบียบวินัย ความสับสนอลหม่าน ตลอดจนความสูญเสียที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้

Credit: http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2011/04/01/entry-1
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...