ฉีดโบท็อกซ์" ระวังตาเหล่


"ฉีดโบท็อกซ์" วิธีทำสวยด้วย "สารพิษ" ที่หลายคนไม่คิดว่า จะอันตรายถึงขั้นทำให้ใบหน้าผิดรูปหรือตาเหล่ได้


อาจ เป็นเพราะปัจจุบันมีคลินิกเพื่อความสวยความงามผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดและความ นิยมในการทำศัลยกรรมที่แพร่หลาย จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้หลายคนคุ้นชินกับคำว่า "ฉีดโบท็อกซ์" ซึ่งฟังดูไม่น่าอันตรายหรือส่งผลข้างเคียงได้เหมือนกับการผ่าตัดศัลยกรรม อีกทั้งขั้นตอนการฉีดก็ใช้เวลาเพียง 10-15 นาที และไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลด้วย

แต่เรื่องจริงของการฉีดโบท็อกซ์ นั่นก็คือ การฉีดสารพิษ ที่เรียกว่า "โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ"(Botulinum toxin type A) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างจากแบคทีเรีย ชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum)เข้าสู่ร่างกาย โปรตีนนี้คือสารพิษตัวที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ นับเป็นพิษที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง หากร่างกายมนุษย์ได้รับเข้าไปจะเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และถ้ารับในปริมาณมากอาจเกิดภาวการณ์หายใจล้มเหลว เพราะกล้ามเนื้อในการหายใจหมดแรงหรือเป็นอัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด

ขณะ ที่ในทางเสริมสวยถือเอาคุณสมบัติในการทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตของสารพิษ ดังกล่าว มาเป็นตัวช่วยทำให้ใบหน้าเต่งตึงไร้รอยเหี่ยวย่นและตีนกา โดยดัดแปลงใช้ในปริมาณเล็กน้อย ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเฉพาะที่ซึ่งมีผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวและรอยย่นหายไป วิธีนี้เรียกกันว่า ฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งเห็นผลเร็วคือภายใน 3-4 วัน และเห็นผลชัดเจนภายใน 10-14 วันเท่านั้น แต่ก็ออกฤทธิ์อยู่เพียง 4-6 เดือน

อย่าง ไรก็ตาม แม้การเสริมความงามด้วยวิธีดังกล่าวจะเห็นผลในเวลาไม่นานนัก แต่ข้อเสียก็คือ การฉีดโบท็อกซ์จะมีฤทธิ์อยู่ได้เพียง 4-6 เดือน กล้ามเนื้อจะกลับคืนสู่สภาพเดิม นั่นหมายถึง รอยเหี่ยวย่นและตีนกาก็จะกลับมาปรากฎใหม่ และหากฉีดบ่อยเกินไป ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตถาวรได้

นอกจากนี้ ความเสี่ยงของการเสริมสวยด้วยการฉีดโบท็อกซ์ ก็คือ อาจเกิดอาการเจ็บปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดยา ติดเชื้อ หรือฉีดยาแล้วไม่ได้ผลตามต้องการซึ่งอาจเกิดจากการฉีดยาผิดตำแหน่งหรือยากระ จายไปยังกล้ามเนื้อที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ต้องการฉีดให้รอยเหี่ยวย่นบนหน้าผากหายไปแต่ยากลับกระจายไปที่กล้ามเนื้อที่ ทำหน้าที่ยกหนังตาขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อนั้นเป็นอัมพาต ไม่สามารถลืมตาได้ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เกิดความผิดพลาดจนทำให้ผู้ที่ได้รับโบท็อกซ์มีใบ หน้าผิดรูป ตาเหล่ และตาเข

ขณะที่ไม่นานมานี้เริ่มมีการรายงานถึง การ แพร่กระจายของ Botox เข้าไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแต่เดิมไม่มีใครทราบว่ายานี้จะสามารถกระจายจากตำแหน่งที่ฉีดบริเวณผิว หนัง เข้าไปยังระบบประสาทส่วนกลางได้ และแม้ปัจจุบันจะยังไม่พบอันตรายในระดับนี้จากการฉีดในคน แต่ความผิดพลาดที่เกิดจากการฉีดโบท็อกซ์หลายครั้งหลายคราวก็ส่งผลให้ใบหน้า หรือร่างกายผิดรูปได้ง่ายๆจากการฉีดผิดตำแหน่ง

Credit: .postjung.com
5 เม.ย. 54 เวลา 19:44 1,899 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...