ลานีญา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันหลายชื่อ เช่น น้องของ เอล นิโญ สภาวะตรงข้าม เอล
นิโญ สภาวะที่ไม่ใช่ เอล นิโญ และฤดูกาลที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็น (season
with cold SSTs) เป็นต้น (Glantz, 2001)
ลานีญา
ลานีญา ความหมายเดียวกัน คือ ปรากฏการณ์ที่กลับกันกับ เอล นิโญ กล่าวคือ
อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่า
ต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพา
ผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดัง
กล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้ว
ยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ ลา นีญา เกิดขึ้นได้ทุก
2 - 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 - 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่
ได้นานถึง 2 ปี
การเกิดลานีญา
ปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขต
ศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก
ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน
ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการไหลขึ้น
ของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์
เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ
(รูปที่ 1) แต่ มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่า เป็นได้ทั้งสภาวะปกติและลา
นีญา อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารูปแบบของสภาวะลา นีญา จะเห็นได้ว่าป
รากฏการณ์ ลานีญา มีความแตกต่างจากสภาวะปกติ (Glantz, 2001) นั่นคือ ลม
ค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรง
มากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตก
มากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออก
เฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมี
อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือ
บริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวัน
ออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่าง
ไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเล
จึงลดลงต่ำกว่าปกติ เช่น ลานีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 - 2532 อุณหภูมิผิวน้ำ
ทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 องศาเซลเซียส
ผลกระทบของ ลานีญา
จากการที่ปรากฏการณ์ ลานีญา เป็นสภาวะตรงข้ามของเอลนีโญ ดังนั้นผล
กระทบของ ลา นีญา จึงตรงข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ ผลจากการที่อากาศลอย
ขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วง
ปรากฏการณ์ ลา นีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะ
มีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้ง
แล้ง นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่า ลา นีญา
ยังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้ม
ที่จะมีฝนมากกว่าปกติและมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น
ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและ
เสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานี
ญาจะแห้งแล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดู
หนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และทางตะวันออก
เฉียงใต้ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่า
ปกติในช่วงฤดูหนาว ส่วนผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิ
ปรากฏว่าในช่วง ลา นีญา อุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมี
แนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อ
เนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ แสดงให้เห็นผลกระทบ
จากปรากฏการณ์ ลา นีญา ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ
ผลกระทบของ ลานีญา ต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปี เอล นีโญ โดยใช้วิธี
วิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite
standardized ของอุณหภูมิในปี เอลนีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิราย
เดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปี ลา นีญา ปริมาณ
ฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน
เป็นระยะที่ ลานีญา มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น
และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ลานีญา มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของ
ประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่า ลานีญา มีผลกระทบต่ออุณหภูมิ
ในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
ทุกฤดู และพบว่า ลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของ
ประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น